โรคเอดส์ (HIV) และประวัติ

11813

โรคเอดส์ (Human immunodeficiency Virus) หรือมักเรียกโดยทั่วไปว่า HIV (Human immunodeficiency Virus) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่เรียกว่า  HIV เมื่อเข้าสู่ร่างกายไวรัสชนิดนี้จะค่อยๆทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยเซลล์ที่ถูกทำลายจะเป็นเซลล์ CD4 ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคในร่างกาย เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวดังกล่าวถูกทำลายจะทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายลดลงเช่น กัน ดังนั้น ผลที่ตามมาคือร่างกายไม่สามารถต้านทานต่อการเกิดโรคชนิดต่างๆได้เหมือนเดิม จึงเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆตามมามากมาย แต่ทั้งนี้ จำนวนการเกิดโรค และอาการของโรคแทรกซ้อนต่างๆจะค่อยๆเพิ่มขึ้นตามภูมิคุ้มกันที่ค่อยๆลดลง ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานหลายสิบปีหรือเพียงไม่กี่ปีขึ้นกับภูมิคุ้มกันที่ร่างกายมีอยู่

AIDS ย่อมาจาก Acuquired immune Deficiency Syndrome

A = Acquired หมายถึง เกิดขึ้นมาภายหลัง เกิดหลังจาก

I = Immune หมายถึง ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

D = Deficiency หมายถึง ความบกพร่อง การเสื่อมลง

S = Syndrome หมายถึง กลุ่มอาการหรือโรคที่มีอาการหลายๆอย่าง เอดส์ (AIDS) จึงหมายถึงกลุ่มอาการของภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เกิดขึ้นภายหลังโรคเอดส์

HIV คืออะไร

เชื้อไวรัสเอดส์มีชื่อเรียกว่า ไวรัส HIV ย่อมาจาก Human Immunodeficiency Virus

H = Human หมายถึง คน หรือ มนุษย์

I = Immunodeficiency หมายถึง ภูมิต้านทานโรคบกพร่องหรือเสียไป

V = Virus หมายถึง เชื้อโรคที่มีขนาดเล็กมากที่สุด ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทำให้เกิดโรคร้ายแรงจนถึงชีวิตได้

ประวัติก่อนการตรวจพบ

หากสืบประวัติก่อนการตรวจพบอาการของโรค และมีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการนั้น นักวิทยาศาสตร์มีการวิเคราะห์ว่า โรคชนิดนี้น่าจะมีต้นกำเนิดที่ทวีปแอฟริกา โดยน่าจะเริ่มแพร่ระบาดในมนุษย์ในก่อนช่วงปี 2520 และหลังจากนั้นจึงมีการแพร่ระบาดมาสู่สหรัฐอเมริกาทางด้านฝั่งตะวันออก และลุกลามทั่วทวีปอเมริกา ยุโรป และเอชีย และแพร่ระบาดทั่วโลกในเวลาต่อมา ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์มีการวิเคราะห์กันว่า ต้นกำเนิดของเชื้อไวรัสเอดส์น่าจะมีต้นกำเนิดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยเห็นว่าน่าจะเป็นลิงมากที่สุด ก่อนที่จะมีวิวัฒนาการของเชื้อ และการกลายพันธุ์แพร่ระบาดมาสู่มนุษย์

ประวัติการพบเชื้อ และการตั้งชื่อ

โรคเอดส์มีการค้นพบครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกา จากรายงานทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องครั้งแรกเมื่อปี 2524 พบอาการป่วยที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันลดลงของกลุ่มรักร่วมเพศทั้งหลาย จากการป่วยด้วยโรคปอดบวมจากเชื้อชนิดที่ไม่เคยพบที่เรียกว่า Pneumocystis Carinii Pneumonia และมีการป่วยด้วย โรคมะเร็ง Kaposi’s Sarcoma ที่ไม่น่าจะเกิดกับคนที่ยังมีอายุน้อย และผู้ป่วยทุกรายไม่มีประวัติเป็นโรคร้ายแรงใดๆมาก่อน หลังจากการตรวจวิเคราะห์ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย พบว่า ทุกรายมีระบบภูมิคุ้มกันลดลงในระดับเหลือในระดับต่ำมากกว่าคนปกติ จากนั้น อาการป่วยจากภาวะดังกล่าวเริ่มเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยภายในไม่เพียงกี่ปีเท่า นั้น

ในปี 2526 ชาวฝรั่งเศสชื่อ Luc Montagnier และคณะ สามารถแยกเชื้อชนิดหนึ่งจากต่อมน้ำเหลืองของคนที่ป่วยเป็นโรคเอดส์สำเร็จ และตั้งชื่อไวรัสที่พบนี้ว่า Lymphadenopathy Associated Virus หรือ (LAV) ต่อมาปี พ.ศ.2527 Robert Gallo และคณะแพทย์จากสหรัฐอเมริกา สามารถแยกเชื้อไวรัสจากเม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยเอดส์ และตั้งชื่อว่า Human T-cell Lymphotropic Virus Type lll(HTLV-lll) ต่อมามีรายงานพบไวรัส LAV และ HTLY-lll แต่จากการวิเคราะห์โครงสร้างพบเป็นชนิดเดียวกันทั้งหมด จึงตกลงตั้งชื่อให้เป็นสากลว่า Human Immunodeficiency Virus (HIV)

