การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน และการตรวจสุขภาพก่อนมีบุตร

12203

การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน และการตรวจสุขภาพก่อนมีบุตร เป็นการเตรียมความพร้อมทางด้านสุขภาพทั้งสามี และภรรยา เพื่อตรวจสอบสุขภาพ และตรวจหาโรคแทรกซ้อนต่างๆที่อาจมีอยู่ในทั้งสองคนก่อนที่จะแต่งงานหรือการมีบุตร ทั้งนี้เพื่อความมั่นใจของทั้งสองฝ่ายถึงความเสี่ยงจากโรคต่างๆที่อาจแพร่สู่อีกฝ่ายหรือบุตรที่จะคลอดออกมา จึงเป็นการตรวจเพื่อวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อให้เกิดความมั่นใจถึงความเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังการแต่งงาน
2. เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากพ่อแม่หรืออีกฝ่ายไปสู่อีกฝ่ายหรือไปสู่บุตร
3. เพื่อทราบถึงภาวะสุขภาพของพ่อและแม่ก่อนการมีบุตร โดยเฉพาะผู้เป็นแม่ที่ต้องทราบถึงสุขภาพตัวเองก่อนการตั้งครรภ์
4. เพื่อเป็นแนวทางในการวาางแผนครอบครัว และการมีบุตรในอนาคต

โดยส่วนมากการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน และการตรวจสุขภาพก่อนมีบุตรตามสถานโรงพยาบาลต่างๆจะมีรายการตรวจที่คล้ายคลึงกัน แต่อาจแตกต่างๆกันในแต่ละแห่ง ทั้งนี้ผู้ตรวจสามารถเลือกตรวจตามโปรแกรมการตรวจที่ทางโรงพยาบาลเตรียมไว้หรืออาจเพิ่มหรือลดตามความต้องต้อง โดยขึ้นอยู่กับความพร้อมในเรื่องการแพทย์ และเครื่องมือของโรงพยาบาลเอง ซึ่งแน่นอนว่าราคาในแต่ละสถานพยาบาลย่อมแตกต่างกันไป ทั้งที่รายการตรวจเหมือนกันหรือแตกต่างกันตรวจสุขภาพก่อนแต่ง

โดยสรุปรายการตรวจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพก่อนแต่งงาน และก่อนมีบุตรจะประกอบด้วยดังนี้

1. การซักประวัติ และตรวจร่างกายเบื้องต้นโดยแพทย์  (Physical examination) อาทิ การตรวจประวัติ การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดชีพจร และความดันโลหิต
2. การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
3. การตรวจวัดขนาดเม็ดเลือดแดง (MCV)
4. การตรวจหมู่เลือด (ABO Group for Hematology)
5. การตรวจหมู่เลือด Rh (Rh Group)
6. ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (Complete Blood Count)
7. ตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางธาลัสซีเมีย (Hemoglobin Typing)
8. ตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิส (VDRL)
9. การตรวจหาโรคธาลัสซีเมีย (DCIP)
10. ตรวจหาเชิ้อไวรัสเอดส์ (HIV)
11. การตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg)
12. การตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Anti-HBs)
13. การตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (Anti HCV)
14. ตรวจหาภูมิต้านทานหัดเยอรมัน (Rubella IgG) (ตรวจเฉพาะเพศหญิง)
15. การตรวจปัสสาวะ (Urine analysis)

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ
ในการตรวจบางรายการจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวของผู้ตรวจก่อนเข้ารับการตรวจ เพื่อป้องกันผลการตรวจที่อาจคาดเคลื่อนได้ เช่น การตรวจเลือดต่างๆ ซึ่งทางโรงพยาบาลจะแจ้งให้ผู้รับการตรวจเตรียมตัว ดังนี้
– ควรงดอาหารหรือเครื่องดื่ม ยกเว้นน้ำ ก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
– ในการติดต่อแพทย์ให้นำสมุดบันทึกหรือผลการตรวจในครั้งก่อนหรือผลการตรวจจากสถานพยาบาลอื่นมาด้วยเพื่อยื่นต่อแพทย์ประกอบการวินิจฉัย
– ให้งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 3 วัน
– สำหรับเพศหญิงที่เป็นประจำเดือนควรงดการตรวจ และควรให้หมดประจำเดือนก่อนเข้ารับการตรวจ