โรคจากปรสิต (parasite)

17550

โรคจากปรสิต (parasite) หมายถึง โรคที่เกิดจากสัตว์ที่เข้ามาอาศัยร่างกายมนุษย์ในการเจริญเติบโต กินอาหารหรือเลือด และแพร่ขยายจำนวน ทำให้ร่างกายมนุษย์อ่อนแอ และเจ็บป่วย

ปรสิตสามารถแพร่สู่ร่างกายมนุษย์ได้หลายทางด้วยกัน ได้แก่
1. ทางปาก ด้วยการกินอาหารที่มีการปนเปื้อนไข่ปรสิตชนิดต่างๆ ทั้งพยาธิ แฟลเจลเลต สปอโรซัว ไมโครสปอริเดีย และซิลิเอต โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารสุกๆดิบๆ ที่ไม่ได้ผ่านความร้อนอย่างเพียงพอ

2. ทางผิวหนัง ปรสิตจะเข้าสู่ร่างกายด้วยการซอนไซเข้าทางผิวหนังบริเวณที่มีผิวหนังบางๆ หรือบริเวณที่มีบาดแผล พบมากในกลุ่มของโรคพยาธิชนิดต่างๆ

3. สัตว์พาหะ ที่ชอบดูดกินเลือด ได้แก่ ยุง เห็บ เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ปรสิตขนาดเล็กสามารถแพร่เข้าสู่ระบบเลือด และทำให้เกิดโรคได้ เช่น โรคมาลาเรียจากเชื้ออะมีบาที่เกิดจากยุงกัด

4. การสัมผัส ที่เกิดจากการสัมผัสสัตว์ที่เป็นโฮสต์ชนิดอื่นๆที่มีปรสิตเกาะอยู่ เช่น สุนัข แมว ไก่ เป็นต้น ซึ่งทำให้ปรสิตบางชนิดสามารถกระโดดเกาะ และกลายเป็นปรสิตที่อาศัยในมนุษย์ได้ เช่น เห็บ เหา เป็นต้น

ปรสิต

โรคปรสิตในคน สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ตามลักษณะของปรสิต คือ
สัตว์หลายเซลล์ ได้แก่
1. โรคพยาธิ
2. เห็บ
3. ไรฝุ่น
4. เหา
5. หิด ที่ทำให้เกิด โรคหิด

สัตว์เซลล์เดียว ได้แก่
1. อะมีบา ทำให้เกิดโรค ได้แก่
– โรคบิด (Amebiasis)
– โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากอะมีบา

2. แฟลเจลเลต ทำให้เกิดโรค ได้แก่
– โรคไจอาร์ดิเอซิส (Giardiasis)
– โรคทริโคโมนิเอซิสของอวัยวะสืบพันธุ์ (Trichomoniasis)

3. สปอโรซัว ทำให้เกิดโรค ได้แก่
– โรคโรคคริปโตสปอริดิโอซิส (Cryptosporidiosis)
– โรคไซโคลสปอริดิโอซิส (Cyclosporidiosis)
– โรคมาลาเรีย หรือ ไข้จับสั่น (Malaria)
– โรคทอกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis)
– โรคไอโซสปอริเอซิส (Isosporiasis)
– โรคโรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อโปรโตซัว (Trichomoniasis)

4. ไมโครสปอริเดีย ทำให้เกิดโรค ได้แก่
– โรคไมโครสปอริดิโอซิส (Microsporiodiosis)

5. ซิลิเอต ทำให้เกิดโรค ได้แก่
– โรคบาลานติดิเอซิส (Balantidiasis)

การวินิจฉัย
การวินิจฉัยของแพทย์จะใช้วิธีการส่องกล้องตรวจสำหรับชนิดของโรคที่สามารถส่องพบในระบบทางเดินอหาร แต่สำหรับโรคบางชนิดที่เกิดจากปรสิตเซลล์เดียวขนาดเล็กบางชนิดจำเป็นต้องใช้วิธีการเพาะเชื้อเป็นสำคัญ รวมไปถึงการย้อมสีแล้วส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ นอกจากนั้นแพทย์จะทำการซักประวัติร่วมด้วยเพื่อประกอบการวินิจฉัย

อาการเบื้องต้นที่เกิดจากโรคปรสิต แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. อาการที่เกิดจากปรสิตเซลล์เดียว
อาการที่เกิดจากโรคปรสิตเซลล์เดียวมีลักษณะอาการเฉพาะในแต่ละโรคที่เกิดจากเชื้อแต่ละชนิดกัน

2. อาการที่เกิดจากปรสิตหลายเซลล์
– มีอาการหิวบ่อย กินจุ แต่น้ำหนักลด มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อหรือท้องเสียบ่อย รวมไปถึงอาการคันตามผิวหนังหรือบริเวณทวารหนัก อาการเหล่านี้มักพบในโรคพยาธิชนิดต่างๆ
– มีอาการบวมแดง เป็นตุ่มนูน หรือผื่นแดง และคันบริเวณที่มีการโดนกัด มักเป็นอาการที่เกิดจากปรสิตที่ดูดกินเลือด เช่น เห็บ ไรฝุ่น เหา เป็นต้น

การรักษาโรคปรสิต
การรักษาโรคปรสิตกลุ่มเซลล์เดียว จะใช้วิธีการรักษาด้วยการฉีดหรือรับประทานยาที่สามารถฆ่าปรสิตนั้นได้ เช่น การใช้ยา quinacrine หรือ metronidazole เพื่อรักษาโรคไจอาร์ดิเอซิส (Giardiasis), การใช้ยา sulphodiazine สำหรับรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากอะมีบา

การรักษาโรคปรสิตกลุ่มหลายเซลล์ ได้แก่
1. โรคปรสิตในกลุ่มของพยาธิจะใช้ยากำจัดพยาธิชนิดรับประทาน
2. โรคปรสิตในกลุ่มที่ชอบดูดกินเลือดตามร่างกาย รักษาด้วยการทำความสะอาดร่างกายให้สะอาด

การป้องกันโรคจากปรสิต
1. เลือกรับประทานที่ปรุงสุก ทั้งเนื้อสัตว์ และผักชนิดต่างๆ
2. ล้างมือให้สะอาดก่อนทุกครั้งก่อนหยิบจับอาหาร
3. เลือกดื่มน้ำที่สะอาด
4. การเก็บรักษาอาหารให้พ้นจากการสัมผัสของสัตว์พาหะทุกชนิด
5. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติโดยตรง โดยเฉพาะกรณีที่ร่างกายมีแผล
6. ป้องกันอันตรายจากการกัดต่อยของสัตว์พาหะด้วยการสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด
8. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่าหรือสัตว์เลี้ยงที่อาจมีปรสิตเกาะติดอยู่
9. มั่นทำความสะอาดเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม รวมไปถึงที่อยู่อาศัยให้สะอาดเสมอ