ประวัติเอดส์ในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยมีประวัติตรวจพบผู้ป่วยเอดส์ครั้งแรกใน ปี พ.ศ. 2526 ในกลุ่มรักร่วมเพศเช่นกัน ซึ่งน่าจะเกิดจากการนำเชื้อมาจากชาวต่างชาติในกลุ่มรักร่วมเพศ หลังจากนั้น มีการแพร่ระบาดไปสู่กลุ่มคนท่องเที่ยวมากขึ้น ปัจจุบันโรคเอดส์ในประเทศไทยมีการแพร่ระบาดอย่างมากทั้งในวัยรุ่น และคนวัยทำงาน

การติดเชื้อ และโอกาสเสี่ยง

โรคเอดส์สามารถติดต่อได้หลายทางผ่านทางระบบเลือด และน้ำเหลือง น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด แต่เชื้อเอดส์ไม่สามารถแพร่เชื้อผ่านทางน้ำลายได้ ซึ่งการติดเชื้อมักเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ได้แก่

เชื้อไวรัสเอดส์
เชื้อไวรัสเอดส์

1. การมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่สวมถุงยางอนามัย ไม่ว่าจะเป็นหญิงกับชายหรือกลุ่มรักร่วมเพศ ซึ่งเชื้อสามารถแพร่ผ่านทางน้ำอสุจิ น้ำคัดหลั่งในช่องคลอดหรือเลือดที่เกิดขณะมีเพศสัมพันธ์

2. การใช้เข็มขีดยาร่วมกัน ที่เกิดจากมีผู้ใช้เข็มฉีดยาบางรายที่มีการติดเชื้ออยู่แล้ว รวมไปถึงการใช้อุปกรณ์ของมีคมต่างๆร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ เช่น มัดโกน เข็มเจาะหู เป็นต้น

นอกจากนั้น การติดเชื้อยังสามารถแพร่ผ่านทางการตั้งครรภ์ไปสู่ลูกได้ด้วย

3. การสัมผัสกับเลือกหรือน้ำเหลือง น้ำคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อโดยที่จุดสัมผัสของตัวเองมีแผลอยู่ ซึ่งเชื้อสามารถแพร่ผ่านแผลดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายผู้สัมผัสได้

4. การเข้าร้านเสริมสวยหรือการศัลยกรรมเปลี่ยนถ่ายอวัยวะที่ทำโดยอุปกรณ์ที่ไม่ ผ่านการทำความสะอาด รวมไปถึงการใช้เนื้อเยื่อหรือเซลล์จากผู้ติดเชื้อโดยไม่มีการตรวจยืนยันผล

5. การผสมเทียมที่ใช้น้ำเชื้ออสุจิจากผู้ติดเชื้อ

6. การเลี้ยงนมบุตรจากน้ำนมที่มีการติดเชื้อจากบุคคลอื่น

อาการของโรคเอดส์

เมื่อเชื้อเอดส์เข้าสู่ร่างกาย เชื้อเอดส์จะค่อยแพร่กระจาย และเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆซึ่งอาจกินเวลานานหลายปีจึงจะแสดงอาการ โดยขึ้นอยู่ความแข็งแรง และสุขภาพของแต่ละคน ทั้งนี้เชื้อเอดส์จะอยู่ในร่างกายไปตลอดชีวิตของคนเรา แต่หากเชื้ออยู่ภายนอกร่างกาย เชื้อเอดส์จะไม่สามารถทนอยู่ในสภาวะแวดล้อมภายนอกได้ และตายในที่สุด โดยอาการของโรคเอดส์สามารถแบ่งตามระยะต่างๆ 3 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 เป็นระยะที่ไม่ปรากฏอาการของโรค (Asymptomatic Stage or Carrier Stage) โดยผู้ติดเชื้อจะดำเนินชีวิตตามปกติทั่วไป โดยที่ไม่มีอาการของโรคเลย แต่อาจมีบ้างในเรื่องการเป็นไข้เล็กๆน้อยๆที่ดูเหมือนจะเป็นการป่วยโดยทั่ว ไป ซึ่งระยะนี้เชื้อจะค่อยๆเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ ในอัตราที่ไม่เร็วนัก และภูมิคุ้มกันของร่างกายยังมากอยู่ ระยะนี้อาจใช้เวลาประมาณ 2-8 ปี เลยทีเดียว ซึ่งบางคนอาจยังไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อแล้วด้วยซ้ำ

