ฟันน้ำนม/ฟันแท้ การขึ้น และการหลุดฟันน้ำนม/ฟันแท้

83888

ฟันน้ำนม เป็นฟันที่ขึ้นชุดแรก มีจำนวนทั้งหมด 20 ซี่ ซี่แรกจะขึ้นตั้งแต่อายุประมาณ 6 เดือน จากนั้น ฟันน้ำนมซี่อื่นๆจะทยอยขึ้นเรื่อย จนอายุได้ประมาณ 2 ปีครึ่ง จึงขึ้นครบ 20 ซี่

ฟันน้ำนม จะเริ่มสร้างหน่อฟัน(Tooth Bud) ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ประมาณเดือนที่ 6 ซึ่งจะเริ่มสร้างหน่อฟันอยู่ในขากรรไกร และมีการเสริมสร้างแร่ธาตุมีแคลเซียม และฟอสฟอรัสมาสะสมทำให้แข็งขึ้น และมีรูปร่างเป็นฟันที่สมบูรณ์ ตั้งแต่อายุประมาณ 6 – 7 เดือน จะเริ่มขึ้นมาในช่องปากบริเวณตรงกลางด้านหน้าของขากรรไกรล่าง 2 ซี่ และจะทยอยขึ้นสู่ช่องปากจนครบ 20 ซี่ ตั้งแต่อายุประมาณ 2 ปีครึ่ง จนอายุ 6 ปี ก็จะเริ่มทยอยหลุดออกไป มีฟันแท้ขึ้นมาแทนที่

%e0%b8%9f%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%99%e0%b8%a1-%e0%b8%9f%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%97%e0%b9%89

ฟันน้ำนม
ฟันน้ำนม

ฟันแท้ เป็นฟันที่ขึ้นชุดที่สอง มีจำนวนทั้งหมด 32 ซี่ แบ่งเป็นฟันซี่บน 16 ซี่ และฟันซี่ล่าง 16 ซี่ ซึ่งฟันแท้แต่ละซี่จะขึ้นในช่วงอายุแตกต่างกัน รวมถึงมีรูปร่าง และขนาดแตกต่างกัน นอกจากนั้น ฟันแท้แต่ละซี่จะมีหน้าที่แตกต่างกันด้วย อาทิ เช่น ฟันหน้ามีหน้าที่ตัดหรือกัดอาหารให้ขาดออกจากกัน ส่วนฟันเขี้ยวทำหน้าที่ฉีกอาหารให้แยกออกจากกัน ทำให้ฟันกรามเคี้ยวบดง่าย ส่วนฟันกรามน้อย และฟันกรามทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารที่ฉีดขาด และมีขนาดเล็กแล้วให้ละเอียด

ฟันแท้ซี่แรกจะเริ่มขึ้นให้เห็นตั้งแต่เด็กอายุได้ 6 ขวบ เป็นฟันกรามล่างซี่ที่ 1 ซึ่งอยู่บริเวณถัดจากฟันน้ำนมซี่ในสุดเข้าไป

ฟันแท้ซี่แรก บิดามารดามักเข้าใจว่าเป็นฟันน้ำนม เพราะขึ้นเป็นซี่แรก และอยู่ด้านในของช่องปาก และไม่ได้ขึ้นแทนที่ฟันน้ำนมที่สังเกตได้ง่ายจากการหลุดของฟันน้ำนม ฟันแท้ซี่นี้จะทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารไปตลอดชีวิต และเป็นฟันแท้ชุดแรกที่ช่วยบดอาหาร ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการเติบโตของวัยเด็ก

เด็กที่มีปัญหาฟันผุ โดยเฉพาะฟันแท้ชุดแรกๆที่ขึ้นมา ทำให้การบดเคี้ยวอาหารไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการย่อยอาหารที่ย่อยได้น้อยตามมา และสุดท้ายคือ เด็กได้รับสารอาหารน้อย แม้จะกินอาหารมากหรือเพียงพอแล้วก็ตาม นอกจากนั้น ฟันแท้ที่ขึ้นในซี่แรกยังมีบทบาทสำคัญต่อการเรียงตัวของฟันแท้อื่นๆที่ขึ้นมาทีหลัง หากฟันแท้ซี่แรกๆที่ขึ้นมีปัญหา ทั้งฟันผุ ฟันโยกหรือมีรูปร่างผิดปกติ ก็มักทำให้ฟันแท้อื่นๆเกิดขึ้นไม่ตรงตำแหน่ง ทำให้เกิดฟันสบ ฟันเกหรือฟันซ้อนตามมาได้

ทั้งนี้ ฟันแท้จะทยอยเกิดขึ้นมาทดแทนฟันน้ำนมที่ร่วงไป ซึ่งฟันแท้จะขึ้นให้เห็นจำนวน 28 ซี่ เมื่อเด็กอายุได้ประมาณ 12-13 ปี ต่อจากนั้น จะไม่มีฟันขึ้นอีก จนกระทั่งเมื่อครบอายุประมาณ 18 ปี จึงจะมีฟันแท้อีก 4 ซี่ ขึ้นมาอีก จนครบจำนวน 32 ซี่

ฟันแท้ 4 ซี่ สุดท้าย ซึ่งเป็นฟันกรามทั้งหมด ซึ่งจะขึ้นเป็นซี่ในสุด หรือเรียกว่าชุดนี้ว่า “ฟันคุด” เป็นฟันที่อาจเกิดเอียงออกจากแนวฟัน และมักไม่ชิดติดกับฟันชุด 28 ซี่แรก ทำให้มีช่องว่างเกิดขึ้น ดดยทั่วไปจึงมักถอนออก โดยเฉพาะซี่สุดท้ายในแต่ละข้าง

ฟันแท้จะเริ่มสร้างหน่อฟันตั้งแต่อายุประมาณ 6 เดือน ขึ้นไป ซึ่งจะสร้างขึ้นบริเวณปลายรากฟันน้ำนม และจะขึ้นเป็นรูปร่างฟันที่สมบูรณ์ ตั้งแต่อายุประมาณ 6 ปี จะเริ่มขึ้นมาในช่องปากบริเวณหลังสุดต่อจากฟันกรามน้ำนมซี่ที่ 2 คือ ฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 เป็นฟันแท้ซี่แรกที่ขึ้นมาในช่องปาก หลังจากนั้น ฟันแท้ซี่อื่น ๆ จะเริ่มงอกขึ้นมา แรงดันจากการขึ้นของฟันแท้จะดันรากฟันน้ำนมให้ละลาย และฟันน้ำนมจะโยกหลุดไปเองตามธรรมชาติ แต่ถ้าฟันน้ำนมหลุดไปก่อนกำหนดที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่จะทำให้เกิดการล้มเอียงของฟันแท้ที่ขึ้นมา ทำให้ฟันซ้อนเกได้ [1]

การขึ้น และหลุดของฟันน้ำนม และฟันแท้

ชนิดฟัน อายุการขึ้น อายุการหลุด
ฟันน้ำนม
– ฟันหน้าซี่กลางบน เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 6-7 เดือนครึ่ง หลุดตั้งแต่อายุ 1 ปีครึ่ง
– ฟันหน้าซี่กลางบน เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 9 เดือน หลุดตั้งแต่อายุ 8 ปี
– ฟันเขี้ยวบน เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 18 เดือน หลุดตั้งแต่อายุ 10 ปีครึ่ง
– ฟันกรามซี่ที่ 1 บน เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 14 เดือน หลุดตั้งแต่อายุ 10 ปีครึ่ง
– ฟันกรามซี่ที่ 2 บน เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 24 เดือน หลุดตั้งแต่อายุ 10 ปีครึ่ง
– ฟันกรามซี่ที่ 1 ล่าง เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 12 เดือน หลุดตั้งแต่อายุ 10 ปี
– ฟันกรามซี่ที่ 2 ล่าง เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 20 เดือน หลุดตั้งแต่อายุ 11 ปี
– ฟันเขี้ยวล่าง เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 16 เดือน หลุดตั้งแต่อายุ 9 ปีครึ่ง
– ฟันหน้าซี่ข้างล่าง เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 7 เดือน หลุดตั้งแต่อายุ 7 ปี
– ฟันหน้าซี่กลางล่าง  (ขึ้นเป็นซี่แรก) เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 6 เดือน หลุดตั้งแต่อายุ 6 ปี
ฟันแท้
– ฟันหน้าซี่กลางบน เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 7 – 8 ปี  
– ฟันหน้าซี่ข้างบน เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 8 – 9 ปี  
– ฟันเขี้ยวบน เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 11 – 12 ปี  
– ฟันกรามน้อยซี่ที่ 1 บน เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 10 – 11 ปี  
– ฟันกรามน้อยซี่ที่ 2 บน เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 10 – 12 ปี  
– ฟันกรามซี่ที่ 1 บน เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 6 – 7 ปี  
– ฟันกรามซี่ที่ 2 บน เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 12 – 13 ปี  
– ฟันกรามซี่ที่ 3 บน เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 17 – 21 ปี  
– ฟันกรามซี่ที่ 1 ล่าง (ขึ้นเป็นซี่แรก) เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 6 – 7 ปี  
– ฟันกรามซี่ที่ 2 ล่าง เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 11 – 12 ปี  
– ฟันกรามซี่ที่ 3 ล่าง เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 17 – 21 ปี  
– ฟันกรามน้อยซี่ที่ 1 ล่าง เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 11 – 12 ปี  
– ฟันกรามน้อยซี่ที่ 2 ล่าง เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 11 – 12 ปี  
– ฟันเขี้ยวล่าง เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 9 – 10 ปี  
– ฟันหน้าซี่ข้างล่าง เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 7 – 8 ปี  
– ฟันหน้าซี่กลางล่าง เริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 6 – 7 ปี  

 

ที่มา : [2] อ้างถึงใน สำลี อักษรศิริโอภาส (2535)

%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%82%e0%b8%b6%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9f%e0%b8%b1%e0%b8%99

ข้อแตกต่างของฟันแท้กับฟันน้ำนม

ฟันน้ำนม ฟันแท้
– ฟันมีสีขาว คล้ายน้ำนม – ฟันมีสีขาวอมเหลือง
– ฟันมีขนาดเล็ก – ฟันมีขนาดใหญ่กว่าฟันน้ำนม
– ฟันมี 20 ซี่ – ตั้งแต่ขึ้นครบจะมี 32 ซี่ แต่อายุอายุ 12 ปี จะมี 28 ซี่
– จากกึ่งกลางใบหน้า นับไปถึงซี่ที่ 4 และซี่ที่ 5 จะเป็นฟันกราม – จากกึ่งกลางใบหน้า นับไปถึงซี่ที่ 4 และซี่ที่ 5 เป็นฟันกรามน้อยขนาดเล็ก
– ไม่มีซี่ที่ 6, 7 และ 8 – มีซี่ที่ 6, 7 และ 8 ซึ่งจะเป็นฟันกรามทั้งหมด (ฟันซี่ที่ 8 จะขึ้นตั้งแต่อายุได้ 17 ปีขึ้นไป)
– ฟันน้ำนมซี่แรกจะเริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 6-7 เดือน ขึ้นครบตั้งแต่อายุประมาณ 2 เดือนครึ่ง และฟันน้ำนมซี่แรกจะเริ่มหลุดตั้งแต่อายุ 6 ปี และทยอยหลุดจนถึงอายุ 11 ปี – ฟันแท้ซี่แรกเริ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 6 ปี และจะทยอยขึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนมเรื่อยจนครบซี่สุดท้าย เมื่ออายุประมาณ 18 ปี

 

ที่มา : [3]

การเรียกชื่อฟันโดยใช้รหัส
ในการเรียกชื่อฟันแต่ละซี่โดยใช้ชื่อเต็ม ทำให้เสียเวลา ยุ่งยาก ไม่สะดวก ฉะนั้นในการทำงานจะใช้รหัสตัวเลขเรียกชื่อฟันแทนเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น เข้าใจง่ายขึ้นด้วย

untitled

ระบบการเรียกชื่อฟันจะมีหลายระบบ แต่ระบบที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย คือ ระบบตัวเลข 2 ตัว (Two – Digit System) ระบบนี้จะใช้ตัวเลข 2 ตัว ตัวแรกแทนส่วนในช่องปาก ตัวที่สองแทนซี่ฟันการใช้ตัวเลขแทนส่วนในช่องปาก จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน โดยใช้เส้นลากผ่านกึ่งกลางใบหน้าและเส้นแบ่งครึ่งบนล่าง (ตำแหน่งซ้ายขวา จะเป็นตำแหน่งของคนไข้) ดังตัวอย่าง

ที่มา : [2] อ้างถึงใน ศิริภา คงศรี (2540)

ขอบคุณภาพจาก MamaExpert.com/,

เอกสารอ้างอิง
[1]เอกชัย โพธิ์จันทร์, 2551, พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพช่องปาก-
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองแวง-
อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
[2] กิ่งกาญจน์ ขุนสอน, 2558, การพัฒนาทันตะจิ๋วเพื่อการเฝ้าระวังโรคฟันผุ-
ในฟันแท้นักเรียน โรงเรียนบ้านโสกเสี้ยวแสนสุข-
ตำบลห้วยโจด อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
[3] กองทันตสาธารณสุข, 2531, คู่มือการเฝ้าระวังทันตสุขภาพในเด็ก-
วัยประถมศึกษา การดำเนินงานกิจกรรม-
เฝ้าระวังทันตสุขภาพของนักเรียนที่ครูทำได้, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.