โรคระบบทางเดินอาหาร

14124

โรคระบบทางเดินอาหาร Gastrointestinal tract diseases เป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของอวัยวะในระบบทางเดินอาหารเริ่มตั่งแต่ปากจนถึงทวารหนัก โรคที่เกิดในระบบอวัยวะส่วนนี้มักพบการอักเสบ การติดเชื้อ การแปรปรวนของระบบการทำงาน รวมถึงการเป็นเนื้อมะเร็งร้ายในอวัยวะต่างๆ ที่เกิดจากปัจจัยหลายด้านด้วยกัน โรคที่เกิดในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่

โรคของหลอดอาหาร และคอหอย
– โรคคออักเสบ (Pharyngitis)
– โรคอะคาเลเซีย (Achalasia)
– โรคหลอดอาหารอักเสบ (Esophagitis)
– โรคหลอดเลือดในหลอดอาหารโป่งพอง (Esophageal varices)
– โรคมะเร็งหลอดอาหาร (Esophageal cancer)

โรคของกระเพาะอาหาร
โรคกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer)
– โรคกรดไหลย้อน (Gastro-esophageal Reflux Disease, GERD)
– โรคแผลเพปติก
– โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric cancer)

โรคของลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก
– โรคไส้เลื่อน (hernia)
– โรคลำไส้อักเสบ (Diverticulum)
– โรคลำไส้ขาดเลือด (ischemic bowel disease)
– โรคลำไส้เล็กอุดตัน (Intestinal obstruction)
– โรคการดูดซึมอาหารผิดปกติ (Malabsorption syndrome)
– ไส้ติ่งอักเสบ (Acute appendicitis)
– โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง (Ulcerative colitis)
– ฝีทวารหนักหรือคัณฑสูตร (anorectal abscess)
– ริดสีดวงทวารหนัก (Hemorrhoids)
– โรคมะเร็งลำไส้เล็ก (Small Intestine cancer)
– โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal cancer)

โรคความผิดปกติ และการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร
– โรคท้องร่วง/โรคอุจจาระร่วง (Diarrhea)
– โรคท้องผูก (Constipation)
– โรคท้องเดิน

โรคในอวัยวะที่เกี่ยวข้องระบบทางเดินอาหาร
– โรคตับวาย ตับล้มเหลว (Hepatic Failure)
– โรคฝีในตับ (liver abscesses)
– โรคตับอักเสบ (Hepatitis)
– โรคตับแข็ง (Liver cirrhosis)
– โรคถุงน้ำดีอักเสบ (cholecystitis)
– โรคนิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones)
– โรคท้องมาน ท้องบวม (Ascites)
– โรคมะเร็งตับ (liver cancer)
– โรคมะเร็งตับอ่อน (Pancreatic cancer)
– โรคมะเร็งท่อน้ำดี (Cholangiocarcinoma)

อวัยวะในระบบทางเดินอาหารประกอบด้วยอวัยวะต่างๆเริ่มตั้งแต่ ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ไส้ติ่ง และทวารหนัก มีการทำงานโดยระบบอัตโนมัติหลายอย่าง เช่น การเคลื่อนไหว การย่อยอาหาร การดูดซึมอาหาร การหดรัด และการขับถ่าย

ระบบทางเดินอาหาร

1. ปาก ประกอบด้วยฟันสำหรับทำหน้าที่บดย่อยอาหาร และลิ้น ที่ทำหน้าที่ในการรับรสอาหาร คลุกเคล้าอาหารให้ฟันบด และคลุกอาหารให้เป็นก้อนเพื่อให้สามารถกลืนได้ง่าย
2. หลอดอาหาร เป็นส่วนต่อจากปาก ทำหน้าที่ในการส่งผ่านอาหารเข้าสู่กระเพาะอาหาร
3. กระเพาะอาหาร เป็นส่วนที่มีการพักอาหารที่บดเคี้ยวแล้วจากปากทะยอยป้อนสู่ลำไส้เล็ก ทำหน้าที่คลุกเคล้าอาหารให้เข้ากับน้ำย่อย และย่อยอาหาร นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆที่เป็นโทษด้วยน้ำย่อยที่มี สภาวะเป็นกรด
4. ลำไส้เล็ก เป็นส่วนที่รับอาหารจากกระเพาะอาหาร เป็นส่วนยาวที่สุด ทำหน้าที่ย่อย และดูดซึมอาหารเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงเนื่อเยื่อส่วนต่างๆของร่าง กาย
5. ลำไส้ใหญ่ เป็นส่วนถัดจากลำไส้เล็ก ทำหน้าที่รับกากอาหารที่เหลือจากการย่อย และการดูดซึมแล้วนำมาพักเพื่อการขับถ่ายออก โดยมีการดูดซึมน้ำ และแร่ธาตุกลับเข้าสู่ร่างกายด้วย
6. ไส้ติ่ง เป็นอวัยวะที่ยื่นออกมาจากลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ตรงตำแหน่งด้านล่าช่องท้องด้านขวามือ มีลักษณะเป็นท่อตันขนาดเล็กห้อยอยู่ ไม่มีหน้าที่สำคัญต่อระบบทางเดินอาหาร การตัดไส้ติ่งออกไม่มีผลใดๆต่อการทำงานของระบบนี้
7. ทวารหนัก เป็นส่วนที่อยู่ท้ายสุดถัดจากลำไส้ใหญ่ทำหน้าที่ในการบีดรัดสำหรับการขับถ่าย

อวัยวะอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบ ได้แก่ ต่อมน้ำลาย ตับ ตับอ่อน และถุงน้ำดี

สาเหตุการก่อโรค
1. การติดเชื้อ ที่เกิดจากการบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรคต่างๆ อาทิ แบคทีเรียซัลโมเนลลา (Salmonella) ที่ทำให้เกิดท้องเสีย ท้องร่วง
2. สารเคมี ที่เกิดจากการบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนสารเคมีทำให้เกิดอาการเป็นแผล และอักเสบในระบบทางเดินอาหาร รวมไปถึงการกระตุ้นทำให้เกิดเซลล์มะเร็ง เช่น อาหารที่มีการปนเปื้อนของบอแรกซ์ สารกำจัดวัชพืช อาหารปิ้งย่าง เป็นต้น
3. เหล้า และบุหรี่ สิ่งเหล่านี้มีผลต่อการอักเสบของหลอดอาหาร แผลในกระเพาะอาหาร
4. อุบัติเหตุ ที่มีการกระทบกระแทกทำให้เกิดแผลภายในระบบทางเดินอาหาร รวมไปถึงการผ่าตัดที่ทำให้เกิดแผลอักเสบตามมา
5. ปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด เผ็ดจัด รวมถึงอาหารที่ไม่ผ่าความร้อน

อาการเบื้องต้น
อาการเบื้องต้นสามารถสังเกตุได้ว่าระบบทางเดินอาหารผิดปกติไปจากเดิม เริ่มตั้งแต่บริเวณปากจนถึงทวารหนัก โดยอาการต่างมักเป็นสัญญาณที่บ่งบอกภาวะเป็นโรคในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่
1. มีอาการบวม ปวดแสบ ปวดร้อนในระบบทางเดินอาหาร
2. คลื่นไส้อาเจียน
3. ท้องเสีย
4. อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือด
5. เบื่ออาหาร
6. ตัวเหลือง ตาเหลือง

การวินิจฉัย
การวินิจฉัยของแพทย์จะใช้การซักประวัติร่วมด้วยกับการตรวจด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ อาทิ การส่องกล้อง การเอกซเรย์ อัลตร้าซาวด์ การเพาะเชื้อ รวมถึงการตรวจเลือดเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย

การรักษา
การรักษาจะรักษาตามอาการของโรค ได้แก่
– โรคที่เกิดจากการติดเชื้อจะใช้วิธีการให้ยาปฏิชีวนะ
– โรคที่เกิดจากการระคายเคือง และเป็นแผลจะใช้การให้ยาเคลือบแผล ยาลดกรด รวมถึงการผ่าตัด
– โรคเนื้องอกหรือมะเร็งจะใช้วิธีการผ่าตัด เคมีบำบัดหรือรังสีบำบัด

การป้องกัน
– หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสจัด เค็มจัด เผ็ดจัด
– หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารสุกๆดิบๆหรือไม่ผ่านความร้อนก่อน
– หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารเคมี และเชื้อโรคต่างๆ
การรับประทานอาหารควรล้างอุปกรณ์ที่ใช้ให้สะอาด การล้างมือก่อนทุกครั้ง รวมถึงการรับประทานน้ำที่สะอาด
– การรับประทานผัก ผลไม้ต้องล้างทุกครั้ง
– ลดความเครียด กินอาหารให้ตรงเวลา และพักผ่อนให้เพียงพอ