โรคลิ้นหัวใจรั่ว และโรคลิ้นหัวใจตีบ

13467

หัวใจของคนเราทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะ และเนื้อเยื่อทุกส่วนต่างๆในร่างกาย แบ่งเป็นซีกซ้าย และขวา แต่ละซีกจะแบ่งเป็นห้องบนล่าง โดยมีลิ้นหัวใจคอยเปิดปิดเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับถ้าลิ้นหัวใจ ปิดไม่สนิทหรือเกิดการทำงานที่ผิดปกติย่อส่งผลทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะใน ร่างกายไม่เพียงพอ รวมไปถึงเนื้อเยื่อหัวใจด้วยเช่นกัน

โรคลิ้นหัวใจ (Valvular Heart Disease) หมายถึง โรคที่เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่ประกอบด้วย 2 ลักษณะ ซึ่งมักเกิดพร้อมกัน คือ อาการลิ้นหัวใจรั่ว และอาการลิ้นหัวใจตีบ ซึ่งลักษณะทั้ง 2 กรณีจะมีอาการที่คล้ายคลึงกัน  ซึ่งแพทย์จะทำการวินิจฉัยประเภทของโรค ได้แก่ การซักประวัติคนไข้ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง การเอกซเรย์ และการตรวจสวนหัวใจ

ลักษณะของลิ้นหัวใจตีบ หมายถึง สภาวะที่ลิ้นหัวใจมีอาการบวมโตจนตีบปิดรูลิ้นหัวใจ ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่เปิด-ปิดห้องหัวได้ตามปกติ ทำให้เลือดไหลผ่าน และไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆไม่เพียงพอ

ลักษณะของลิ้นหัวใจรั่ว หมายถึง ภาวะที่เลือดสามารถไหลย้อนกลับผ่านลิ้นหัวใจที่ทำงานผิดปกติขณะที่ลิ้นหัวใจปิดลิ้นหัวใจรั่ว

ลักษณะของโรคลิ้นหัวใจรั่ว หากเกิดมากับกำเนิดแพทย์จะสามารถวินิจฉัย และทำการผ่าตัดรักษาให้หายขาดได้ง่าย ส่วนหากเกิดมีอาการของลิ้นหัวใจตีบหรือหัวใจรั่วในคนสูงวัย ผู้ป่วยมักจะไม่ค่อยสังเกตความผิดปกติของโรคได้ง่าย เพราะอาการต่างๆจะค่อยๆเป็นค่อยไปจนอาการกำเริบและผิดปกติมาก จึงมักสังเกตเห็นความผิดปกติ และอาการของโรคออกมาในช่วงอายุมากแล้ว

สาเหตุของโรคลิ้นหัวใจรั่ว และลิ้นหัวใจตีบ
1. เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ชนิดที่ก่อให้เกิดไข้ ข้ออักเสบ เกิดผื่นตามตัว ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เชื้อเข้าสู่หัวใจ ส่งผลทำให้ลิ้นหัวใจติดเชื้อ และเกิดอาการของลิ้นหัวใจอักเสบ และพองตัวหนา ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
2. เกิดจากความผิดปกติที่มาแต่กำเนิดซึ่งอาจมีสาเหตุจากหลายปัจจัยขณะตั้งครรภ์หรืออาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม
3. เกิดจากร่างกายได้รับหินปูนมาก ทำให้บางส่วนไปเกาะตามลิ้นหัวใจมากเกินปกติจนทำให้ลิ้นหัวไม่ทำงานหรือทำงานได้ไม่ตามปกติ
4. เกิดจากการเสื่อมของลิ้นหัวใจตามอายุการทำงาน ซึ่งมักเกิดกับผู้มีอายุมากแล้ว ร่วมด้วยสาเหตุอื่นๆ เช่น การบวโตของลิ้นหัวใจ และการมีหินปูนมาเกาะบริเวณลิ้นหัวใจ

อาการ และภาวะโรคแทรกซ้อน
1. ระยะเริ่มแรก จะมีอาการเหนื่อยง่าย โดยเฉพาะขณะตั้งครรภ์หรือขณะที่มีเพศสัมพันธ์
2. หากมีอาการรุนแรง มักจะรู้สึกเหนื่อยง่ายโดยที่อยู่เฉยๆ
3. มีอาการใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ
4. มีอาการเจ็บ และแน่นหน้าอก
5. ไอเป็นเลือด สาเหตุจากปอดมีเลือดคั่งหรือเส้นเลือดในปอดแตก
6. มีอาการเสียงแหบ เมื่ออาการของโรครุนแรงมากจากสาเหตุหัวใจห้องบนซ้ายโต และมีการกดทับเส้นประสาทเสียง
7. อาจมีอาการอัมพาต ที่เกิดจากภาวะลิ่มเลือดไปอุดตันในเส้นเลือดบริเวณสมอง

การรักษา
1. การรักษาด้วยยา ตามอาการ เช่น ยาควบคุมปัสสาวะ ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ ยาขยายหลอดเลือด และยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
2. การขยายลิ้นหัวใจ ซึ่งจะใช้ในกรณีลิ้นหัวใจตีบ และไม่มีอาการิ้นหัวใจร่วมด้วย
3. การผ่าตัดโดยการเปลี่ยนลิ้นหัวใจหรือซ่อมแซมลิ้นหัวใจ ด้วยการผ่าตัดขยายรูของลิ้นหัวใจหากมีการตีบ การเย็บรูของลิ้นหัวใจที่มีการรั่ว รวมไปถึงการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมแทนลิ้นหัวใจที่ไม่สามารถใช้งานได้