การรักษาพิษเห็ด

16501

การรักษาอาการที่เกิดจากรับประทานเห็ดพิษชนิดต่างๆนั้น เมื่อรู้ว่ารับประทานเห็ดพิษเข้าไปให้รีบทำอาเจียน และนำผู้ป่วยเข้าพบแพทย์โดยทันที แพทย์จะทำการล้างท้องเพื่อเอาสิ่งที่รับประทานเข้าไปในท้องออกมาให้หมด เพื่อป้องกันการย่อย และดูดซึมสารพิษเข้าสู่ระบบกระแสเลือด

ข้อระวังในการรับประทานเห็ด
1. การรับประทานอาหารที่มีเห็ดมากอาจทำให้เกิดอาหารเป็นพิษเนื่องจากเห็ดเป็นอาหารที่ย่อยยาก นอกจากนั้น การประกอบอาหารจากเห็ดควรคัดเลือกเห็ดสดเท่านั้น ส่วนเห็ดเน่าให้คัดแยกออก
2. ไม่ควรรับประทานอาหารที่ปรุงจากเห็ดแบบสุกๆดิบๆหรือรับประทานเห็ดดิบ เพราะเห็ดบางชนิดมีพิษแบบอ่อนที่ไม่ทำให้เกิดอาการป่วยอย่างกะทันหัน หากรับประทานเห็ดดิบหรือไม่ผ่านความร้อนอาจเกิดการสะสมของสารพิษในระยะยาวทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกายได้
3. ผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ โดยเฉพาะภูมิแพ้ต่อเห็ด ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีเห็ดเป็นส่วนประกอบ
4. ไม่ควรรับประทานเห็ดพร้อมกับดื่มเหล้า เพราะเห็ดบางชนิดอาจมีสารที่สามารถทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ทำให้เกิดความเป็นพิษหรือเห็ดที่มีพิษน้อยอาจเกิดความเป็นพิษสูงเมื่อสัมผัสกับแอลกอฮอล์ได้

พิษจากเห็ด

การป้องกันอันตรายจากเห็ดพิษ
1. ควรทำความเข้าใจ และจดจำลักษณะชนิดของเห็ดที่มีพิษชนิดต่างๆ โดยเฉพาะชนิดที่มีพิษถึงเสียชีวิต เช่น เห็ดระโงกพิษ เห็ดไข่ตายซาก เป็นต้น ซึ่งมีข้อสังเกตเห็ดระโงกที่รับประทานได้จะมีลักษณะของขอบหมวกจะเป็นริ้วคล้ายรอยหวี มีกลิ่นหอม ก้านดอกกลวง ส่วนเห็ดระโงกที่เป็นพิษ กลางดอกจะนูนขึ้นเล็กน้อย ปอกหุ้มโคนจะติดกับก้านดอก ก้านดอกมีลักษณะตัน กลิ่นไม่หอมเหมือนเห็ดที่รับประทานได้  ดอกเห็ดมีมีหลายสี ตั่งแต่ ขาว เขียว เทา เหลือง เป็นต้น
นอกจากนั้นยังมีเห็ดพิษที่ไม่รุนแรง แต่ทำให้เกิดอาการป่วยไข้เพียงเล็กน้อยเมื่อรับประทานเข้าไป เช่น เห็ดคันจ้อง เห็ดเชียงร่ม เป็นต้น
2. ไม่จับ ดม และรับประทานเห็ดที่สงสัยหรือไม่แน่ใจว่าเป็นเห็ดชนิดใด หากหยิบจับควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง หากต้องการทราบให้แน่ชัด ให้ทำการทดสอบตามแนวทางอย่างง่าย

ลักษณะเด่นของเห็ดพิษที่พบปล่อย
1. เห็ดที่มีดอกเห็ดเป็นสีน้ำตาล
2. เห็ดที่มีหมวกเห็ดสีขาว
3. เห็ดที่มีปลอกหุ้มโคน
4. เห็ดที่มีวงแหวนใต้หมวก
5. เห็ดที่มีโคนอวบใหญ่
6. เห็ดที่มีปุ่มปม
7. เห็ดที่มีลักษณะคล้ายสมองหรืออานม้า
8. เห็ดที่ขึ้นตามมูลสัตว์หรืออยู่ใกล้มูลสัตว์
9. เห็ดที่มีหมวกเห็ดเป็นรูปๆ ไม่มีลักษณะเป็นช่องคล้ายคีบปลา

ข้อแนะนำสำหรับการเก็บเห็ด
1. การเก็บเห็ดอาจใช้หนังสือเห็ดหรือคู่มือเกี่ยวกับเห็ดประกอบร่วมด้วยเพื่อความมั่นใจ
2. การเก็บเห็ดต้องทำการเก็บทุกส่วนของเห็ดทั้งส่วนที่อยู่ใต้ดิน เพื่อสามารถมองเห็น และตัดสินใจเกี่ยวกับประเภทของเห็ดได้อย่างถูกต้อง
3. หลีกเลี่ยงการเก็บเห็ดที่อ่อนเกินไป ยกเว้นจะมั่นใจว่าเห็ดชนิดนั้นสามารถรับประทานได้ เพราะหากเป็นเห็ดระยะแรกอาจไม่พบส่วนประกอบของเห็ดที่สมบูรณ์ ทำให้ยากต่อการแยกแยะชนิดเห็ดได้ยาก
4. ไม่ควรเก็บเห็ดหลังจากฝนตกใหม่ๆ เพราะเห็ดบางชนิดเมื่อถูกฝนจะทำให้สีของหมวกเห็ดซีดจางได้
5. ไม่ควรเก็บเห็ดที่เกิดหรืออยู่ใกล้แหล่งมลพิษ แหล่งสารพิษ เพราะเห็ดมีความสามารถในการดูดซับสารพิษได้

การปฐมพยาบาลผู้ได้รับพิษจากเห็ด
หากผู้ป่วยรับประทานเห็ดพิษเข้าไปแล้วมักจะแสดงอาการของความเป็นพิษทีหลังนานหลายชั่วโมง ซึ่งเมื่อเกิดอาการจำเป็นต้องรู้จักวิธีปฐมพยาบาลผู้ป่วยให้ถูกต้องก่อนนำส่งแพทย์

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อรู้ว่ากินเห็ดพิษเข้าไปหรือเมื่อมีอาการ จะต้องทำให้ผู้ป่วยอาเจียนอาหารออกมาให้มากที่สุด พร้อมกับดื่มน้ำอุ่นผสมถ่านบดละเอียดร่วมกับทำอาเจียน 2-3 ครั้ง หากผู้ป่วยอาเจียนยากให้ผสมเกลือแกงกับน้ำอุ่นดื่มด้วยจะทำให้อาเจียนง่ายขึ้น พร้อมรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที

การรักษาโดยแพทย์หลังการวินิจฉัยพิษ จำแนกตามกลุ่มพิษ
1. สารพิษ Amanitin และHelvellic Acid
– การใช้ Antiphalloid Serumหรือ Antidote
– การถ่ายพิษโดยวิธี Hemodialysis หรือการใช้ยา Penicillin-G ร่วมกับ Choramphenicol ร่วมกับ Sulphamethoxazole ช่วยในการขับถ่ายสารพิษออก
2. สารพิษ Muscarine โดยใช้วิธี Antidote โดยการฉีด Atropine Sulphate ครั้งละ 0.5-1.0 มิลลิกรัม เข้าหลอดเลือดดำ
3. สารพิษ Gyromitrin จะใช้วิธีการเพิ่มวิตามิน B6 ขนาด 250 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน เข้าทางหลอดเลือดดำ