โรคระบบทางเดินปัสสาวะ

19480

โรคระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะตั้งแต่ ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ มักพบมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา รวมถึงการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดหรือมีรสเค็มจัด

โรคที่เกิดขึ้นในระบบนี้ แบ่งตามอวัยวะ ได้แก่
1. โรคที่เกิดกับไต
– โรคไตวาย (renal failure)
– กรวยไตอักเสบแบบเฉียบพลัน (acute pyelonephritis)
– กรวยไตอักเสบแบบเรื้อรัง (chronic pyelonephritis)
– โรคปากท่อไตตีบ
– ฝีที่ไต (renal abscess)
– โรคนิ่วในไต (kidney stone disease, nephrolithiasis)
– โรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic Kidney Disease)

2. โรคที่เกิดกับท่อไต
– โรคนิ่วในท่อไต (Ureteric stone หรือ Ureteric calculi)
– ท่อปัสสาวะอักเสบ (urethritis)

ระบบทางเดินปัสสาวะ

3. โรคที่เกิดกับกระเพาะปัสสาวะ
– โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
– ปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Stress Urinary Lncontinence)
– โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

4. โรคที่เกิดกับท่อปัสสาวะ
– โรคหนองใน (Gonorrhea)
– โรคหนองเทียม (Chlamydia infection)

อวัยวะ และหน้าที่ในระบบทางเดินปัสสาวะ
1. ไต ทำหน้าที่ในการการกรองน้ำปัสสาวะจากเลือด และส่งไปที่กระเพาะปัสสาวะก่อนกำจัดออกจากร่างกายเป็นน้ำปัสสาวะ
2. ท่อไต เป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างไตกับกระเพาะปัสสาวะ ประกอบด้วยสองข้าง ฝั่งซ้าย และขวาของไตทั้งสองข้าง ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของน้ำปัสสาวะที่ผ่าการกรองจากไตเพื่อมาเก็บพักที่กระเพาะปัสสาวะ
3. กระเพาะปัสสาวะ เป็นอวัยวะที่เป็นถุงสำหรับเก็บพักน้ำปัสสาวะก่อนส่งกำจัดออกจากร่างกายผ่านท่อปัสสาวะ
4. ท่อปัสสาวะ เป็นทางผ่านของน้ำปัสสาวะ และน้ำอสุจิ ในที่นี้จะทำหน้าที่เป็นทางผ่านของน้ำปัสสาวะสำหรับการกำจัดออกจากร่างกาย

สาเหตุการเกิดโรค
1. การติดเชื้อต่างๆ อาทิ เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายด้านด้วยกัน ได้แก่
– การมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่สวมถุงยางอนามัย
– การใช้สิ่งของร่วมกันกับผู้ติดเชื้อ
– การใช้อุปกร์ที่เกี่ยวกับอวัยวะเพศไม่สะอาด เช่น การคุมกำเนิดด้วยฝาครอบปากมดลูก การใช้สายสวนปัสสาวะ เป็นต้น
2. การรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด
3. การรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่ไม่สะอาด มีสิ่งแปลกปลอม
4. การฟกช้ำจากการร่วมเพศ
5. การกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน และบ่อยครั้ง
6. ขาดการรักษาสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศ โดยเฉพาะผู้หญิงในช่วงที่มีประจำเดือน
7. ความผิดปกติจากกายภาพของอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะ

อาการที่แสดงถึงโรคระบบทางเดินปัสสาวะ
• ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะไม่สุด
• มีเลือดออกปนมาในปัสสาวะ
• มีหนองปนมากับปัสสาวะ
• ปัสสาวะมีกลิ่นหรือสีผิดปกติ อาจมีสีแดง ดำ สีขาวขุ่น ร่วมด้วยกับกลิ่นเหม็นของปัสสาวะ
• ปัสสาวะออกน้อย หรือไม่มีปัสสาวะ
• ปวดแสบเมื่อมีการปัสสาวะ
• มีอาการปวดหลังส่วนล่างบริเวณข้างลำตัว
• มีอาการปวดเมื่อย เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
• มีอาการปวดเมื่อย อ่อนเพลีย
• มักพบอาการแทรกซ้อนของโรคระบบหัวใจ หลอดเลือด และโรคระบบหายใจ อาทิ ความดันโลหิตสูง บวม แน่นหน้าอก หายใจลำบาก

การรักษา
• โรคที่เกิดจากการติดเชื้อจะรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ
• การผ่าตัด และการฉายรังสี

การป้องกัน
• ควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
• หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีตะกอนพวกแคลเซียม
• หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด
• หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน
• ใส่การรักษาสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศเป็นประจำ
• มั่นตรวจสุขภาพทุกปี โดยเฉพาะคู่สามี-ภรรยา