ทิศ 6 และแนวทางปฏิบัติ

177658

ทิศ 6 หรือมักเรียก ทิศทั้ง 6 หมายถึง บุคคล 6 ส่วน ที่เกี่ยวข้องกับตัวเราในสังคม และการดำเนินชีวิต ได้แก่
1. ปุรัตถิมทิส หมายถึง ทิศเบื้องหน้า คือ บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย และผู้มีอุปการะอื่นๆที่เลี้ยงดูเรามาในเบื้องหน้า
2. ทักขิณทิส หมายถึง ทิศเบื้องขวา คือ ครูบาอาจารย์ที่พร่ำสอนวิชาในเบื้องขวา
3. ปัจฉิมทิส หมายถึง ทิศเบื้องหลัง คือ บุตร ผู้เป็นทาญาติ ภรรยา และสามี ผู้เป็นคู่ชีวิต ที่คอยให้กำลังใจในเบื้องขวา
4. อุตตรทิส หมายถึง ทิศเบื้องซ้าย คือ มิตรสหายที่คอยช่วยเหลือครั้นเมื่อตกทุกข์ได้ยากในเบื้องซ้าย
5. อุปริมทิส หมายถึง ทิศเบื้อล่าง คือ บริวารหรือผู้รับใช้ที่คอยปรนนิบัติในเบื้องล่าง
6. เหฏฐิมทิส หมายถึง ทิศเบื้องบน คือ สามเณร ภิกษุ ภิกษุณีผู้มีศีลอันสูงกว่าที่คอยพร่ำสอนธรรมในเบื้องบน

ความสำคัญ และแนวทางปฏิบัติต่อทิศทั้ง 6
1. ทิศเบื้องหน้า (บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย)
ทิศเบื้องหน้า ในตำราแต่ก่อนระบุเพียงบิดามารดาผู้ที่ให้กำเนิด และเลี้ยงดูส่งเสียเรามาจนเติบใหญ่ แต่ในความจริงแล้วทิศเบื้องหน้ายังหมายถึงบุคคลอื่นที่คอยอุปการะเลี้ยงดูเราให้เติบใหญ่ นั่นหมายความรวมถึงปู่ย่า ตายายหรือบุคคลอื่นที่เป็นญาติเราด้วยเช่นกัน เพราะสังคมปัจจุบันนี้ ทิศเบื้องหน้าที่เป็นบิดามารดาอาจไม่ใช่ผู้ที่คอยเลี้ยงดูส่งเสียเราให้เติบใหญ่ก็ได้ ดังนั้นแล้ว ผู้ที่มีอุปการะต่อการเลี้ยงดูส่งเสียเราจึงจัดเป็นผู้ที่อยู่ในทิศเบื้องหน้าด้วยเช่นกัน

ทิศเบื้องหน้า

ทิศเบื้องหน้ามีอุปการะต่อเรา คือ
1. เลี้ยงดูให้เติบใหญ่
2. อบรมสั่งสอนไม่ให้ประพฤติชั่ว
3. อบรมสั่งสอนให้กระทำแต่ความดี
4. อบรมให้ความรู้ ให้ปัญญา
5. อุปการะทรัพย์สิน เงินทอง
6. ส่งเสียให้สำเร็จการศึกษา
7. หาคู่ครองอันเหมาะสมให้ (ข้อนี้ปัจจุบันมีบทบาทน้อยมาก เพราะส่วนมากเป็นการตัดสินใจของคู่สามีภรรยากันเอง)
– ฯลฯ

แนวทางปฏิบัติต่อทิศเบื้องหน้า
1. พึงอุปการะเลี้ยงดูท่านเมื่อยามแก่เฒ่า
2. ดำเนินในกุศลธรรม และอุทิศส่วนบุญให้แก่ท่านเมื่อล่วงลับไปแล้ว
3. ช่วยกิจการงานของท่านอย่างมั่นเพียร
4. ประพฤติตน และดำรงอยู่ในศีลธรรมอันงาม รักษาชื่อเสียงวงศ์ตระกูลอยู่เป็นนิจ
5. ใช้ทรัพย์ที่ท่านมอบให้อย่างรู้เห็นคุณค่า
– ฯลฯ

2. ทิศเบื้องขวา (ครูบาอาจารย์)
ทิศเบื้องขวา คือ ครูบาอาจารย์ที่เป็นผู้สอนหนังสือวิชาในวัยเรียน นอกจากนั้น ยังหมายรวมถึงบุคคลต่างๆที่คอยสอน คอยอบรม ให้ความรู้แก่เราที่มิใช่ผู้สอนในห้องเรียนด้วยเช่นกัน

