โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และการรักษา

10526

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) เป็นโรคที่เกิดขึ้นในระบบข้อ และกระดูก ถือเป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังโรคหนึ่งที่มีการงอกของเยื่อบุบริเวณข้อต่างๆ โดยเยื่อบุจะขยายลุกลามไปยังส่วนอื่นๆของข้อ และอวัยวะอื่นๆด้วย เช่น ตา กล้ามเนื้อ ระบบประสาท

โรครูมาตอยด์สามารถพบได้กับทุกวัยตั่งแต่วัยเด็กจนถึงผู้ใหญ่ ส่วนมากพบในวัยผู้ใหญ่ และพบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อวัยวะที่มักพบการเกิดโรค ได้แก่ ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อนิ้วเท้า ข้อมือ ข้อนิ้วมือ

สาเหตุของโรค
สาเหตุของโรครูมาตอยด์ยังไม่สามารถสรุปผลที่แน่ชัด ทั้งนี้จากการวินิจฉัยของแพทย์เบื้องต้นอาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่
1. พันธุกรรม
จากการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะตรวจพบสารรูมาตอยด์แฟคเตอร์ที่ถ่ายทอดไปยังบุตร ทำให้มีโอกาสตรวจพบรูมาตอยด์แฟคเตอร์ในบุตรสูงถึุง 3-6 เท่า เมื่อเทียบกับคนปกติ

2. โรคติดเชื้อบางชนิด
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อบางชนิดที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดข้ออักเสบ เช่น เชื้อสเตรปโตคอกไค เชื้อไวรัสตับอักเสบบี และเชื้อหัดเยอรมัน เป็นต้น ซึ่งมักตรวจพบแอนติบอดี้ของเชื้เหล่านี้ที่ข้อในรายที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ดังนั้น จึงสันนิษฐานได้ว่า การติดเชื้อดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ตามมาได้

3. สภาพอากาศ
จากสถิติผู้ป่วยทั่วโลกที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ พบว่า มักพบผู้ป่วยอาศัยในเขตพื้นที่หนาว จึงสันนิษฐานได้ว่า อากาศหนาวเย็นอาจมีส่วนทำให้เกิดการอักเสบของข้อ และส่งผลใหห้เกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ตามมาได้

4. ระบบภูมิคุ้มกัน
เมื่อตรวจแอนตินิวเคลีย แอนติบอดี และก้อนอิมมูน จากปุ่มรูมาตอยด์หรือเยื่อบุข้อที่มีเซลล์เม็ดเลือดขาวแทรกตัวอยู่ พบว่า สิ่งเหล่านี้มักรวมกันอยู่มากในบริเวณปุ่มรูมาตอยด์

อาการของโรค
เมื่อเกิดโรครูมาตอยด์จะทำให้เยื่อบุบริเวณข้อต่างๆเจริญลุกลามในบริเวณส่วนต่างๆของข้อทำให้ข้อมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ รวมไปถึงมีการแพร่ของเยื่อบุไปยังส่วนอื่นๆของข้อบริเวณไกล้เคียงหรือแพร่ไปยังส่วนกระดูกรอบข้างด้วย

rheumatoid1

ในช่วงแรกของโรคจะเกิดอาการขัดของข้อ เคือง เคลื่อนไหวไม่ข้องตัวหรือเคลื่อนไหวไม่ได้ตามปกติโดยเฉพาะเมื่อตื่นนอนตอนเช้าหรือเมื่อมีการเคลื่อนตัวหลังจากนั่ง นอนเป็นเวลานาน และมักพบอาการปวด บวมแดง ในระยะต่อมา นอกจากนี้มักทำให้มีรูปร่างของข้อที่ผิดปกติ คด งอ และมีปุ่มแดงขึ้นตามข้อ โดยอาการสามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ
1. อาการทั่วไป
อาการทั่วไปที่มักแสดงออกเริ่มแรก ได้แก่ อาการอ่อนเพลีย น้ำหนักลด เป็นไข้ ตัวซีด มีผื่นสีแดงส้มขึ้นที่แขน และขา และมักจะปรากฏตามอาการเป็นไข้ นอกจากนั้น ยังพบต่อมน้ำเหลืองโต โดยเฉพาะบริเวณรักแร้ คอ ข้อศอก และขาหนีบ