ระยะที่ 2 เป็นระยะที่ร่างกายมีอาการสัมพันธ์กับเอดส์ (Aids Related Complex หรือ ARC) เป็นระยะที่ปรากฏอาการของโรคอย่างเห็นได้ชัดให้เห็นได้ เช่น ต่อมน้ำเหลืองโต น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว มีอาการท้องร่วง ท้องเสียหรืออุจจารระร่วงเรื้อรัง โดยไม่ทราบสาเหตุ มีฝ้าขาวที่ลิ้น ลำคอ มีไข้เรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ นอกจากนั้นจะเริ่มมีการแทรกซ้อนของโรคชนิดต่างๆ

ระยะที่ 3 เป็นที่เรียกว่า เอดส์เต็มขั้น (Full Blown AIDS) หรือเรียกสั้นๆว่า ระยะ “โรคเอดส์” เป็นระยะที่ปริมาณเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลงมากจนทำให้เกิดการแทรกซ้อนของโรคต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากระยะจะตรวจพบเม็ดเลือดขาวในจำนวนน้อยมากจนไม่สามารถป้องกันการติด เชื้อของโรคชนิดต่างๆได้ ซึ่งโรคที่เกิดขึ้นมักเป็นโรคทั่วไปที่ไม่สามารถเป็นอันตรายมากนักสำหรับคน ปกติหรือที่เรียกว่า โรคฉวยโอกาส เช่น ปอดอักเสบ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร โรคติดเชื้อในกระแสเลือดหรือสมอง บางรายอาจเป็นมะเร็งได้ง่าย เช่น มะเร็งเม็ดเลือด มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น สำหรับผู้ติดเชื้อที่อยู่ในระยะนี้จะสามารถมีชีวิตอยู่ได้เพียง 1- 2 ปี เท่านั้น โดยจะเสียชีวิตหลักๆจะมาจากการติดเชื้อเรื้อรังจากโรคต่างๆ

ทั้งนี้ อาจสามารถแบ่งได้อาการของโรคเอดส์ ได้เป็น 2 ระยะ โดยถือเอาระยะที่2 และ3 เป็นระยะเดียวกันก็ได้ เพราะถือเป็นระยะที่เริ่มมีอาการของโรคแทรกซ้อนแล้ว

การตรวจวินิจฉัยโรค

การตรวจหารการติดเชื้อของโรคเอดส์ สามารถตรวจจากเลือด มี 3 แบบ คือ

1. การตรวจเลือดด้วยวิธี แอนติเจน P24 คือ การตรวจหาเชื้อหลังจากมีพฤติกรรมเสี่ยงหรือติดเชื้อมาแล้วตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป ทั้งนี้จะพบเชื้อหรือไม่จะขึ้นกับปริมาณไวรัสที่ได้รับ

2. การตรวจเลือดด้วยวิธี  PCR คือ การตรวจหาเชื้อหลังจากมีพฤติกรรมเสี่ยงหรือติดเชื้อมาแล้วตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป

3. การตรวจเลือดด้วยวิธี แอนติบอดี้ คือ การตรวจที่ระบบภูมิคุ้มกัน การตรวจหาเชื้อหลังจากมีพฤติกรรมเสี่ยงหรือติดเชื้อมาแล้วตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป  ซึ่งวิธีนี้อาจตรวจพบได้ในช่วง 3-6 เดือน

การรักษา และการป้องกัน

ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคเอดส์ได้ แต่มีเพียงยาที่ใช้ในการต้านการแพร่กระจายของเชื้อหรือยาที่ช่วยกระตุ้นระบบ ภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพ แต่ก็ไม่สามารถฆ่าเชื้อหรือระงับการแพร่ และการเพิ่มปริมาณของเชื้อในร่างกายให้หายขาดได้ ดังนั้น จึงมีผู้ป่วยเอดส์บางรายต้องยอมลงทุนซื้อยาต้านไวรัสชนิดต่างๆเพื่อยืดอายุ ของตนเองให้นานที่สุด สำหรับแนวทางการป้องกันสำหรับคนที่ไม่เป็นโรคเอดส์ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงต่างๆ มีดังนี้

1. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ แต่โดยทั่วไปคนที่ต้องการมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นมักจะไม่รู้ว่าคนที่มีเพศ สัมพันธ์ด้วยนั้นติดเชื้ออยู่หรือเปล่า ดังนั้น แนวทางที่ปลอดภัยที่สุดคือ การสมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์เสมอ

2. หลีกเลี่ยงหรือไม่ใช้เข็มขีดยาหรืออุปกรณ์มีคมร่วมกับผู้อื่น

3. หลีกเลี่ยงการรับเลือดโดยไม่จำเป็น เช่น การถ่ายเลือด ซึ่งต้องทำในสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐานหรือต้องให้มั่นใจว่าเลือดดังกล่าวไม่ มีการติดเชื้อมาก่อน

4. ชาย หญิงหรือคู่สมรส ควรมีการตรวจเลือดหาเชื้อเสียก่อนก่อนการมีเพศสัมพันธ์หรือแต่งงานกัน

5. มั่นตรวจเลือดทุกปี เพราะอาจเกิดมีการติดเชื้อโดยที่เราไม่รู้ตัวมาก่อน ทั้งนี้ เพื่อการวางแผนหรือกำหนดแนวทางปฏิบัติตนขณะติดเชื้อให้เหมาะสม