อายตนะ 6, 12 การตั้งชื่อ และการทำนายชื่อตามอายตนะ

28395

อายตนะ หมายถึง เครื่องให้รู้ สิ่งที่ทำให้รับรู้ เหตุ หรือบ่อเกิด ซึ่งในที่นี้ หมายถึง เครื่องรู้หรือเหตุที่ทำให้เกิดการับรู้ คือ วิญญาณ

อายตนะ 12 อย่าง ประกอบด้วยอายตนะภายใน 6 อย่าง และอายตนะภายนอก 6 อย่าง ดังนี้
อายตนะภายใน 6 อย่าง
1. โสตายตนะ หมายถึง หู
2. จักขายตนะ หมายถึง ตา
3. ฆานะยตนะ หมายถึง จมูก
4. ชิวหายตนะ หมายถึง ลิ้น
5. กายายตนะ หมายถึง กาย
6. มนายตนะ หมายถึง ใจ

อายตนะภายนอก 6 อย่าง
1. รูปายตนะ หมายถึง รูป
2. สัททายตนะ หมายถึง เสียง
3. คันธายตนะ หมายถึง กลิ่น
4. รสยตนะ หมายถึง รส
5. โผฏฐัพพายตนะ หมายถึง สิ่งสัมผัสกาย
6. ธัมมายตนะ หมายถึง อารมณ์ที่เกิดกับใจ

กิเลส

ความสัมพันธ์ของอายตนะ 12 อย่าง หรือ 6 คู่
1. โสตายตนะ (หู) + รูปายตนะ (รูป) = โสตวิญญาณ (การได้ยิน อาทิ เสียงดัง เสียงไพเราะ)
2. จักขายตนะ (ตา) + สัททายตนะ (เสียง) = จักขุวิญญาณ (การเห็น อาทิ เห็นลักษณะรูปร่าง เห็นสีสัน)
3. ฆานะยตนะ (จมูก) + คันธายตนะ (กลิ่น) = ฆานวิญญาณ (การรับรู้กลิ่น อาทิ หอม เหม็น)
4. ชิวหายตนะ (ลิ้น) + รสยตนะ (รส) = ชิวหาวิญญาณ (การรู้รส อาทิ หวาน เค็ม เผ็ด)
5. กายายตนะ (กาย) + โผฏฐัพพายตนะ (สิ่งสัมผัสกาย) = กายวิญญาณ (รู้ในกายสัมผัส อาทิ ร้อน หนาว)
6. มนายตนะ (ใจ) + ธัมมายตนะ (อารมณ์ที่เกิดกับใจ) = มโนวิญญาณ (การนึกคิด อาทิ สงสาร โกรธ)

อายตนะแต่ละคู่ มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ประกอบขึ้นด้วยปัจจัยภายในหรือตัวเราเป็นที่ตั้ง คือ อายตนะภายในทั้ง 6 อย่าง ซึ่งแต่ละอย่างจะเกิดผัสสะ คือ ถูกกระทบ ด้วยอายตนะภายนอกทั้ง 6 อย่าง ที่ผ่านเข้ามา จนเกิดการรับรู้ คือ วิญญาณ ดังนั้น ผัสสะ ถือเป็นจุดเชื่อมของอายตนะภายใน และภายนอก เมื่อสัมผัสแล้วจึงทำให้เกิดวิญญาณ คือ การรับรู้ในสิ่งที่สัมผัส

อายตนะทั้ง 12 ถือเป็นองค์หนึ่งของขันธ์ 5 โดยแบ่งได้ 2 หมวด คือ
1. รูปธรรม ได้แก่ คู่อายตนะที่ 1-5
2. นามธรรม ได้แก่ คู่อายตนะที่ 6

ทั้งรูปธรรม และนามธรรมแห่งอายตนะทั้ง 6 คู่ เมื่อเกิดผัสสะแล้วจะทำให้เกิดวิญญาณ คือ การรับรู้ จนเกิดต่อเนื่องเป็น เวทนา สัญญา และสังขาร

การพิจารณาขันธ์ 5 จึงต้องมีความรู้พื้นฐานแห่งอายตนะทั้ง 12 อย่าง เพื่อให้สามารถใช้ปัญญาพิจารณารูปที่เป็นเหตุจนก่อเกิดเป็นเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ให้รู้อย่างแจ่มแจ้ง และท่องแท้ อันเป็นสัจจะธรรมที่ไม่มีอะไรเที่ยงแท้

ขันธ์5

การตั้งชื่อ และทำนายบุคลิกตามอายตนะ
การตั้งชื่อบุตรที่เกิดใหม่ตามหลักโหราศาสตร์โบราณ ได้นำอายตนะทั้ง 12 มาประยุกต์ใช้สำหรับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเครื่องให้รู้หรือบ่งบอกให้รู้บุคลิกของบุคคลจากชื่อที่ตั้ง รวมถึงนำไปใช้สำหรับการทำนายบุคลิกจากชื่อที่ตั้ง แต่การพยากรณ์อายตนะ (บุคลิก/นิสัย) จากชื่อที่ตั้ง ควรเป็นชื่อที่ตั้งมาจากอักษรวันเกิดตามหลักอายตนะเช่นกัน จึงจะแม่นยำ และสัมพันธ์กัน แต่ทั้งนี้ การทำนายบุคลิก/นิสัยจากชื่อ ก็สามารถใช้กับชื่อที่ไม่ได้ตั้งตามอักษรวันเกิดได้เช่นกัน

การตั้งชื่อตามหลักอายตนะนี้ หมายถึง การตั้งชื่อเพื่อให้เป็นเครื่องรับรู้หรือบ่งบอกบุคลิกผู้นั้นจากชื่อ นั่นก็คือ อายตนะจากชื่อนั่นเอง (อายตนะ หมายถึง เครื่องให้รู้ หรือ สิ่งที่ทำให้รับรู้) ซึ่งมิได้มีความหมายครอบคลุมถึงอายตนะภายในทั้ง 6 เพราะเป็นเพียงการนำคำว่า อายตนะ มาใช้เท่านั้น แต่อาจสะท้อนหรือทำนายความสัมพันธ์ถึงอายตนะภายนอกทั้ง 6 ได้เช่นกัน

ในที่นี้ ใช้ข้อมูลที่อ้างอิงมาจากตำราพรหมชาติ ดังแสดงในตาราง

วันเกิด/ดวงดาว เลขกำลังดวงดาว/วันเกิด อักษรประจำวันสำหรับชาย อักษรประจำวันสำหรับหญิง อักษรกาลกิณีสำหรับชาย-หญิง
อาทิตย์ 6 อักษรมงคลหลัก :
– จ ฉ ช ซ ฌ ญ
อักษรมงคลรอง :
– ทุกตัวอักษร และสระ ยกเว้นอักษรกาลกิณี
อักษรมงคลหลัก :
– ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
อักษรมงคลรอง :
– ทุกตัวอักษร และสระ ยกเว้นอักษรกาลกิณี
ศ ษ ส ห ฬ ฮ
จันทร์ 15 อักษรมงคลหลัก :
– ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
อักษรมงคลรอง :
– ทุกตัวอักษร และสระ ยกเว้นอักษรกาลกิณี
อักษรมงคลหลัก :
– ด ต ถ ท ธ น
อักษรมงคลรอง :
– ทุกตัวอักษร และสระ ยกเว้นอักษรกาลกิณี
และสระอะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
อังคาร 8 อักษรมงคลหลัก :
ด ต ถ ท ธ น
อักษรมงคลรอง :
– ทุกตัวอักษร และสระ ยกเว้นอักษรกาลกิณี
อักษรมงคลหลัก :
บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม
อักษรมงคลรอง :
– ทุกตัวอักษร และสระ ยกเว้นอักษรกาลกิณี
ก ข ค ฆ ง
พุธ 17 อักษรมงคลหลัก :
บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม
อักษรมงคลรอง :
– ทุกตัวอักษร และสระ ยกเว้นอักษรกาลกิณี
อักษรมงคลหลัก :
ย ร ล ว
อักษรมงคลรอง :
– ทุกตัวอักษร และสระ ยกเว้นอักษรกาลกิณี
จ ฉ ช ซ ฌ ญ
พฤหัสบดี 19 อักษรมงคลหลัก :
ศ ษ ส ห ฬ ฮ
อักษรมงคลรอง :
– ทุกตัวอักษร และสระ ยกเว้นอักษรกาลกิณี
อักษรมงคลหลัก :
– อ และสระอะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
อักษรมงคลรอง :
– ทุกตัวอักษร และสระ ยกเว้นอักษรกาลกิณี
ด ต ถ ท ธ น
ศุกร์ 21 อักษรมงคลหลัก :
ก ข ค ฆ ง
อักษรมงคลรอง :
– ทุกตัวอักษร และสระ ยกเว้นอักษรกาลกิณี
อักษรมงคลหลัก :
จ ฉ ช ซ ฌ ญ
อักษรมงคลรอง :
– ทุกตัวอักษร และสระ ยกเว้นอักษรกาลกิณี
ย ร ล ว
เสาร์ 10 อักษรมงคลหลัก :
ย ร ล ว
อักษรมงคลรอง :
– ทุกตัวอักษร และสระ ยกเว้นอักษรกาลกิณี
อักษรมงคลหลัก :
ศ ษ ส ห ฬ ฮ
อักษรมงคลรอง :
– ทุกตัวอักษร และสระ ยกเว้นอักษรกาลกิณี
ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
ราหู (วันพุธ กลางคืน) 12 อักษรมงคลหลัก :
อ และสระอะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
อักษรมงคลรอง :
– ทุกตัวอักษร และสระ ยกเว้นอักษรกาลกิณี
อักษรมงคลหลัก :
ก ข ค ฆ ง
อักษรมงคลรอง :
– ทุกตัวอักษร และสระ ยกเว้นอักษรกาลกิณี
บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม

 

ตัวอย่างการตั้งชื่อ
ผู้ชาย
วันอาทิตย์ : ชนสรณ์ แปลว่า ที่พึ่งของคน
วันจันทร์ : ฐิติ แปลว่าการตั้งอยู่
วันอังคาร : ธวัชชัย แปลว่า ธงแห่งชัยชนะ
วันพุธ : ปฏิพัทธ์ แปลว่า รักใคร่
วันพฤหัสบดี : สถาพร แปลว่า ยืนยง
วันศุกร์ : กฤษฎา แปลว่า บุญที่ทำแล้ว
วันเสาร์ : ยุทธนา แปลว่า สงคราม
วันพุธ กลางคืน (18.00 น.-06.00 น.) : อภิสิทธิ์ แปลว่า ผู้มีสิทธิ์พิเศษหรือสิทธิ์ที่ยิ่งใหญ่

ผู้หญิง
วันอาทิตย์ : ฐาปนีย์ แปลว่า ควรแก่ตำแหน่ง
วันจันทร์ : ธัญลักษณ์ แปลว่า ลักษณะดี
วันอังคาร : ปัทมวรรณ แปลว่า ผิวดังดอกบัว
วันพุธ : เยาวเรศ แปลว่า นางกษัตริย์
วันพฤหัสบดี : อรนุช แปลว่า หญิงงาม
วันศุกร์ : ช่อผกา แปลว่า ช่อดอกไม้
วันเสาร์ : สุธาสินี แปลว่า เทพธิดา
วันพุธ กลางคืน (18.00 น.-06.00 น.) : เกวลิน แปลว่า ผู้สำเร็จ

ข้อแนะนำ
1. ในตำราพรหมชาติท่านกล่าวว่า ห้ามนำอักษรตัวใดตัวหนึ่งที่เป็นกาลกิณีในแต่ละวันเกิดมาผสมใส่ในชื่อที่ตั้ง
2. อักษระมงคลหลัก คือ อักษรที่เป็นมงคลที่สุด ส่วนอักษรอื่นที่ไม่ระบุถือเป็นอักษรที่เป็นมงคลรองลงมา และสามารถนำมาผสมในชื่อได้ ยกเว้นอักษรที่เป็นกาลกิณี ห้ามนำมาผสมในการตั้งชื่อ

การทำนายอายตนะจากวันเกิด (บุคลิก/นิสัย)
วันอาทิตย์
คนเกิดวันอาทิตย์มักเป็นคนอาภัพที่ต้องพลัดพรากจากบิดา-มารดา โดยทั่วไปแล้ว คนเกิดวันนี้จะเป็นคนสื่อสัตย์ ทั้งต่อนาย และมิตรสหาย เป็นคนพูดจามีหางเสียง เจรจาชอบตามกาลเวลา มักพูดตรงไปตรงมา และเป็นวาจาสัตย์ เป็นผู้มีเมตตา มีความเฉลียวฉลาด รู้จักเข้าหาคนได้ง่าย ชอบการเป็นผู้นำ แต่มีนิสัยโกรธง่าย หายเร็ว ทั้งนี้ วันที่เป็นศัตรูมักเป็นวันอังคาร

วันจันทร์
คนเกิดวันจันทร์มักห่างจากบิดา-มารดาเหมือนกับคนเกิดวันอาทิตย์ ต้องพึ่งตนเองตั้งแต่เด็ก โดยทั่วไปแล้วมีนิสัยชอบความสนุกสนาน แต่เป็นคนใจเข้มแข็ง ทำอะไรทำจริง มีความทระนงในตัวสูง ไม่ขอพึงคนอื่นโดยง่าย ชอบพูดจาเป็นหลักวิชาการ และรู้จักเจรจาชอบตามกาลเวลา ทั้งนี้ วันที่เป็นศัตรูมักเป็นวันพฤหัสบดี

วันอังคาร
คนเกิดวันอังคารมักพรั่งพร้อมด้วยความรักจากบิดา-มารดา แต่อาจพบปัญหากับพี่น้อง โดยทั่วไปเป็นคนมีสติปัญญาดี เฉลียวฉลาด พูดจาอ่อนหวาน มักโกรธง่าย บันดาลโทสะง่าย เป็นคนชอบในกามารมณ์นัก ทั้งนี้ วันที่เป็นศัตรูมักเป็นวันอาทิตย์

วันพุธ
คนเกิดวันพุธมักห่างเหินจากบิดา-มารดา โดยทั่วไปมีนิสัยด่วนร้อน ทำอะไรวู่วาม มีใจนักเลง โกรธง่าย มักพูดตรงไปตรงมา และพูดจาขวานผ่าซาก ทั้งนี้ วันที่เป็นศัตรูมักเป็นวันศุกร์

วันพฤหัสบดี
คนเกิดวันพฤหัสบดีมักได้รับความอบอุ่นจากครอบครัว และญาติมิตร โดยทั่วไปมีนิสัยอ่อนโยน พูดจาเป็นกำลังสำคัญ คือ รู้จักพูด รู้จักเจรจาให้เอาตัวรอดหรือนำพาชีวิตรุ่งเรืองเพราะการเจรจา แต่มักทำคุณกลับได้โทษ ทั้งนี้ วันที่เป็นศัตรูมักเป็นวันจันทร์

วันศุกร์
คนเกิดวันศุกร์มักห่างเหินจากญาติมิตรในวัยเยาว์ ชีวิตมักลำบากเพราะพี่น้อง โดยทั่วไปมีนิสัยเอาแต่ใจตนเอง อยากได้สิ่งนั้นต้องให้ได้ คนอื่นว่ากล่าวว่าไม่ได้ มีทิฏฐิสูง มีความทระนงสูง ไม่ยอมใครง่ายๆ แต่หากเป็นคนช่างพูด ช่างเจรจา ทั้งนี้ วันที่เป็นศัตรูมักเป็นวันพุธ

วันเสาร์
คนเกิดวันเสาร์มักมีปัญหากับญาติมิตร โดยทั่วไปเป็นคนนิสัยใจนักเลง ใจร้อนวู่วาม นักแน่น ทระนง โกรธง่าย ใครด่า ใครหยามไม่ได้ เป็นคนชอบในสิ่งที่ท้าทาย ชอบผจญภัย ชอบหาสิ่งแปลกใหม่ทำ มักมีใจสำราญเป็นนิจ พูดจาไม่ยั้งคิด แต่พูดคำตรงไปตรงมา ทั้งนี้ วันที่เป็นศัตรูมักเป็นวันศุกร์

วันพุธกลางคืน (ราหู)
คนเกิดวันพุธตอนกลางคืน มักคล้ายคลึงทุกประการกับคนเกิดวันเสาร์

ทั้งนี้ วิธีการทำนายอายตนะตามวันเกิด ใครเกิดวันใด ให้ทำนายตามวันนั้น