2. อาการที่ข้อ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
– ระยะข้ออักเสบ เป็นระยะที่พบการอักเสบของข้อบริเวณต่างๆ ได้แก่ ข้อมือ ข้อโคนนิ้วมือ ข้อกลางนิ้วมือ ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อศอก เป็นต้น ผู้ป่วยมักเจ็บเอ็นข้อ งอข้อไม่สะดวก และเกิดอาการบวมของข้อ
– ระยะทำลายข้อ มักเกิดรูปผิดปกติของข้อ ปลายนิ้วมืองอพับเบนเข้าหาตัว เนื่องจากเอ็นข้อมืองอพับ และเอ็นยึดข้อด้านหน้าหดสั้น ระยะนี้ มักคลำพบปุ่มรูมาตอยด์
– ระยะข้อผิดรูปหรือพิการ เป็นระยะที่เกิดโรคมานาน และมีอา่การรุนแรงมาก เอ็นถูกทำลาย และฉีกขาด ข้อมีการลื่นหลุด รวมถึงพบอาการแขน ขาลีบ จนทำให้แขนหรือขาข้างนั้นพิการได้

3. อาการนอกข้อ
– เกิดตุ่มรูมาตอยด์
– ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ
– หลอดเลือดอักเสบ
– กล้ามเนื้ออ่อนแรง
– ระบบประสาทรับความรู้สึกผิดปกติ
– เกิดถุงน้ำในเยื่อบุข้อ

romatoid

อาการที่ส่งผลกระทบออกมาจากโรคนี้ เมื่ออาการหนักขึ้นจะมีอาการอักเสบของข้อ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด และมักเป็นไข้เป็นระยะ นอกจากนั้น ในระยะที่มีการแพร่ของเยื่อบุไปยังอวัยวะอื่นมักจะทำให้ระบบการทำงานของอวัยวะนั้นบกพร่องตามมา เช่น เคืองตา ผิวหนังมีปุ่ม เป็นต้น

การวินิจฉัยโรค
โรครูมาตอยด์มักพบสารรูมาตอยด์ในเลือดหรือเยื่อบุข้อต่างๆ ดังนั้น การวินิจฉัยทางการแพทย์จึงมีการตรวจเลือดหาสารรูมาตอยด์ แต่ทั้งนี้ การพบสารรูมาตอยด์ก็ยังไม่สามารถบ่งชี้ได้แน่ชัด ซึ่งจำเป็นต้องใช้การตรวจอย่างอื่นประกอบการวินิจฉัย ได้แก่ การตรวจร่างกาย การซักประวัติ การเอกซเรย์ เป็นต้น สำหรับหลักเกณฑ์การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ของ Revised American Rheumatism Association criteria for rheumatoid arthritis ใช้หลักเกณฑ์ลักษณะต่อไปนี้ 4 ข้อ ใน 7 ข้อ ดังนี้
1. มีอาการข้อฝืดแข็ง เคลื่อนไหวลำบากในตอนเช้า โดยเป็นอย่างน้อนนาน 1 ชั่วโมง และเป็นติดต่อกันนานเกิน 6 สัปดาห์
2. มีข้อบวม และอักเสบ อย่างน้อย 3 ข้อ ขึ้นไป โดยเป็นติดต่อกันเกิน 6 สัปดาห์
3. มีการอักเสบบริเวณข้อมือ ข้อโคนนิ้วมือ และข้อกลางนิ้วมือ นานเกิน 6 สัปดาห์
4. ตำแหน่งของข้อที่อักเสบมีลักษณะเป็นเหมือนกันทั้งสองข้าง
5. ภาพถ่ายเอกซ์เรย์หรือภาพถ่ายรังสีมีลักษณะเฉพาะของรูมาตอยด์
6. พบปุ่มรูมาตอยด์บริเวณข้อ
7. ผลตรวจเลือดพบรูมาตอยด์แฟคเตอร์ โดยใช้วิธีที่ไม่ห้ผลบวกมากกว่าร้อยละ 5 ของคนปกติ

rheumatoid

การรักษา
การรักษาโรครูมาตอยด์ ปัจจุบันสามารถรักษาให้โรคมีอาการทุเลา และทำให้ระบบข้อกลับมาเหมือนเดิมได้ แต่ก็ไม่ทำให้กลับมาเหมือนสภาพเดิมทั้งหมด แต่หากการรักษาในระยะเริ่มแรกก็สามารถทำให้ร่างกายกลับมาคืนเป็นปกติได้ สำหรับการรักษาในทางการแพทย์มีแนวทาง ดังนี้

1. การรักษาทั่วไป
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มักมีความวิตกกังวลในเรื่องของอวัยวะพิการ เนื่องจากเป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรัง และหากเป็นมาก อวัยวะจะมีรูปร่างผิดปกติ ดังนั้น การให้ความรู้เกี่ยวกับโรค และคำแนะนำในการปฏิบัติตนที่ดีจะช่วยลดผลกระทบทางด้านจิตใจ และลดอาการของโรคลงได้จาการปฏิบัติตนของผู้ป่วย

