การทำแท้ง และการแท้ง

13969

การแท้ง (abortion) หมายถึง การออกของทารกในครรภ์ที่ทำให้สิ้นสุดการตั้งครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ และทารกมีน้ำหนักต่ำกว่า 500 กรัม ซึ่งแตกต่างจากการคลอดก่อนกำหนด (immature) ที่หมายถึง การสิ้นสุดการตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 20-37 สัปดาห์ และทารกมีน้ำหนักในช่วง 500-999 กรัม

ประเภทของการแท้ง แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. การแท้งโดยธรรมชาติ (spontaneous abortion) หมายถึง การแท้งโดยไม่ตั้งใจของหญิงตั้งครรภ์อันเกิดจากสาเหตุต่าง อาทิ การหกล้มหรือการเกิดอุบัติเหตุต่างๆจนเป็นสาเหตุให้เกิดการสิ้นสุดการตั้ง ครรภ์

2. การทำแท้ง (induce or artificial abortion) หมายถึง การทำให้แท้งโดยเจตนาที่ทำให้สิ้นสุดการตั้งครรภ์ก่อนกำหนด และทำให้ทารกเสียชีวิต และยังหมายความรวมถึง การยินยอมให้ผู้อื่นทำแท้งให้ การแท้งในลักษณะนี้ จะเกิดจากการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์เป็นหลัก

การทำแท้ง ตามความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง การรีดลูก โดยมีเจตนาทำให้ทารกออกจากครรภ์มารดาก่อนถึงกำหนด และตาย

ทำแท้ง2

นอกจากนี้ในทางการแพทย์ยังแบ่งการแท้งออกเป็นหลายชนิด ตามลักษณะ และอาการ ได้แก่
1. การแท้งคุกคาม (Treatened Abortion) หมายถึง การแท้งที่หญิงตั้งครรภ์อาจสามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้หากได้รับการรักษาที่ทันท่วงที

2. การแท้งที่ยับยั้งไม่ได้ (Inevitable Abortion) หมายถึง การแท้งที่มีเกิดขึ้นมากจนไม่สามารถยับยั้งการแท้งได้ และต้องมีการแท้งแน่นอน

3. การแท้งไม่ครบ (Incomplete Abortion) หมายถึง การแท้งที่มีลักษณะของทารกออกมาแล้ว และบางส่วนยังค้างอยู่ในช่องคลอด การแท้งลักษณะนีจะทำให้เกิดการเสียเลือดมาก

4. การแท้งครบ (Complete Abortion) หมายถึง การแท้งที่ทารกออกมาจากช่องคลอดจนครบทุกส่วน ไม่มีอวัยวะส่วนใดคงค้างในช่องคลอด

5. การแท้งค้าง (Missed Abortion) หมายถึง การแท้งที่มีลักษณะทารกเสียชีวิต และค้างอยู่ภายในมดลูกเป็นเวลานาน การแท้งลักษณะนี้อาจทำให้เกิดภาวะแคลเซียมเกาะมดลูกได้

• อาการแท้งที่เกิดติดต่อกัน 3 ครั้ง ขึ้นไป เรียกลักษณะการแท้งว่า Habitual Abortion
• อาการแท้งที่เกิดจากการติดเชื้อ และมีไข้ เรียกลักษณะการแท้งว่า Septic Abortion

การ ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ หมายถึง การตั้งครรภ์ของหญิงที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น เนื่องจากไม่พร้อมที่จะเป็นมารดาหรือไม่ต้องการมีบุตร หรือหากเกิดการตั้งครรภ์แล้วไม่ต้องการให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไปจนทารก คลอดออกมา

สาเหตุการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในหญิงทั่วไป
1. ค่านิยม และบรรทัดฐานทางเพศทางสังคม ที่มาจากความล้มเหลวทางสังคมที่ปลูกฝังให้เพศหญิงมีค่านิยมทางเพศมากขึ้น ภายใต้ปัจจัยทางภาวะเศรษฐกิจ สังคม การปกครอง ประเพณี และวัฒนธรรม
2. ขาดความรู้เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธุ์ที่ถูกวิธี
3. ขาดความรู้เกี่ยวกับการคุมกำเนิด และระบบการวางแผนครอบครัว
4. ในบางประเทศขาดแหล่งยาสำหรับการคุมกำเนิด
5. การบังคับขืนใจหรือการละเมิดทางเพศโดยไม่ได้รับการยินยอม

สาเหตุการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์หลังการตั้งครรภ์แล้ว
1. สามีเสียชีวิตอย่างกะทันหัน
2. เกิดการหย่าร้างหรือแยกกันอยู่
3. เกิดภาวะเจ็บป่วยรุนแรงของญาติ สามี ทำให้เป็นภาระของหญิงตั้งครรภ์
4. เกิดการเจ็บป่วยอย่างรุนแรงของหญิงตั้งครรภ์เองจนอาจมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์หรือภาระหลังการคลอดในอนาคต
5. หญิงตั้งครรภ์เกิดภาวะวิกฤตทางอารมณ์จากการเผชิญภาวะกดดันสูงจากสภาพแวดล้อม และปัจจัยทางสังคม
6. ฐานะยากจน ไม่มีกำลังการเลี้ยงดูตัวเองขณะตั้งครรภ์ และเลี้ยงดูบุตรหลังคลอดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
7. การตั้งครรภ์มีผลต่อความสำเร็จในชีวิตหรือความก้าวหน้าในชีวิตที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้
8. ภาวะสงครามที่ทำให้เกิดภาระบีบบังคับแก่หญิงตั้งครรภ์
9. ภาวะการเกิดโรคระบาดที่อาจมีผลต่อมารดา และทารกในครรภ์ขณะตั้งครรภ์

วิธีการทำแท้ง
การทำแท้งในระยะไตรมาสแรก (0-3 เดือนแรก)
การทำแท้งในระยะนี้ถึงแม้จะเป็นช่วงที่ทำได้ง่าย และปลอดภัยที่สุด แต่ยังต้องพิจารณาถึงขนาดทารก ขนาดมดลูก และอายุครรภ์ต้องไม่เกิน 12 สัปดาห์ โดยแบ่งได้ 4 วิธี คือ

ทำแท้ง1

• การปรับประจำเดือน (Menstrual Regulation) เป็นวิธีการดูดเอาเนื้อเยื่อภายในมดลูกออก ซึ่งใช้สำหรับหญิงที่ไม่มีประจำเดือนมาแล้ว 29-42 วัน นับจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย หรือมีอายุครรภ์ไม่เกิน 6 สัปดาห์ โดยมีผลการยืนยันการตั้งครรภ์จากฮอร์โมน hCG ในปัสสาวะแล้ว โดยอุปกรณ์ในการทำแท้งประกอบด้วยหลอดดูด และกระบอกสูญญากาศ

ภาวะแทรก ซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการปรับประจำเดือน ได้แก่ การมีเนื้อเยื่อมดลูกคงค้าง และเน่าเปื่อย การติดเชื้อภายในมดลูก มีการตั้งครรภ์ยากหลังการทำปรับประจำเดือน และอาจเกิดการฉีกขาดของปากมดลูก และมดลูก

• การขยายมดลูก และการขูดมดลูกด้วยด้วยแรงสูญญากาศ (Dilatation and Suction curetage) เป็นวิธีที่ใช้สำหรับการตั้งครรภ์ ตั้งแต่ 50 วัน จนถึง 12 สัปดาห์ หรือ 7-12 สัปดาห์ ซึ่งมีวิธีการทำคล้ายกับวิธีการปรับประจำเดือนที่กล่าวมาข้างต้น แต่ต่างกันที่ชนิดหลอดดูด และแรงดูดจากสูญญากาศที่มากกว่า

ภาวะแทรก ซ้อนจากการทำแท้งวิธีนี้จะคล้ายกับวิธีการปรับประจำเดือน แต่เนื่องจากขนาดมดลูกโตมากกว่า ขนาดหลอดใหญ่กว่า จึงมีโอกาสเสี่ยงมากกว่า โดยเฉพาะภาวะการเสียเลือดมาก มดลูกฉีกขาดทะลุ และการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น

