เล็บ (nails) และหน้าที่ของเล็บ

46566

เล็บ (nails) คือ ชั้นของหนังกำพร้าที่ตายแล้ว ซึ่งเลื่อนจากชั้นล่างขึ้นมาอัดกันแน่นเป็นชั้นๆกลายเป็นแผ่นแข็งที่อยู่บริเวณด้านหลังของปลายนิ้วปล้องสุดท้าย ทั้งนิ้วมือ เรียกว่า เล็บมือ ที่นิ้วเท้า เรียกว่า เล็บเท้า ทั้งนี้ เล็บมือมีหน้าที่ป้องกันอันตรายต่างๆไม้ให้เกิดแก่ปลายนิ้ว รวมถึงใช้ประโยชน์ในการขูดหรือจิก

เล็บมีลักษณะเป็นแผ่นแข็ง และค่อนข้างโปร่งแสง สามารถอ่อนตัวได้ ไม่มีหลอดเลือด และเส้นประสาทมาเลี้ยง ทำให้เวลาตัดเล็บจึงไม่รู้สึกเจ็บ เล็บนี้จะแข็งแรงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับเซลล์มีชีวิตบริเวณโคนเล็บที่เรียกว่า เรียกว่า Matrix ซึ่งหากร่างกายได้รับสารอาหารหลักที่จำเป็นในการสร้างเล็บที่เพียงพอก็ย่อมทำให้เล็บมีความแข็งแรง สารเหล่านี้ ได้แก่ โปรตีน ฟอสฟอรัส และแคลเซียม เป็นต้น

%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b9%87%e0%b8%9a

ส่วนประกอบของเล็บ
1. Cuticle เป็นหนังรอบๆ เล็บมีหน้าที่ป้องกัน Matrix มี 2 ส่วน คือ
– Perionycium เป็นส่วนนอกที่อยู่รอบๆ เล็บซึ่งเป็นส่วนนอกสุดของหนังกำพร้า (Stratum corneum)
– Eponycium อยู่ใต้หนังส่วนนอก เป็นหนังบาง ๆ เกาะติดอยู่กับตัวเล็บ (Nail plate)
2. Lanula เป็นวงรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวอยู่บริเวณโคนเล็บทุกเล็บ แต่มักจะมองเห็นได้ชัดเจนเฉพาะนิ้วโป้ง เซลล์ในส่วนนี้มีเคราตินอยู่เพียงบางส่วน มีสีจางกว่าส่วนอื่นๆบนเล็บ เนื่องจาก เป็นส่วนของตัวเล็บ ที่แยกตัวไม่ติดกับเนื้อเยื่อเส้นใยอันหนาแน่นในบริเวณโคนเล็บ
3. Nail wall เป็นส่วนของผิวหนังที่อยู่รอบเล็บทั้งสามด้าน ทำหน้าที่ช่วยป้องกันเล็บจากอันตรายที่มากระทบ และช่วยให้เล็บได้รูปทรง
4. Nail plate เป็นส่วนสำคัญของตัวเล็บที่เกิดจากการเรียงตัวของเซลล์ชั้น stratum lucidum จากผิวชั้นหนังกำพร้านูนขึ้นมาเกาะติดกันแน่นจนเป็นเนื้อเดียวกันกับ Nail bed ที่อยู่ข้างใต้เซลล์ของตัวเล็บจะจัดเรียงซ้อนอยู่ติดกันด้วย เคราตินทำให้เล็บแข็ง
5. Free edge เป็นส่วนของตัวเล็บ (Nail plate) ที่ยาวออกไปพ้นปลายเล็บและไม่ติดอยู่กับเนื้อเยื่อรองเล็บ (Nail bed) มีสีค่อนข้างขาวเป็นส่วนที่แข็งที่สุดของเล็บ
6. Nail bed เป็นเนื้อเยื่อชั้นหนังแท้ที่ประกอบด้วยเส้นเลือด และปรายประสาทที่มีชั้นบางๆของ stratum germinativumในผิวชั้นหนังกำพร้าเชื่อมโยง Nail bed ให้ติดกับ Nail plate ถ้าเล็บเลื่อนออกไป ผิวหนังกำพร้าในชั้นนี้ยังคงติดอยู่กับเล็บ ส่วนนูนของ Nail bed จึงยังติดอยู่กับเล็บข้างบน เมื่อเล็บยาวไปเรื่อยๆ จึงทำให้เล็บคงรูปอยู่ได้เนื้อเยื่อรองรับเล็บนี้เป็นส่วนที่ทำให้เล็บมีสีออกชมพู
7. Nail groove เป็นร่องลึกด้านข้างๆเล็บ ตามแนวเล็บที่ยาวออกไปช่วยดูแลเล็บ และเนื้อเยื่อรองเล็บไปพร้อมๆ กัน
8. Hyponycium เป็นบริเวณผิวเนื้อข้างใต้ของ Free edge ซึ่งเป็นปลายเล็บที่ไม่ติดกับเนื้อเยื่อรองเล็บ
9. การเจริญเติบโตของเล็บ (Nail Growth) เล็บจะยาวในอัตราเฉลี่ยระหว่าง 0.5-1.2 มิลลิลิตร/สัปดาห์เล็บเท้าจะยาวช้ากว่าเล็บมือ และถ้ามีปัญหาสุขภาพหรือเล็บหลุดจะใช้เวลาเล็บขึ้นเต็มเล็บ 5-6 เดือน ส่วนเล็บเท้าใช้เวลา 12 เดือนขึ้นไป
10. เล็บจะยาวตลอดเวลาแต่เมื่ออายุมากขึ้นการเจริญเติบโตจะช้าลง
11. ถ้ามีอาการป่วยไข้หรือไม่สบายจะส่งผลกระทบต่อเล็บด้วย เช่นเดียวกับผิวหนัง และผม

%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b9%87%e0%b8%9a2

%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b9%87%e0%b8%9a1

การเจริญของเล็บ
เล็บมีการแบ่งตัวแบบไมโตซีสเป็นเซลล์ที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเส้นใยแบบแน่นหนาในชั้นหนังแท้ การเจริญเติบโตของเล็บจะเกิดขึ้นที่ส่วนนี้ โดยมีหลอดเลือด และหลอดน้ำเหลืองมาเลี้ยงเซลล์ให้แข็งแรงสุขภาพดี โดยมีโปรตีนที่แปรสภาพเป็นเคราติน (Keratin) สะสมอยู่ด้วย เมื่อเซลล์ของเล็บยาวงอกออกมาจากบริเวณโคนเล็บ เคราตินซึ่งติดมากับเล็บจะทำให้เล็บแข็ง เล็บที่งอกออกจาก Matrix บริเวณโคนเล็บจนถึงปลายเล็บจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน

ในระหว่างที่เล็บเริ่มงอกออกมาพ้นบริเวณโคนเล็บเซลล์ที่มีชีวิตจากส่วนของ Matrix จะกลายเป็น Dead cells ที่อัดกันแน่น และยึดติดกันด้วยความชุ่มชื้น และไขมันที่ติดมาด้วยเพียงเล็กน้อย เมื่อเซลล์ของเล็บเคลื่อนตัวออกมาจะเกาะอยู่บนเนื้อเยื่อรองรับเล็บ (Nail bed) โดยมีเคราตินสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งยาวถึงปลายนิ้วเล็บก็จะมีโครงสร้างที่สมบูรณ์เพื่อทำหน้าที่ป้องกันเนื้อเยื่อรองรับ
เล็บ และถ้าไม่มีเล็บคอยป้องกันจะทำให้เส้นเลือด และปลายประสาทที่ปลายนิ้วได้รับอันตราย และช่วยทำให้นิ้วมือทำงานได้เป็นปกติดี

การพัฒนา และการสร้างเล็บ เล็บในคนเริ่มสร้างตั้งแต่อยู่ในครรภ์เมื่ออายุได้ 9 อาทิตย์ โดยเกิดจากการเว้าเข้าไปของ epidermis ของ dosal tip และจะเสร็จสมบูรณ์ เมื่อตัวอ่อนอายุได้ 20 อาทิตย์ หลังจากนั้น เล็บจะเติบโตโดยการแบ่งตัวของ keratinizing cells และการขยายตัวของส่วน nail bed การเจริญเติบโตของเล็บจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วน dorsal และ intermediate จะมาจากส่วน traditional matrix ของตัวอ่อน และส่วน ventral layer จะมาจากส่วน nail bed จาก distal ถึง lanula

เล็บต่างจากผมตรงที่เล็บมีการเจริญเติบโตงอกเรื่อยๆตลอดชีวิต โดยในเด็กจะมีการเจริญเติบโตได้เร็วกว่าในผู้ใหญ่ (19-23 ปี ) โดยมีการงอกทุกเดือน 2 มิลลิเมตร เพศชายจะงอกได้ไวกว่าเพศหญิง โดยเฉพาะในมือข้างที่ถนัด และพบว่าเล็บทางขวาจะงอกเร็วกว่าซ้าย แต่ละนิ้วมือก็มีอัตราเร็วที่ไม่เท่ากัน นิ้วกลางจะงอกเล็บเร็วที่สุดในขณะที่นิ้วก้อยมีอัตราการงอกเล็บช้าที่สุด อัตราการงอกเล็บโดยทั่วไปมีค่า 0.5-1.2 มิลลิเมตร/อาทิตย์ และยังพบว่าอัตราการงอกของเล็บจะเร็วในกรณีที่เกิดความผิดปกติของเล็บในการทดแทนเล็บทั้งหมดที่เสียไปจะต้องใช้เวลา 5 เดือนครึ่งในเล็บนิ้วมือ และใช้เวลา 12-18 เดือนในเล็บนิ้วเท้า

ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับเล็บ
1. cuticle remover เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้เพื่อลอกส่วนของเนื้อเยื่อบริเวณเล็บ
2. cuticle softener เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ช่วยให้เนื้อเยื่อบริเวณขอบเล็บ (cuticle)อ่อนตัวลงช่วยให้การลอกง่ายขึ้น
3. nail bleach เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสาอางใช้ฟอกเล็บ มีส่วนประกอบของสารฟอกสีใช้ในกรณีเล็บเปลี่ยนสีจากปกติ เช่น เล็บเหลืองจากการสูบบุหรี่จัด
4. nail cream เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทครีมช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่เล็บป้องกันเล็บเปราะแห้ง
5. nail strengthener เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้เล็บแข็งและป้องกันเล็บแห้ง และเปราะ
6. nail polish เป็นผลิตภัณฑ์ขัดเล็บเพื่อเพิ่มการไหลเวียนโลหิต กระตุ้นการงอกของเล็บ
7. nail lacquer เป็นผลิตภัณฑ์น้ำยาทาเล็บ ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้แก่
base coat และ top coat ซึ่งเป็นน้ำยาที่ใช้ทาทับยาทาเล็บเพื่อป้องกันไม่ให้ฟิล์มที่ทำไว้เสียหรือถูกทำลายไป
8. enamel remover เป็นน้ำยาที่ใช้ล้างยาทาเล็บออก
9. nail drier เป็นน้ำยาที่ทับยาทาเล็บเพื่อช่วยให้ยาทาเล็บแห้งเร็วขึ้น
10. plastic fingernail และ elongators เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นพลาสติกใช้แทนชั่วคราวสำหรับเล็บที่แตกหัก
11. nail mending compositions เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ติดส่วนของเล็บที่หัก หรือแตกให้อยู่ในสภาพเดิม

ที่มา : 1) และ 2) อ้างถึงในเอกสารหลายฉบับ

เอกสารอ้างอิง
untitled