เอ็นร้อยหวาย เอ็นร้อยหวายอักเสบ และการรักษา

14745

เอ็นร้อยหวาย (Achilles tendon) เป็นเส้นเอ็นที่แข็งแรง และหนาที่สุดในร่างกาย รับน้ำหนักได้มากถึง 9 กิโลนิวตัน ในขณะวิ่ง หรือสูงถึง 12.5 เท่า ของน้ำหนักตัว

เอ็นร้อยหวาย มีจุดเริ่มต้นบริเวณกึ่งกลางของกล้ามเนื้อน่องทางด้านหลังที่เกิดจากการรวมตัวของเอ็นกล้ามเนื้อน่อง gastrocnemius ทางด้านหลังขา และกล้ามเนื้อน่อง soleus และเชื่อมต่อกับกระดูก calcaneus เหนือส้นเท้า โดยเอ็นร้อยหวายจะมีความยาวประมาณ 11-26 เซนติเมตร มีบริเวณกึ่งกลางเส้นเอ็น ณ เชื่อมติดปลายเส้นเอ็นจะมีลักษณะแผ่กว้างออกพร้อมกับเชื่อมยึดเกาะกับกระดูก calcaneus เหนือส้นเท้า

เอ็นร้อยหวายอักเสบ/หรือฉีกขาด (Chronic Achilles tendon tear)
การอักเสบหรือฉีกขาดของเอ็นร้อยหวาย แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. การอักเสบ/ฉีดขาดแบบเฉียบพลัน (acute tendon tear) อันเกิดจากการอักเสบหรือฉีดขาดจากอุบัติเหตุแบบกระทันหัน
2. การอักเสบ/ฉีดขาดแบบเรื้อรัง (chronic tendon tear) อันเกิดจากการอักเสบหรือฉีกขาดทีละเล็กทีละน้อย

เอ็นร้อยหวายฉีกขาด

เอ็นร้อยหวายฉีกขาด2

สาเหตุเอ็นร้อยหวายอักเสบ/หรือฉีกขาด
1. จากการทำงานหนักหรือยกของหนัก
2. จากการประสบอุบัติเหตุ
3. การการออกกำลังกาย
4. โรคต่างๆ ได้แก่
– โรคเกาต์
– โรคไทรอยด์ (hypothyroidism)
– โรคไต (renal insufficiency)
– โรครูมาตอยด์ (reumathoid arthritis)
– ฯลฯ

การอักเสบของเอ็นร้อยหวายมักเกิดมากที่สุด คือ บริเวณ intertendinous 72-73% รองลงมา คือ ส่วน musculotendinous 14-24% และส่วน insertion จะพบ 4-14% หรือเกิดมากที่สุดในช่วง 2-6 เซนติเมตร เหนือต่อจุดยึดเกาะกับกระดูก (insertion)

อาการเอ็นร้อยหวายอักเสบ/หรือฉีกขาด
เอ็นร้อยหวายอักเสบ/หรือฉีกขาดมักเกิดในลักษณะเรื้อรัง คือ มีการเสื่อมเรื้อรังของเส้นเอ็นที่มาจากการฉีกขาดขนาดเล็กอย่างช้าๆ และลุกลามอย่างต่อเนื่อง แต่บางครั้งก็มักพบการฉีกขาดของเอ็นร้อยหวายอย่างฉับพลันที่เกิดกะทันหันจากการได้รับการกระแทกหรือการดึงรั้งของเอ็นด้วยแรงที่มากเกินไป

เอ็นร้อยหวายฉีกขาด3

การอักเสบของเอ็นร้อยหวาย ในระยะแรกผู้ป่วยอาจไม่มีอาการปวดหรือเจ็บหรือไม่แสดงอาการขาดความมั่นคงของข้อต่อ แต่จะมีอาการปวดเจ็บเล็กน้อยเป็นครั้งคราวเท่านั้น ดังนั้น ผู้ป่วยจึงมักไม่เข้ารับการตรวจรักษาหรือเข้ารับการรักษาที่ล่าช้า และการปล่อยให้เกิดการอักเสบอย่างต่อเนื่องนี้จะทำให้เกิดการสร้างพังผืดขึ้นในบริเวณที่มีการฉีกขาดภายใน 2-4 สัปดาห์ หรือ เกิดมีช่องว่างขนาดใหญ่จากการฉีกขาดแบบสมบูรณ์ในทันทีหรือจากการที่กล้ามเนื้อน่อง gastrosoleus การหดตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้เส้นเอ็นร้อยหวายส่วนต้นที่มีการฉีกขาดหดตัวกลับมากขึ้น ช่องว่างจึงมีขนาดใหญ่ขึ้น ช่องว่างนี้จะถูกแทนที่ด้วยเนื้อเยื่อพังผืด ซึ่งพังผืดนี้จะยืดยาวออกตามการหดตัวของกล้ามเนื้อน่อง gastrosoleus แต่ไม่สามารถส่งผ่านแรงที่มาจากกล้ามเนื้อดังกล่าวได้ ทำให้เส้นเอ็นสูญเสียการทำงานตามปกติไป และการที่เส้นเอ็นไม่สามารถส่งผ่านแรงได้นี้จะทำให้เกิดการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อตามมา ซึ่งในระยะนี้ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเจ็บเป็นเวลานาน และเป็นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงไม่สามารถทำกิจกรรมหนักๆได้ แต่ทั้งนี้ ผู้ป่วยยังสามารถทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้บ้าง เช่น การเดิน การวิ่งเบาๆ แต่การกระโดด หรือการขึ้นบันไดอาจทำได้ยากหรือทำไม่ได้เลย

การรักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบ/หรือฉีกขาด
จากอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบ/หรือฉีกขาดที่มีการสร้างพังผืด ทำให้เส้นเอ็นมีความยาวมากขึ้น แต่ไม่สามารถทำหน้าที่ตามปกติได้ การรักษาเส้นเอ็นให้กลับมาทำงานได้ตามปกติจึงมักจะรักษาด้วยการผ่าตัดที่มี 2 ลักษณะ คือ

1. การผ่าตัดด้วยการปลูกถ่ายเส้นเอ็นแบบ autograft
การผ่าตัดด้วยการปลูกถ่ายเส้นเอ็นจะเริ่มจากการเปิดแผล ตัดส่วนที่เป็นพังผืดออก และเย็บช่องว่างให้ประสานกันด้วยการปลูกถ่ายเส้นเอ็นแบบ autograft โดยการปลูกถ่ายแบบ autograft มักใช้ส่วน fascia lata, plantaris tendon, หรือ fascia ส่วนต้นของ Achilles tendon

2. การผ่าตัดซ่อมแซม
การผ่าตัดซ่อมแซมเอ็นร้อยหวายมีเทคนิคหลากหลาย ขึ้นอยู่กับขนาดของการอักเสบของผู้ป่วย
โดยเอ็นร้อยหวายที่มีการอักเสบน้อยกว่า 1 เซนติเมตร มักจะทำการเย็บปลายของ stumps เข้าด้วยกัน ส่วนการอักเสบที่มีขนาดในช่วง 2-5 เซนติเมตร มักใช้เทคนิคการผ่าตัดซ่อมแซมแบบ V-Y plasty ส่วนการอักเสบที่มีขนาดกว้างกว่า 5 เซนติเมตร มักทำการผ่าตัดซ่อมแซมโดยใช้เทคนิค FDL หรือ FHL ซึ่งเทคนิคแบบ FHL จะมีความแข็งแรงมากกว่า FDL

เพิ่มเติมจาก : 1)

เอกสารอ้างอิง
Untitled