• การขยายมดลูก และการขูดมดลูก (Dilatation and Curetage : D&C) เป็นวิธีที่ใช้หลักการเหมือนกับวิธีที่ 2 แต่จะแตกต่างกันที่อุปกรณ์ และขั้นตอนการขูดมดลูก วิธี้นี้มักไม่นิยม เนื่องจากทำให้เกิดความเจ็บปวด และบอบซ้ำมาก ส่วนอาการแทรกซ้อนจะมีลักษณะคล้ายกับวิธีีที่ 2 ดังที่กล่าวมาข้างต้น

• การชักนำให้มีประจำเดือน (Menstrual induction) เป็นวิธีการรับประทายยาหรือฉีดสารเคมีบางชนิดเพื่อชักนำให้มีการสลายตัวของ เนื้อเยื่อมดลูกออกมาคล้ายกับการเกิดประจำเดือน ยาที่มีชื่อเรียกทางการที่มีใช้ ได้แก่ ไมโซพรอสทอล เป็นต้น

2. การทำแท้งในระยะไตรมาส 2 (ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ หรือ 3 เดือน ขึ้นไป)
การทำแท้งในระยะไตรมาสที่ 2 จะใช้กับอายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ ขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดความเสี่ยงมากกว่าระยะแรก โดยเฉพาะอายุครรภ์ 13-16 สัปดาห์ เนื่องจากขนาดมดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้ไม่สามารถขยายปาดมดลูกได้ รวมถึงขนาดมดลูกที่โตขึ้นนั้นยังไม่โตพอที่จะใส่สารเข้าในถุงน้ำคร่ำได้ อย่างสะดวก และปลอดภัย

ดังนั้น ในการทำแท้งจึงไม่ทำขณะอายุครรภ์ 13-16 สัปดาห์ แต่จะรอจนกว่าอายุครรภ์มากกว่า 16 สัปดาห์ก่อน แล้งจึงพิจารณาทำแท้งด้วยวิธีการฉีดสารเข้าในถุงน้ำคร่ำ โดยสารที่ใช้ฉีด ได้แก่ พรอสตาแกลนติน NaC 1 ความเข้มข้นร้อยละ 20

การชักนำให้มีประจำเดือน (Menstrual induction)
การชักนำให้มีประจำเดือน เป็นวิธีการทำแท้งที่มีการเผยแพร่ และผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ง่ายทางระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งวิธีนีจะใช้สำหรับอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ แต่จะมีประสิทธิภาพในอายุครรภ์ 4-5 สัปดาห์ นับจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย และจะมีประสิทธิภาพลดลงเมื่อมีอายุครรภ์มากขึ้น และอาจต้องใช้ปริมาณยาที่มีความเข้มข้นมากขึ้นตามอายุครรภ์ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ง่าย

วิธีการนี้ เป็นวิธีการรับประทานยาหรือการฉีดสารเคมีที่ไปกระตุ้นให้มีการย่อยสลายเนื้อเยื่อมดลูกขณะตั้งครรภ์คล้ายกับการเป็นประจำเดือนทั่วไป ยาที่ใช้ที่มีการเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต ได้แก่ ไมเฟพริสโตน และ ไมโซพรอสทอล

ข้อควรระวังในการใช้
1. เสี่ยงต่อการได้รับยาปลอมที่ไม่มีประสิทธิภาพ
2. เสี่ยงต่อการได้รับยาที่มีความเข้มข้นสูง และออกฤทธิ์รุนแรง
3. ควรได้รับยาหรือได้รับคำแนะนำสำหรับการใช้ยาจากแพทย์
4. ควรได้รับยาจากสถานพยาบาลหรือนายแพทย์ทางวิชาชีพ เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับยาปลอม
5. หากเกิดอาการผิดปกติ เช่น เลือดออกในช่องคลอดมาก ร่างกายอ่อนเพลีย วิงเวียนศรีษะ ควรรีบพบแพทย์ทันที

อาการแทรกช้อน
1. อาจมีเลือดออกทางช่องคลอดมาก และเกิดภาวะเลือดคั่งในช่องคลอด ชีพจรเต้นช้า อ่อนเพลีย วิงเวียนศรีษะ และหมดสติได้
2. อาจมีอาการไข้สูง ตัวร้อน
3. อาจเกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรง