พยาธิเส้นด้าย/พยาธิเข็มหมุด และการรักษา

    19088

    พยาธิเส้นด้าย หรือเรียกอีกชื่อว่า พยาธิเข็มหมุด (Enterobius vermicularis) เป็นพยาธิตัวกลมชนิดหนึ่งที่พบอาศัยอยู่บริเวณลำไส้ โดยพบระบาดได้ทั่วโลก และพบติดเชื้อมากในเด็ก มีการระบาดมากในแถบเขตร้อน เขตอบอุ่น และเขตหนาว

    คำ ว่า “Enterobius” มาจากภาษากรีกคือ “entero” หมายถึง ลำไส้ (bowel) และ bios หมายถึงชีวิต (life) ส่วนคำว่า “vermicularis” มาจากภาษาลาตินหมายถึง หนอนตัวเล็ก (small worm) จัดอยู่ในแฟมิลี่ oxyuroidae

    ลักษณะทั่วไป
    พยาธิเส้นด้ายมีลักษณะกลม จึงจัดอยู่ในกลุ่มของพยาธิลำไส้ตัวกลม ลำตัวของพยาธิมีขนาดเล็กเรียวยาวคล้ายกระสวย มีสีขาว และค่อนข้างใส ทำให้มองดูคล้ายเส้นด้ายหรือเข็มหมุด 50 พบว่า พยาธิตัวเต็มวัยเพศเมียยาวประมาณ 9-12 มิลลิเมตรเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 มิลลิเมตร หาง มีลักษณะบางเรียวภายในมดลูกของมันมีไข่อยู่มากมาย โดยเฉลี่ยตัวเมียตัวหนึ่งออกไข่วันละประมาณ 11,000 ฟอง และจะตายภายหลังวางไข่หมดโดยเฉพาะในภาวะที่แห่ง แต่สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 2 ชั่วโมง หลังจากวางไข่ในน้ำเกลือนอร์มัล

    พยาธิเส้นด้าย

    ส่วนตัวเต็มวัยเพศผู้มีลักษณะเล็กกว่า ความยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร โดยหางของมันมีลักษณะโค้งงอ และมีปลายแหลม อวัยวะสืบพันธุ์ประกอบไปด้วยอัณฑะ อยู่เริ่มจากบริเวณตรงกลางตัวค่อนมาทางหาง ลักษณะคล้ายเส้นด้ายขดไปมา ต่อด้วยท่อเล็กๆ ของท่อนำอสุจิ มาสุดที่ ejaculatory ducts และเปิดออกตรงบริเวณที่เรียกว่า cloaca บริเวณใกล้ปลายหาง ทั้งนี้ ตัวผู้จะตายภายหลังจากการผสมพันธุ์แล้วหลุดปนออกมาในอุจจาระของผู้ป่วย และเนื่องจากตัวพยาธิมีขนาดเล็กจึงทำให้ยากต่อการตรวจพบในอุจจาระด้วยตา เปล่า

    พยาธิเส้นด้าย1

    ไข่พยาธิเส้นด้ายมีลักษณะกลมรีคล้ายไข่ที่ด้านหนึ่งแบน จึงทำให้มองคล้ายอักษรดี (D) และไม่มีสี ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่ถ้ารวมกันเป็นกลุ่มใหญ่จึงสามารถมองเห็นได้ ไข่พยาธิเส้นด้ายมีความยาวขนาดประมาณ 50-54 ไมโครเมตร ความกว้างประมาณ 20-27 ไมโครเมตร ผนังของไข่มีลักษณะหนา ประกอบด้วยผนัง 3 ชั้น ชั้นนอกเป็นสารพวกอัลบูมิน ซึ่งเหนียวทำให้เกาะติดผิวหนังได้ดี และยังทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่ไข่เกาะอยู่ มีส่วนทำให้เกิดอาการคันขึ้นชั้นกลางเป็นพวกไคติน ชั้นในสุดเป็นสารจำพวกไขมัน ทำหน้าที่ป้องกันไข่จากสารเคมีต่างๆ ภายในไข่อาจพบเซลล์ไข่หรือตัวอ่อนก็ได้ ดังนั้น เมื่อไข่ถูกวางออกมาแล้ว จะทำให้ล้างออกได้ยาก

    ไข่พยาธิเส้นด้าย

    ไข่มีลักษณะเบาสามารถปลิวได้ในอากาศ เช่น การสะบัดผ้าปูที่นอนซึ่งไข่สามารถเข้าร่างกายโดยการสูดดม และมีการกลืนเข้าไปได้ พบว่า ไข่ที่ถูกวางออกมามีตัวอ่อนอยู่ภายใน และเป็นตัวอ่อนที่สามารถติดต่อได้ เมื่อไข่ได้รับการกระตุ้นจากออกซิเจนในอากาศมันจะกลายเป็นไข่ระยะติดต่อ เมื่อมีผู้ได้รับไข่พยาธิเข้าไปหรือที่เรียกว่า โฮสต์ (host) มันจะเกิดการฟักเป็นตัวอ่อนภายในร่างกายโฮสต์ อย่างไรก็ตามการที่ในลำไส้มีปริมาณออกซิเจนต่ำมาก ดังนั้น การติดเชื้อในตนเอง ภายในลำไส้จึงไม่เกิดขึ้นในร่างกาย แต่เมื่อตัวเมียวางไข่ที่บริเวณทวารหนักซึ่งเป็นบริเวณที่มีออกซิเจนสูง ไข่จึงมีการฟักเป็นตัวได้ง่าย แล้วตัวอ่อนจึงมีการคืบคลานย้อนกลับเข้าสู่ลำไส้ เป็นลักษณะของการติดเชื้อย้อนกลับในตนเองลักษณะดังกล่าว เรียกว่า การติดเชื้อซ้ำ (retroinfection)

    วงจรชีวิต
    วงจรชีวิตของพยาธิเส้นด้ายนั้น โดยทั่วไปพยาธิอาศัยอยู่ในช่องของทางเดินอาหารภายหลังจากการรับประทานไข่ พยาธิเข้าไปจะฟักตัวในกระเพาะอาหาร และส่วนบนของลำไส้เล็ก จากนั้นจะกลายเป็นตัวอ่อนซึ่งมีความยาวประมาณ 140-150 ไมโครเมตร แล้วเติบโตขึ้นกลายเป็นตัวแก่โดยอาศัยภายในลำไส้ใหญ่ส่วนซีคัม ไส้ติ่ง และลำไส้ใหญ่ส่วนต้น พบว่า พยาธิตัวอ่อนจะมีการลอกคราบประมาณ 2 ครั้ง ก่อนที่จะกลายเป็นตัวแก่ ซึ่งสามารถเคลื่อนที่ได้ประมาณ 6-7 เซนติเมตร ในเวลา 30 นาที พยาธิตัวผู้มักอยู่กับที่ ส่วนตัวเมียภายหลังจากมีการผสมพันธุ์จะมีไข่อยู่เต็มมดลูกซึ่งอยู่ในระยะ ประมาณสัปดาห์ที่ 5 จากนั้น มีการเคลื่อนตัวไปยังผิวหนังที่ปากทวารหนักเพื่อไปวางไข่โดยเฉพาะในเวลากลาง คืนในขณะที่ผู้ติดเชื้อหลับ ตัวพยาธิเส้นด้ายอาจคลืบคลานไปยังบริเวณอวัยวะที่อยู่ข้างเคียงได้ด้วยเช่น ช่องคลอด มดลูก ท่อนำไข่ รังไข่ และเยื่อบุช่องท้อง เมื่อตัวเมียวางไข่บริเวณปากทวารหนักแล้วมันจึงตายไป ทั้งนี้ โดยภาพรวมแล้วพยาธิตัวเมียมีอายุประมาณ 37-93 วัน ส่วนตัวผู้มีอายุประมาณ 50 วัน

    พยาธิตัวเมียมีสามารถวางไข่ต่อครั้งได้ประมาณ 11,000 ฟอง ภายในไข่มีตัวอ่อนของพยาธิที่ไม่สามารถติดต่อแต่เมื่อไข่ได้รับออกซิเจนจะทำ ให้มีการเจริญของตัวอ่อนอย่างรวดเร็วในอุณหภูมิของร่างกายของผู้ติดเชื้อ และมีความสามารถในการติดต่อได้ในระยะประมาณ 4-6 ชั่วโมง ทั้งนี้ ไข่ของพยาธิมีชีวิตได้ดีที่อุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง แต่อุณหภูมิที่ร้อน และแห้งไข่จะไม่สามารถเจริญได้ดี ทั้งนี้ ภายหลังจากการวางไข่ ความสามารถในการติดต่อของไข่จะลดลงหลังจาก 1-2 วัน

    การติดต่อ
    การแพร่กระจาย และการติดไข่พยาธิมักเกิดได้ง่ายในสภาพอากาศชื้น อากาศไม่ร้อน โดยเฉพาะในฤดูฝน และมักแพร่กระจายได้ง่ายบริเวณที่อากาศมีการหมุนเวียนน้อย เนื่องจากไข่สามารถมีอายุอยู่ได้นานในสภาพอากาศที่ไม่ร้อน และมีความชื้นสูง โดยสามารถอยู่ได้นานถึง 3 สัปดาห์ และทนต่ออุณหภูมิที่เย็นได้ถึง -8 องศาเซลเซียส ได้นานถึง 18 ชั่วโมง และสามารถติดต่อได้หลายทาง ได้แก่
    1. การติดพยาธิจากการหยิบจับ
    – การติดจากการรับประทานอาหารโดยตรง
    การติดพยาธิในรูปแบบนี้จะเกิดขึ้นบ่อยที่สุด เพราะเด็กที่ติดพยาธิ หากเกิดอาการคันก็มักจะเกาบริเวณทวารหนัก ทำให้ไข่พยาธิติดหรือปนเปื้อนกับเล็บหรือนิ้วมือมา รวมถึงปนเปื้อนมากับกางเกง และเสื้อผ้าด้วย เมื่อเด็กไปหยิบจับข้าวของหรือรับประทานอาหารก็มักจะไม่ได้ล้างมือก่อน และโดยธรรมชาตินั้น เด็กมักจะดูดนิ้วหรืออมนิ้วเล่นเป็นประจำ ทำให้ไข่พยาธิเข้าร่างกายได้ง่าย และเป็นเหตุให้แพร่ติดไปยังคนใกล้ชิดได้ง่าย
    – การติดพยาธิจากข้าวของ
    เป็นการติดไข่พยาธิที่เกิดต่อเนื่องจากการแพร่ไข่พยาธิจากการเกาของเด็ก ซึ่งเด็กมักจะไปหยิบจับข้าวของอย่างอื่น อาทิ ช้อน จาน เสื้อผ้า ที่นอน รวมถึงเครื่องใช้ภายในบ้านต่างๆ เมื่อเด็กหรือผู้ใหญ่หยิบจับต่อก็จะทำให้ไข่พยาธิติดเล็บหรือนิ้วมือมาด้วย จนแพร่เข้าสู่ร่างกายผ่านการรับปะทานอาหารหรือน้ำดื่ม
    2. การสูดดม
    เป็นการติดไข่พยาธิที่เกิดจาการสูดดมหรือหายใจเอาไข่พยาธิที่มักปนเปื้อนมากับฝุ่นละอองในอากาศ ทำให้ไข่พยาธิเข้าสู่จมูก ระบบทางเดินหายใจหรือเกาะติดในลำคอ และมีการกลืนน้ำลายผ่านลงสู่ระบบทางเดินอาหารต่อไป
    3. การติดเชื้อย้อนกลับ
    เป็นการติดเชื้อจากไข่ที่ติดอยู่รอบๆ ทวารหนักฟักออกมาเป็นตัวอ่อนแล้วคลานกลับเข้าไปในลำไส้ทางทวารหนัก และเจริญเป็นตัวเต็มวัยต่อไป
    4. การติดเชื้อจากการร่วมเพศ
    เป็นการติดต่อพยาธิเส้นด้ายจากการมีเพศสัมพันธ์การติดโรคพยาธิเส้นด้ายเป็นไปโดยง่ายเนื่องจากมักพบไข่พยาธิติดอยู่ตามเครื่อง ใช้ เครื่องนุ่งห่มของเล่นของผู้ติดเชื้อ แม้กระทั่งตามประตู การหยิบจับสิ่งของเหล่านี้จึงได้รับไข่ติดมาอยู่ที่นิ้วมือ เมื่อหยิบอาหารเข้าปากด้วยมือหรืออมนิ้วจึงได้รับไข่เข้าสู่ร่างกาย รวมทั้งการรับประทานอาหาร และน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนของไข่พยาธิ

    ไข่พยาธิเส้นด้ายสามารถพบได้ในอากาศ ดิน และโคลนจากท่อระบายน้ำ ทำให้สามารถได้รับเข้าสู่ร่างกายได้โดยการหายใจเอาไข่พยาธิซึ่งฟุ้งกระจาย อยู่ในอากาศหรือเกาะกับฝุ่นละอองเข้าทางจมูก จากนั้นจะถูกกลืนเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร นอกจากนี้ยังพบการติดต่อพยาธิเส้นด้ายจากการมีเพศสัมพันธ์อีกด้วย ดังนั้น การรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดีจึงเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันการติดโรค พยาธิเส้นด้าย ยกตัวอย่างเช่น การตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ ล้างมือให้สะอาดหลังจากการใช้ส้วมหรือก่อนรับประทานอาหาร การทำความสะอาดร่างกาย งดการดูดนิ้วมือ และของเล่น โดยเฉพาะในเด็กที่มีช่วงอายุ 5-10 ปี ซึ่งผู้ปกครองควรให้การเอาใจใส่เป็นพิเศษ

    วงจรพยาธิเส้นด้าย

    ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อพยาธิเส้นด้าย มีอยู่หลายปัจจัย เช่น อายุ และเพศ โดยเฉพาะปัจจัยทางด้านพฤติกรรมที่ทำให้เกิดการติดต่อได้ง่ายโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งพฤติกรรมของเด็ก เช่น พฤติกรรมการกัดเล็บ และการการดูดนิ้วเล่น เป็นต้น รวมทั้งพฤติกรรมด้านการรักษาอนามัยส่วน-บุคคลที่ไม่ดีพอนับว่าเป็นสาเหตุ หนึ่งที่ทำให้เกิดการติดเชื้อค่อนข้างสูง
    นอกจากนี้ ยังพบปัจจัยที่มีความสำคัญ ได้แก่ การอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น หรือสถานที่มีการรวมตัวของบุคคลเป็นจำนวนมาก เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน และ สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า เป็นต้น อีกทั้งยังมีความเกี่ยวข้องกับลักษณะการอยู่อาศัยในครอบครัว จำนวนสมาชิกในครอบครัว และความใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ และยังขึ้นกับสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม และความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมอีกด้วย โดยมีรายงาน พบว่า ผู้ที่อยู่อาศัยในครอบครัวขนาดใหญ่มีการติดเชื้อได้ง่ายกว่าการอยู่อาศัยใน ครอบครัวขนาดเล็ก และยังมีรายงานพบว่าเด็กที่ผู้ปกครองมีความความรู้มากจะมีอัตราการติดเชื้อ ต่ำ

    อาการแสดงการติดเชื้อพยาธิพยาธิเส้นด้าย
    อาการแสดงของผู้ติดเชื้อพยาธิเส้นด้ายอาจพบไม่มีอาการ จนถึงมีอาการรุนแรงผู้ติดเชื้อมักมีอาการคันที่บริเวณปากทวารหนัก ทำให้มีการเกาจนผิวหนังถลอกและอาจติดเชื้อได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักมีอาการ คันตอนกลางคืนในขณะที่ตัวพยาธิคลานออกมา และวางไข่ที่บริเวณดังกล่าว

    นอกจากอาการคันแล้ว มักพบมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย ได้แก่ การระคายเคือง การถลอกของผิวหนังบริเวณปากทวารหนัก ที่เกิดจากการเกา จนทำให้เกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ในบางรายอาจพบมีอาการเบื่ออาหาร (anorexia) มีความอยากอาหารลดลง ทำให้เกิดความรู้สึกไม่ค่อยสบายตัวในเด็ก และเพศหญิงที่ติดเชื้ออาจทำให้เกิดการคัน และการอักเสบของช่องคลอดได้ โดยสามารถพบตัวแก่ได้ในอุจจาระ และพบไข่พยาธิติดอยู่ที่บริเวณรอบๆ ทวารหนัก นอกจากนี้การติดพยาธิเส้นด้ายอาจทำให้เกิดการปวดท้องได้อีกด้วย

    การติดเชื้อพยาธิเส้นด้ายมักพบในเด็กวัยเรียน อาการคันดังกล่าวทำ ให้เด็กนอนไม่หลับกระสับกระส่าย ขาดการพักผ่อน การเจริญเติบโตช้า ขาดสมาธิในการเรียน นอกจากนี้พบว่าบางรายอาจมีอาการแพ้และมีผื่นแดงบริเวณผิวหนังหรือเกิดการติด เชื้อบริเวณทวารหนัก และมีรายงานพบว่าพยาธิตัวแก่อาจมีการคลานเข้าสู่อวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะในเพศหญิงที่พยาธิมักเข้าสู่ช่องคลอด มดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ ทำให้เกิดการอักเสบที่อวัยวะดังกล่าวได้ นอกจากนี้ ยังมีรายงานพบพยาธิเส้นด้ายที่ปอด ตับ และอวัยวะอื่นหลายอวัยวะ อีกทั้งมีการศึกษาพบว่าพยาธิชนิดนี้อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดไส้ติ่ง อักเสบ อีกด้วย โดยมีรายงานค่อนข้างมากเกี่ยวกับพยาธิเส้นด้ายที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะ ไส้ติ่งอักเสบ ส่วนใหญ่ทำการศึกษาด้วยวิธีการทางพยาธิวิทยา โดยการศึกษาเนื้อเยื่อของไส้ติ่งที่ได้มาจากการผ่าตัด ซึ่งมักพบไข่หรือตัวพยาธิในชิ้นเนื้อดังกล่าวได้ค่อนข้างบ่อย นอกจากนี้ มีการศึกษา พบว่า พยาธิเส้นด้ายอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะปัสสาวะรดที่นอนในเด็ก อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาเกี่ยวกับการพบตัวพยาธิหรือไข่พยาธิเส้นด้ายในอวัยวะต่างๆ อีกเป็นจำนวนมากโดยมักเป็นรายงานการศึกษาเฉพาะรายเท่านั้น ดังนั้น การศึกษาในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุได้ว่าพยาธิเส้นด้ายเป็นสาเหตุทำให้เกิด พยาธิสภาพตามรายงานการศึกษาได้อย่างชัดเจน

    การวินิจฉัยโรคพยาธิเส้นด้าย
    1. การซักประวัติผู้ป่วย
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการคัน หรือพบตัวแก่ที่บริเวณปากทวารหนักในเวลากลางคืน การวินิจฉัยที่ถูกต้อง ได้แก่ การพบไข่หรือตัวเต็มวัยของพยาธิในอุจจาระ อย่างไรก็ตาม
    2. การตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือหาไข่ในอุจจาระมักไม่ให้ผลดี เนื่องจากไข่พยาธิเส้นด้ายจะติดอยู่รอบ ๆ ทวารหนักไม่ปะปนในอุจจาระ วิธีที่นิยมใช้และให้ผลดีคือการตรวจวินิจฉัยโดยการตรวจตัวอย่างจากบริเวณผิว หนังรอบทวารหนัก โดยการแปะเทปเหนียวที่บริเวณปากทวารหนักของเด็ก ซึ่งเป็นบริเวณที่มีไข่พยาธิติดอยู่ ซึ่งไข่พยาธิจะติดมาที่เทป จากนั้นจึงนำไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ทั้งนี้การตรวจควรจะทำในช่วงตื่นนอน ตอนเช้า และก่อนการถ่ายอุจจาระหรือการอาบน้ำ และควรจะมีการตรวจซ้ำอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้อาจพบไข่พยาธิได้จากวิธีการด้วยการป้ายกวาด (Swab) ด้วยวิธีนี้ พบว่า ถ้าทำ 3 ครั้ง จะพบได้ถึงร้อยละ 90 อย่างไรก็ตาม อาจพบไข่พยาธิติดอยู่ที่เล็บมือของผู้ติดเชื้อได้อีกด้วย

    ทั้งนี้ การตรวจหาไข่พยาธิเส้นด้ายโดยการใช้อุจจาระ จะตรวจพบไข่ได้ค่อนข้างน้อยกว่าการตรวจหาไข่พยาธิที่ผิวหนังบริเวณทวารหนัก โดยทั่วไปมักเรียกวิธีนี้ว่า สกอตเทปเทคนิค วิธีนี้ดัดแปลงมาจากวิธีของเกรแฮม ซึ่งให้ผลดีมากในการวินิจฉัยโรคพยาธิเส้นด้ายและยังคงนิยมใช้กันมาใน ปัจจุบัน หลักการของวิธีนี้ ได้แก่ การใช้เทปกาวใสกลับด้านไปติดบริเวณปากทวารหนัก จากนั้นจึงนำเทปไปติดลงบนสไลด์แก้ว แล้วจึงนำไปตรวจหาไข่พยาธิที่ติดแผ่นเทปด้วยกล้องจุลทรรศน์ นอกจากวิธีดังกล่าวยังสามารถตรวจหาไข่พยาธิโดยการนำไม้พันสำลีที่เปียกชื้น ไปป้ายบริเวณปากทวารหนัก และนำมาป้ายบนกระจกสไลด์เพื่อทำการตรวจหาพยาธิได้เช่นกันส่วนการตรวจ วินิจฉัยทางอ้อม พบว่า การติดเชื้อพยาธิเส้นด้ายมักพบการติดเชื้อพยาธิ Dientamoeba fragilis ด้วยเสมอ ดังนั้น ถ้าพบพยาธิชนิดนี้ในอุจจาระควรต้องพยายามตรวจหาพยาธิเส้นด้ายร่วมด้วย
    มี รายงานพบว่า การตรวจอุจจาระโดยวิธีทางห้องปฏิบัติการทั่วไปนั้น พบพยาธิเส้นด้ายในผู้ติดเชื้อเพียงร้อยละ 5-15 เท่านั้น โดยผู้ที่ติดเชื้อในจำนวนมาก อาจพบตัวพยาธิอยู่ในอุจจาระได้ ส่วนการตรวจโดยวิธีส่องกล้องในลำไส้ใหญ่ ก็สามารถที่จะเห็นตัวพยาธิได้เช่นกัน นอกจากนี้การตรวจโดยวิธีย้อมสีพาเพนิโคเลา โดยวิธีการป้ายที่ช่องคลอด (vaginal smear) หรือ ใน มีรายงานพบได้จำนวนน้อย อย่างไรก็ตามมีรายงานในประเทศเคนยาที่พบพยาธิเส้นด้ายในปัสสาวะของเด็กเพศ หญิง อยู่บ้าง ส่วนการตรวจวิเคราะห์ทางด้านโมเลกุลมีอยู่ค่อนข้างจำกัด

    การรักษา และการป้องกันโรคพยาธิเส้นด้าย
    การรักษาหรือการฆ่าพยาธิเส้นด้ายเป็นเรื่องที่ยากกว่าพยาธิชนิดอื่น วิธีที่ใช้ คือ การใช้ยากลุ่มบีเมซิมิดาโซล (bezimidazoles) เช่น เมเบนดาโซล (mebendazole) และอัลเบนดาโซล (albendazole) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการฆ่าพยาธิ รวมถึงการใช้ยาไพเพอราซีน (piperazine) และไพแรนเทล (pyrantel) ก็สามารถฆ่าพยาธิได้เช่นกัน แต่ค่อนข้างมีปะสิทธิภาพน้อยกว่ายากลุ่มแรก นอกจากนี้ การรักษาที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องให้การรักษาคนอื่นในครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิดด้วย เพื่อเป็นการป้องกันการติดพยาธิซ้ำจากคนใกล้ชิด รวมถึงการปฏิบัติตนที่ดีเพื่อรักษาสุขอนามัย เช่น การล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนทานอาหาร การตัดเล็บสั้น การมั่นซักกางเกง และเสื้อผ้า การไม่เกาบริเวณทวารหนัก และอาจสวมถุงมือขณะนอนทุกครั้งในช่วงที่มีอาการคัน เพื่อป้องกันการเกาที่ช่วยให้ไข่พยาธิไม่เกาะติดเล็บหรือนิ้วมือ

    การใช้ยามีอัตราใช้ที่แตกต่างกัน เช่น การใช้ยามีเบนดาโซล ขนาด 100 มิลลิกรัม จะรับประทานเพียงครั้งเดียว ส่วนยาไพแรนเตลพาโมเอต จะรับประทานในขนาด 10 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และรับประทานครั้งเดียวเช่นกัน ซึ่งยาทั้งสองมีประสิทธิภาพการฆ่าพยาธิได้มากกว่าร้อยละ 90 นอกจากนี้ จำเป็นต้องรับประทานยาซ้ำเพื่อป้องกันการติดพยาธิซ้ำโรงเรียน หรือ สถานเลี้ยงเด็ก ซึ่งจะให้รับประทานยาในทุกๆ 3-4 เดือน

    การปฏิบัติตน และการรักษาสุขอนามัยที่ดี
    1. มั่นตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ
    2. มั่นล้างมือด้วยสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร
    3. ควรปรุงอาหารเด็กให้สุกทุกครั้ง
    4. มั่นซักเสื้อผ้าเป็นประจำ โดยเฉพาะเสื้อผ้าที่สวมใส่ขณะมีการติดพยาธิ
    5. เปิดประตูหน้าต่างให้แสงแดดส่องห้องหรือที่นอน รวมถึงพื้นที่อื่นๆภายในบ้าน หรืออาจนำผ้าห่ม หมอน และที่นอนอื่นๆออกมาตากแดดนอกบ้าน
    6. มั่นทำความสะอาดของเล่น และข้าวของเครื่องใช้เด็กด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหรือนำออกมาผึ่งแดดเป็นประจำ
    7. ไม่เกาบริเวณทวารหนักในช่วงที่ติดพยาธิ และเกิดอาการคัน

    สำหรับคนในครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิด ควรปฏิบัติเช่นเดียวกับเด็กหรือผู้ติดพยาธิ รวมไปถึงการรับประทานยาร่วมด้วย เพื่อป้องกันการติดพยาธิจากเด็ก และรับประทานซ้ำอย่างน้อย 1-2 ครั้ง ในช่วง 3-5 เดือน ที่อยู่ระหว่างการรักษา