กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ

27997

กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ คือ หลักธรรมสำหรับการบริหารจัดการครอบครัวให้เจริญ และมั่งคั่ง ด้วยแนวทางปฏิบัติที่ช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของครอบครัวอันจะนำมาสู่ความสุข ความเจริญ และมั่นคง ประกอบด้วยหลักธรรม 4 ประการ คือ
1. นัฏฐคเวสนา
นัฏฐคเวสนา คือ การรู้จักหา รู้จักค้นหา ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องมือ สิ่งของทุกอย่างที่หายไปให้กลับคืนมา สิ่งของที่หายไปนั้น หมายถึง สิ่งของที่หายไปจากที่ซึ่งเคยอยู่เป็นประจำ ซึ่งหากหาสิ่งที่หายไปเหล่านั้นได้ ย่อมทำให้ไม่ต้องไปซื้อหามาใหม่ ซึ่งประกอบด้วยลักษณะการหาย ดังนี้
– ตนเองลืมไว้ที่อื่น
– ตนเองทำหาย
– ผู้อื่นหยิบฉวยไปใช้
– ผู้อื่นลักขโมยไป

2. ชิณณปฏิสังขรณา
ชิณณปฏิสังขรณา คือ การรู้จักซ่อมแซมสิ่งของที่ชำรุด ใช้งานไม่ได้ให้กลับมาใช้งานใหม่ ซึ่งอาจซ่อมด้วยตนเองหรือให้ผู้อื่นซ่อม เพราะหากซ่อมแซมใช้การได้ ย่อมที่จะไม่ต้องซื้อใหม่ให้สิ้นเปลืองทรัพย์เงินทองโดยไม่จำเป็น สิ่งของที่ควรซ่อม ได้แก่
– สิ่งของที่ชำรุดแต่ใช้งานไม่ค่อยดี
– สิ่งของชำรุดใช้งานไม่ได้

3. ปริมิตปานโภชนา
ปริมิตปานโภชนา คือ ความประมาณตนในการอุปโภค และบริโภคไม่ให้ใช้หรือกินเกินความจำเป็น หากใช้เกินหรือกินเกิน ย่อมเกิดความฟุ่มเฟือยโดยเปล่า หรือ เรียกอีกนัย คือ การประยัด การประมาณตนหรือการประหยัดนั้น แบ่งได้ดังนี้
– การประมาณตน/การประหยัดในการอุปโภค คือ รู้จักประมาณตนในการใช้จ่าย การใช้สิ่งของต่างๆ
– การประมาณตน/การประหยัดในการบริโภค คือ รู้จักประมาณตนในการรับประทานอาหารต่างๆ

4. อธิปัจจสีลวันตสถาปนา
อธิปัจจสีลวันตสถาปนา คือ สามี และภรรยา พึงเป็นผู้ดำรงอยู่ในศีลธรรมอยู่เป็นนิจ โดยศีลพื้นฐาน คือ ศีล 5 และให้ยังกุศลที่ยังไม่เกิดให้พึงเกิด ให้รักษากุศลที่เกิดแล้วให้ดำรงอยู่ และให้ส่งเสริมกุศลที่เกิดแล้วให้เจริญยิ่งขึ้นไป

กุลจิรัฏฐิติธรรม