กัลยาณธรรม 5 ประการ

26260

กัลยาณธรรม หมายถึง ธรรมอันดี ธรรมที่ดีงาม ธรรมของกัลยาณชนเพราะกำจัดธรรมที่ไม่สะอาดมีราคะ โทสะ โมหะได้ และธรรมทั้ง 5 ประการ หรือเรียกว่า เบญจกัลยาณธรรม ประกอบด้วย
1. เมตตากรุณา
2. สัมมาอาชีวะ
3. กามสังวร
4. สัจจะ
5. สติสัมปชัญญะ

ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ควรประพฤติคู่ไปกับการรักษา เบญจศีล อ่านเพิ่มเติม ศีล 5

หลักของการมีเบญจกัลยาณธรรม ที่สำคัญเป็นต้นนั้น ได้แก่ทฤษฎีปัจจยาการตามทฤษฎีนี้ สอนว่าเป็นอาการที่เป็นปัจจัยแก่กัน ได้แก่ ปฏิจจสมุปบาท การสืบภพชาติของสัตว์เปรียบเหมือนกับวงล้อแห่งเหตุผล นั่นคืออวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะ 6 อายตนะ 6 เป็นเหตุให้เกิดผัสสะ ผัสสะเป็นเหตุให้เกิดเวทนา เวทนาเป็นเหตุให้เกิดตัณหา ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดอุปาทาน อุปาทานเป็นเหตุให้เกิดภพ ภพเป็นเหตุให้เกิดชาติ ชาติเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ถ้ากำจัดผลอันสุดท้ายให้หมดสิ้นได้ ก็เท่ากับได้กำจัดเหตุเบื้องต้นด้วย

ส่วนหลักปฏิบัติที่สำคัญนั้นที่พระศาสดาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอนชาวโลก เพื่อให้รู้แจ้งเห็นจริงในอมฤตธรรม สามารถดำเนินชีวิไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ซึ่งเป็นหลักใหญ่ของพระพุทธเจ้า เรียกว่า “โอวาทปาฏิโมกข์” มี 3 ข้อคือ
1. การไม่ทำความชั่วทั้งปวง
2. บำเพ็ญความดีให้เพียบพร้อม
3. การทำจิตของตนให้ผ่องใส

กัลยาณธรรม

อรรถาธิบายเพิ่มเติม กัลยาณธรรม 5
1. เมตตากรุณา
เมตตากรุณา แห่งกัลยาณธรรม 5 หมายถึง การปฏิบัติเพื่อต้องการช่วยให้ผู้อื่นมีความสุข ให้พ้นจากทุกข์ มีความสุขความเจริญ ด้วยการแสดงความ มีน้ำใจเอื้ออาทรต่อผู้อื่นด้วยความเต็มใจ แสดงอาการทางวาจาต่อผู้อื่นอย่างนุ่มนวล การไม่เอาเปรียบไม่เบียดเบียนผู้อื่น การรู้จักให้อภัยร่วมบริจาคทรัพย์สินเพื่อส่วนรวม และเสียสละเวลาปฏิบัติ
กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมตามสมควรตามสถานการณ์ และตามความสามารถของตน โดยไม่หวังผลตอบแทน

ความสำคัญของความเมตตา
1. ความเมตตากรุณาเป็นปัจจัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดสันติสุข และเป็นเครื่องค้ำจุนสังคมตั้งแต่ระดับชุมชนไปจนถึงระดับโลกหากมนุษย์ทุกคนหรือส่วนมากมีคุณธรรมเรื่องความเมตตากรุณาแล้ว สังคมย่อมมีแต่ความสุขสงบ และความก้าวหน้าปราศจากการเอารัดเอาเปรียบและกดขี่ซึ่งกันและกัน มนุษย์จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในสังคมใดก็ตามที่บุคคลมีความเมตตากรุณาน้อย สังคมนั้นย่อมจะมีปัญหาอาชญากรรม ปัญหาความทุกข์ยากการกดขี่ข่มเหงรังแกซึ่งกันและกัน

2. ความเมตตากรุณาช่วยให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ความเมตตาช่วยทำให้ชีวิตมีความสุขทำให้ไม่เห็นแก่ตัว ซึ่งความเห็นแก่ตัวจะเป็นสิ่งทำลายชีวิตและสังคม คนที่มีความเมตตากรุณาอยู่เสมอย่อมได้รับประโยชน์หลายอย่างคือเป็นผู้ไม่มีกังวลมีความสุข จิตใจสงบ เป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป

ลักษณะ และพฤติกรรมที่แสดงถึงความเมตตากรุณา
1. ไม่ฆ่า หรือข่มเหง รังแก ตลอดจนทำร้ายด้วยลักษณะต่างๆ ต่อมนุษย์ และสัตว์ทั้งปวง
2. ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นด้วยความยินดี
3. ไม่ใช้คำพูดข่มขู่ ไม่กล่าวดูหมิ่น ไม่กล่าวคำเสียดสีต่อผู้อื่นที่จะก่อให้เกิดความกริ้วโกรธ และเคียดแค้น
4. ไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน
5. เสียสละหรือบริจาคทรัพย์สินส่วนตนให้กับผู้ที่ขาดแคลนและมีความจำเป็นกว่า
6. แสดงถึงความเห็นอกเห็นใจ และกล่าวให้กำลังใจต่อผู้อื่นเมื่อผู้อื่นประสบความทุกข์
7. แนะนำหรือให้ความรู้เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความปรารถนาดี
8. แสดงออกทั้งทางกาย วาจา และใจ ต่อผู้อื่นด้วยความสุภาพนุ่มนวล
9. สนับสนุนผู้อื่นในการบริจาคทาน การสละทรัพย์ สิ่งของ
10. เป็นมิตรต่อผู้อื่น แม้ว่าผู้นั้นจะคิดร้ายต่อตน
11. ให้อภัยต่อการกระทำของผู้อื่น ถึงแม้ผู้นั้นจะทำให้เดือดร้อน
12. ให้ความเคารพในสิทธิของผู้อื่น
13. มีความสามัคคีในหมู่คณะ
14. บำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม
อ่านเพิ่มเติม

2. สัมมาอาชีวะ
สัมมาอาชีวะ แห่งกัลยาณธรรม 5 หมายถึง การเว้นจากมิจฉาชีพทุกชนิด ประกอบ แต่การงานที่สุจริต ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนทั้งแก่ตนเองและบุคคลอื่นเพราะฉะนั้นคำว่าสัมมาอาชีวะต้องมีความหมายที่นอกเหนือจากอาชีพที่สุจริตทั่วไป

พระเทพเวที (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้กล่าวไว้ในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ว่า “สัมมาอาชีวะ” ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ
1. “สัมมา”
2. “อาชีวะ”

คำว่า “สัมมา” หมายถึง
– โดยชอบ
– ดี
– ถูกต้อง
– ถูกถ้วน
– สมบูรณ์
– จริงแท้

คำว่า “อาชีวะ” หมายถึง
– อาชีพ
– การเลี้ยงชีพ
– ความเพียรพยายามในการเลี้ยงชีพ
– การทำมาหากิน
อ่านเพิ่มเติม

3. กามสังวร
กามสังวร แห่งกัลยาณธรรม 5 หมายถึง การสำรวมระวัง และควบคุมตนทั้งทางด้านความคิด และการประพฤติในเรื่องกามารมณ์ อันได้แก่
– การสำรวมระวังต่อความต้องการทางเพศ
– การสำรวมระวังไม่ให้หลงใหลต่อรูปกาย เสียงแห่งอิตถี กลิ่นแห่งความหอม และสัมผัสในกามารมณ์
อ่านเพิ่มเติม

4. สัจจะ
สัจจะ แห่งกัลยาณธรรม 5 หมายถึง ความจริงใจ คือประพฤติสิ่งใดก็ได้จริง คือการเอาใจใส่ไม่ทอดธุระ ในคำพูดในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ทำด้วยความเต็มใจและตั้งใจทำเพื่อต้องการความสำเร็จในการประพฤติสิ่งนั้น ๆ เช่นนี้เรียกว่ามีความจริงใจเพื่อความเข้าใจในคำว่า ‘สัจจะ’ ยิ่งขึ้น
อ่านเพิ่มเติม

5. สติสัมปชัญญะ
สติสัมปชัญญะ แห่งกัลยาณธรรม 5 หมายถึง ความระลึกได้ ก่อนทำ ก่อนพูด ก่อนคิด ให้การทำการพูดการคิดเป็นไปในทางที่ชอบ และความรู้ตัวในขณะเวลาพูด เวลาทำ เวลาคิด ให้ดำเนินไปในทางที่ถูกต้องาทำให้ประกอบกิจการงานไม่ผิดพลาด
อ่านเพิ่มเติม