ครูอาจารย์

ทิศเบื้องขวาอุปการะต่อเรา คือ
1. ฝึกฝนให้เป็นคนดี ไม่ประพฤติในความชั่ว
2. อบรม สอนวิชาให้รู้แจ้ง
3. ให้วิชา และแนะแนวทางดำเนินชีวิต
4. ยกย่องเมื่อเป็นเลิศในวิชาแก่หมู่ชน
– ฯลฯ

แนวทางปฏิบัติต่อทิศเบื้องขวา
1. ให้ความเคารพต่อครูบาอาจารย์
2. เชื่อฟังในคำสอน
3. คอยช่วยกิจการงานสอน
4. บำรุงท่าน บำรุงสถานศึกษาตามโอกาส
– ฯลฯ

3. ทิศเบื้องหลัง (บุตร ภรรยา และสามี)
ทิศเบื้องหลัง คือ บุตร ผู้เป็นทาญาติสืบสายโลหิต และภรรยา และสามี ผู้เป็นคู่ชีวิต บุคคลเหล่านี้ เป็นคนสำคัญที่คอยให้การสนับสนุน คอยส่งเสริม และให้กำลังใจอยู่เบื้องหลัง นอกจากนั้น ยังหมายรวมถึงบุคคลที่อยู่ในทิศอื่นๆที่มิใช่บุตร ภรรยา และสามี แต่ปฏิบัติตนคอยอุปการะเสมือนเป็นบุตร ภรรยาหรือสามี อาทิ ปู่ย่า ตายาย คูบาอาจารย์ เป็นต้น

ทิศเบื้องหลัง

ทิศเบื้องหลังผู้เป็นภรรยาที่มีอุปการะต่อเรา และควรปฏิบัติต่อเรา คือ
1. ไม่ประพฤตินอกใจ
2.ไม่ดูหมิ่นในวงศ์ตระกูลของสามี
3. จัดการงานเรือนให้ครบพร้อม
4. ต้อนรับขับสู้ญาติมิตรแขกเรื่อ
5. ช่วยรักษาทรัพย์ของสามีให้คงอยู่
6. ช่วยแบ่งเบาภาระในการงาน
7. คอยให้การสนับสนุน และเป็นกำลังใจ
– ฯลฯ

ทิศเบื้องหลังผู้เป็นสามีที่มีอุปการะต่อเรา และควรปฏิบัติต่อเรา คือ
1. ไม่ประพฤตินอกใจ
2. เป็นผู้นำ และเสาหลักของครอบครัว ทั้งในการหาทรัพย์ และเลี้ยงดูครอบครัว
3. ไม่ดูหมิ่นในวงศ์ตระกูลของสามี
4. ปกป้องเราเมื่อยามมีภัย
5. นำเราไปสู่ความเจริญ
6. คอยเป็นกำลังใจ และส่งเสริมในกิจการงานที่ดี
7. มอบความรัก และมอบเครื่องอาภรตามวาระโอกาส
– ฯลฯ

ทิศเบื้องหลังผู้เป็นบุตรที่มีอุปการะต่อเรา และควรปฏิบิติต่อเรา คือ
1. สืบทอดสายเลือด และดำรงวงศ์ตระกูลให้คงอยู่
2. ดูแลเราในยามแก่เฒ่า
3. ช่วยในกิจการงานให้รุ่งเรือง
4. ช่วยแบ่งเบาภาระในงานเรือน
5. เป็นดวงใจคอยประสานแก่บิดามารดา
– ฯลฯ

4. ทิศเบื้องซ้าย (มิตรสหาย)
ทิศเบื้องซ้าย คือ มิตรสหายทั้งที่เป็นมิตรสหายร่วมทุกข์ร่วมสุข หรือ มิตรสหายในการงาน บุคคลเหล่านี้เป็นผู้คอยช่วยเหลือในยามประสบปัญหา และอุปสรรค คอยช่วยเหลือเกื้อกูล ดึงรั้งมือให้พ้นจากสิ่งเหล่านั้น

ทิศเบื้องซ้ายมีอุปการะต่อเรา คือ
1. เป็นผู้คอยช่วยเหลือเกื้อกูลเรา
2. เป็นผู้คอยช่วยเหลือเราในยามตกทุกข์ได้ยาก
3. เป็นผู้ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะในทุกด้าน
– ฯลฯ

