โรคไต อาการ และการรักษา

10726

โรคไต (Nephropathy) เป็นโรคชนิดหนึ่งที่เกิดมาจากความผิดปกติของพยาธิสภาพของไตในการทำงานขับของ เสียออกจากร่างกายและรักษาความสมดุลของน้ำและเกลือในร่างกายของคนเรา ซึ่งโรคไตมีหลากหลายประเภท สามารถแบ่งประเภทของโรคไต ได้ดังนี้
1.  โรคไตวาย (renal failure)
2.  กรวยไตอักเสบแบบเฉียบพลัน (acute pyelonephritis)
3.  กรวยไตอักเสบแบบเรื้อรัง (chronic pyelonephritis)
4.  โรคปากท่อไตตีบ
5.  ฝีที่ไต (renal abscess)
6.  โรคนิ่วในไต (kidney stone disease, nephrolithiasis)
7.  โรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic Kidney Disease)

โรคไต

สาเหตุการเกิดโรคไต
– เป็นมาแต่กำเนิด คือ อาจมีขนาดไตที่ไม่เท่ากัน หรือมีไตข้างเดียว เป็นโรคไตเป็นถุงน้ำตั้งแต่กำเนิด ซึ่งการเป็นมาแต่กำเนิดอาจถูกถ่ายทอกมาจากพันธุกรรมได้ เนื่องจากโรคไตเป็นโรคทางกรรมพันธุ์
– เกิดจากการอักเสบของโรคกลุ่มเลือดฝอยของไตอักเสบ
– เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ไตเป็นหนอง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ฯ
– เกิดจากการอุดตันของนิ่ว
– เกิดจากการเป็นเนื้องอกที่ไต
– เกิดจากผลข้างเคียงของโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคเกาต์

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไต ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือโรคความดันโลหิตสูง และจะเกิดกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เนื่องจากอายุที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้การทำงานของไตลดลงไปด้วย

อาการที่บ่งบอกถึงการเป็นโรคไต
1. ปัสสาวะขุ่นหรือมีเม็ดเลือดแดงปะปนออกมา ซึ่งอาจเกิดจากอาการไตอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือการเป็นมะเร็งในระบบทางเดินปัสสาวะ
2. มีการขับถ่ายปัสสาวะจำนวนมากกว่า 3 ลิตรต่อวัน
3. มีการปัสสาวะบ่อยครั้งทั้งกลางคืน กลางวัน เจ็บแสบ และขัดเวลาปัสสาวะ
4. ปัสสาวะมีลักษณะเป็นฟอง ซึ่งบ่งบอกถึงภาวะมีโปรตีนปะปนมากับปัสสาวะ
5. มีอาการบวมบริเวณใบหน้า แขนขา ทั้งสองข้าง
6. มีอาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดเอว หรือหากกดหรือทุบด้านหลังจะมีอาการเจ็บ
7. มีอาการอ่อนเพลียง่าย เหนื่อยง่าย คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร คันตามตัว และผิวหนัง
8. อาการที่สำคัญที่สุดคือจะมีความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นอาการสำคัญที่บอกให้รู้ว่ามีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตได้ง่าย ควรได้รับการตรวจเช็คโดยเร็ว
9. พบภาวะความดันโลหิตสูง เนื่องจากไตไม่สามารถรักษาสมดุลของปริมาณเกลือแร่ในร่างกาย

การวินิจฉัยโรค
การตรวจยืนยันการเป็นโรคไตสามารถตรวจได้ตามแนวทางต่างๆ คือ
1. การตรวจปัสสาวะ เป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยในการวินิจฉัยอาการที่มาจากโรคไตหรือโรคในระบบทาง เดินปัสสาวะ เช่น โรคไตอักเสบ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือโรคไตอื่นๆ
2. การตรวจเลือด ถือเป็นแนวทางที่ใช้เพื่อวินิจฉัยโรคในโรคไตวายหรือโรคอื่นๆที่เกิดจากความ ผิดปกติของไต เช่น เมื่อมีอาการบวม และสงสัยว่าอาจเป็นโรคไตก็สามารถตรวจหาโรคด้วยวิธีการตรวจเลือดโดยไม่ต้องอด น้ำหรืออาหารแต่อย่างใด

วิธีการปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคไต
ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีน และโคเลสเตอรอลต่ำมากๆ งดรับประทานอาหารที่มีฟอสเฟตสูง จำพวกไข่แดง นม ถั่วลิสงฯ และที่สำคัญควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และเข้ารับการตรวจจากแพทย์เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง

แนวทางการป้องกันโรค
เราสามารถลดภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตได้ด้วยการควบคุมความดันโลหิตให้ อยู่ในเกณฑ์ปกติ และควบคุมไม่ให้เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งโรคทั้งสองชนิดนี้เป็นภาวะเสี่ยงมากต่อการเกิดโรคไต ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีคุณภาพโดยการลดอาหารรสเค็มเพิ่มผักผลไม้ในมื้ออาหาร งดบุหรี่และแอลกอฮอล์ทุกชนิด และเมื่อพบกลุ่มอาการเสี่ยงต่างๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ทันเวลา