2. การใช้ยา
การใช้ยาเป็นการรักษาทั้งในด้านการแก้อาการปวด และการยับยั้งการแพร่กระจายของเยื่อบุ ยาสำหรับใช้ระงับอาการปวด ได้แก่ ยาแอสไพริน และยาที่ใช้สำหรับการยับยั้งการแพร่กระจายของเยื่อบุ ได้แก่ ยาเมทโธเทรคเซท ยาซัลฟาซาลาซีน เป็นต้น ซึ่งจะไม่มีฤทธิ์ในการระงับอาการปวด ส่วนยาที่ใช้ต้านการอักเสบชนิดต่างๆ ได้แก่
2.1 ยาระงับการอักเสบที่ไม่มีสเตียรอยด์
เป็นยาที่ใช้สำหรับในรายที่มีอาการของโรคไม่รุนแรง ยากลุึ่มนี้จะไม่ออกฤทธิ์ต่อกลไกการเกิดโรคโดยตรงจึงไม่สามารถยับยั้งหรือรักษาโรคให้หายได้ เพียงแค่ทำให้อาการปวดตามข้อทุเลาลงเท่านั้น ส่วนอาการข้างเคียงของยา ได้แก่ มีอาการท้องอืด เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และเกิดผื่นตามผิวหนัง ยาที่ใช้ได้แก่ ยาแอสไพริน และเอนโดเมทาซิน

2.2 ยาที่ออกฤทธิ์ต่อโรคโดยตรง
เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อสาเหตุการเกิดโรคดดยตรง ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ เพนนิซิลิน สารเกลือทอง ยากดภูมิต้านทาน และยารักษามาลาเรีย เป็นต้น แต่ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงที่รุนแรง อาจทำใ้อันตรายถึงชีวิตได้ เนื่องจากมีฤทธิ์ทำลายตับ ไต และเซลล์สร้างเม็ดเลือดในกระดูกได้ จึงมักใช้ในกรณีที่รับประทานยาในกลุ่มแรกไม่ได้ผล และในรายที่มีอาการรุนแรงเท่านั้น

2.3 คอร์ติโคสเตียรอยด์
ยาในกลุ่มนี้มีฤทธิ์ลดอาการปวดได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากออกฤทธิ์ไม่ให้สร้างคอลลาจีเนส และพลาสมิโนเจน แอคติเวเตอร์โดยตรง แต่ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียง ได้แก่ ทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหาร ภูมิต้านทานโรคลดลง กระดูกบาง และผู้ป่วยไม่สามารถเลิกยาได้โดยที่ไม่มีอาการกลับมาอีก

2.4 ยากดภูมิต้านทาน
ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ เมทโทรเทรกเซท อะซาไทโอพรีน ไซโคลฟอสฟามายด์ เป็นยาที่มีอันตรายมาก และมีผลการรักษาที่ไม่แน่นอน

3. การผ่าตัด
การผ่าตัดใช้สำหรับอาการของโรคที่ลุกลามมากจนอวัยวะของข้อเสียหายมากหรือไม่สามารถใช้งานได้หรือการผ่าตัดสำหรับเหตุอันเกิดจากโรค เช่น เอ็นยึดแน่น เอ็นขาด เป็นต้น รวมถึงอาการหรืออวัยวะนั้นไม่สามารถรักษาด้วยยาได้ โดยมีวิธีการผ่าตัด ได้แก่ การผ่าตัดเลาะเยื่อบุข้อ ซึ่งจะได้ผลดีสำหรับข้อเข่า ส่วนการผ่าตัดเอ็น และกล้ามเนื้อ เป็นการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมเอ็นยึดข้อพร้อมกับการเลาะเยื่อบุข้อร่วมด้วย

4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ
โดยใช้แนวทางต่อไปนี้ คือ การประเมินสมรรถภาพ การฝึกอาชีพ การสอนให้ปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญที่ควรปฏิบัติควบคู่ไปกับการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแล และพึ่งตัวเองได้ในสังคมอย่างปกติสุข

การป้องกัน
การป้องกันโรครูมาตอยด์มิให้กำเริบหรือมีอาการรุนแรงมากขึ้นขึ้นอยู่กับโภชนาการที่ดี โดยการเลือกรับประทานอาหารประเภทผัก และหลีกเลี่ยงอาหารประเภทนม ไข่ เนื้อสัตว์หรืออาหารประเภทที่ให้โปรตีนมาก