แนวทางปฏิบัติของผู้นำต่อทิศเบื้องซ้าย
1. ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
2. วางตนให้สม่ำเสมอต่อกัน ไม่ข่มเหงรังเกมิตร
3. คอยช่วยเหลือเกื้อกูลเมื่อมิตรตกทุกข์ได้ยาก
4. ให้ความเป็นมิตรที่จริงใจ ทั้งกาย วาจา และใจ
– ฯลฯ

5. ทิศเบื้อล่าง (บริวารหรือผู้รับใช้)
ทิศเบื้อล่าง คือ ผู้ที่เป็นบริวารที่คอยรับใช้หรือทำกิจให้เรา รวมถึงผู้ใต้บังคับบัญชาของเราด้วยเช่นกัน บริวารเหล่านี้ ได้แก่ ผู้รับใช้ คนงาน ผู้ที่มีตำแหน่งต่ำกว่า เป็นต้น ดังนั้น บุคคลเหล่านี้ จึงถือว่าเป็นผู้ ที่อยู่ด้านล่างภายใต้การปกครองหรือการบังคับบัญชาของเรา

โลกธรรม

ทิศเบื้องล่างมีอุปการะต่อเรา คือ
1. เป็นผู้คอยช่วยเหลือกิจการงาน
2. เป็นผู้แสวงหาทรัพย์ และลาภมาสู่ตน
3. ปกป้อง คุ้มภัยให้แก่ตน
4. คอยดูแลทรัพย์สินให้แก่ตน
– ฯลฯ

แนวทางปฏิบัติของผู้นำต่อทิศเบื้องล่าง
1. จัดการงานให้เหมาะสมแก่คน และแก่งาน
2. ให้ความเป็นธรรมแก่บริวารทั้งปวง
3. มอบค่าตอบแทนด้วยความเป็นธรรม
4. มอบอาหาร และน้ำดื่มอย่างสม่ำเสมอ
5. ให้รางวัลเพื่อเป็นกำลังใจเป็นนิจ
6. ไม่เอารัดเอาเปรียบในทุกด้าน
7. รักษาพยาบาลเมื่อเกิดยามเจ็บไข้
– ฯลฯ

แนวทางปฏิบัติของบริวารต่อผู้นำ
1. มาทำงานรับใช้อย่างสม่ำเสมอ
2. มีความขยันมั่นเพียร และคอยรับใช้หรือทำกิจให้ด้วยความจริงใจ
3. มีความชื่อสัตย์ ไม่คดโกงผู้เป็นนาย
4. ให้ความเคารพ และเชื่อฟังในคำสั่ง
5. แสวงหาแต่ประโยชน์ให้แก่ท่าน
– ฯลฯ

6. ทิศเบื้องบน (สามเณร ภิกษุ ภิกษุณี)
ทิศเบื้องบน คือ ผู้ที่รักษาศีลมากกว่าเรา ซึ่งเราในที่นี้หมายถึงฆราวาสที่ไม่ใช่นักบวช ผู้ที่รักษาศีลที่สูงกว่านี้ ได้แก่ สามเณร ภิกษุ ภิกษุณี (ภิกษุณีปัจจุบันไม่มีการบวชให้แล้ว) จึงถือเป็นผู้ที่ควรแก่การสักการะให้เหนือกว่าตน

ทิศเบื้องบน

ทิศเบื้องบนมีอุปการะต่อเรา คือ
1. เป็นผู้สั่งสอนธรรมให้รู้แจ้ง
2. เป็นผู้ยังซึ่งกุศลกรรมให้เกิดแก่เรา ให้เกิดแก่ญาติมิตร ให้เกิดแก่ผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไป
3. เป็นให้ข้อเสนอแนะแนวทางต่อความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
4. ช่วยค้ำชูให้เราดำรงอยู่ในศีลธรรม ป้องกันมิให้ตกอยู่ในอบายมุข
– ฯลฯ

แนวทางปฏิบัติต่อทิศเบื้องบน
1. ให้ทานทรัพย์สิน อาหาร และปัจจัยอื่นๆแก่ท่าน
2. ช่วยเผยแพร่ และทะนุบำรุงพระศาสนาให้ดำรงอยู่
3. ก่อสร้าง และบำรุงอาคารสถานให้เพียงพอ และคงอยู่ยืนยาวในพระศาสนา
4. นำพระธรรม คำสอนมาปฏิบัติอยู่เป็นนิจ
– ฯลฯ