สายตาสั้น การแก้ไข และการรักษา

8951

สายตาสั้น เป็นความผิดปกติของดวงตาที่พบมากเมื่อเทียบกับสายตายาว และสายตาเอียงที่เกิดจากความไม่พอดีของการหักเหแสงจากลูกตาที่มีขนาดใหญ่ หรือกระจกตาโค้งมากเกินไปทำให้ภาพไม่โฟกัสบนชั้นจอตาทำให้มองเห็นภาพไม่ ชัดเจน ภาพมัวเลือนรางตามมา

การมองเห็น เกิดจากแสงที่สะท้อนออกจากวัตถุเดินทางผ่านกระจกตา ของเหลวหน้าเลนส์ตา รูม่านตา เลนส์ และวุ้นหลังเลนส์ โดยแสงหลังผ่านเลนส์ตาแล้วมีลักษณะรวมเป็นจุดเดียวเข้ากระทบบริเวณจุดโฟกัส ที่มีเซลล์ประสาทรับแสงจำนวนมาก แล้วแปรเปลี่ยนเป็นกระแสประสาทส่งเข้าสู่สมองส่วนกลางเพื่อประมวลผลออกมา เป็นภาพ

สายตาสั้น

โครงสร้างดวงตา
ดวงตาเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่สำหรับการมองเห็น มีลักษณะเป็นทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร หรือครึ่งหนึ่งของความยาวเบ้าตา โดยฝังอยู่ทางครึ่งหน้าของเบ้าตา ส่วนช่องทางครึ่งหลังของเบ้าตาจะเป็นชั้นไขมันเพื่อป้องกันจากการถูกกระทบ กระเทือน

ด้านหน้าของดวงตาเป็นทางสำหรับแสงที่กระทบจากวัตถุผ่านผ่าน เข้าไปเพื่อกระตุ้นเซลล์บริเวณชั้นในของดวงตาเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงาน กระแสประสาท แล้งส่งต่อเข้าสู่สมองส่วนกลางเพื่อแปลผลต่อไป

eyes

ดวงตาประกอบด้วย 3 ชั้น
1. ผนังชั้นนอก
ผนังชั้นนอกประกอบด้วยตาขาว (sclera) และกระจกตา (cornea) โดยตาขาวห่อหุ้มลูกตาที่มีพื้นที่ประมาณ 5 ใน 6 ส่วน ของดวงตาชั้นนอก ส่วนกระจกตาอยู่ด้านหน้า มีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วน ของดวงตาชั้นนอก ติดอยู่กับบริเวณตาขาว มีลักษณะนูนโค้งไปข้างหน้าเล็กน้อย มีกระจกตาใสคล้ายแก้ว ไม่มีสี ซึ่งจะเป็นส่วนที่ใสบริเวณตรงกลางลูกตาดำ

2. ผนังชั้นกลาง
ผนังชั้นกลางประกอบด้วยส่วนของคอรอยด์ (choroid) ซิเลียริบอดี (ciliary body) และม่านตา (iris) โดยส่วนของคอรอยด์เป็นแผ่นเยื่อบางๆ มีสีน้ำตาลเข้ม วางติดกับพื้นที่ของตาขาว เป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงมาก และมีเซลล์ที่สร้างสารสีแทรกตัวระหว่างหลอดเลือดจำนวนมาก จนมองเห็นมีสีดำทึบ ซึ่งช่วยป้องกันการสะท้อนของแสงที่ผ่านเข้าไป

ส่วนซิเลียริบอดี เป็นก้อนเนื้อรูปทรงสามเหลี่ยม แทรกตัวอยู่ระหว่างคอรอยด์กับม่านตา ทางด้านหน้ามีแขนงเล็กๆยื่นออกไป และมีเอ็นขึงเลนส์ยื่นออกจากแขนงเหล่านั้นที่ยึดติดกับแคปซูลหุ้มเลนส์ โดยกล้ามเนื้อซิเลียบอดีมีการคลายตัว และหดตัวที่มีผลต่อการหย่อนหรือตึงของเอ็นขึงเลนส์ ทำให้เลนส์โป่งหรือแบนได้ เพื่อช่วยในการโฟกัสหาตำแหน่งการตกของแสงที่เหมาะสมที่สะท้อนจากวัตถุ จากระยะใกล้หรือระยะไกลหรือการโฟกัสภาพนั่นเอง

ม่านตา เป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากด้านหน้าของซิเลียบอดี อยู่หน้าเลนส์ และหลังกระจกตา มีส่วนปลายเป็นขอบอิสระ หากเรามองผ่านดวงตาคนอื่นจะเห็นม่านตานี้มีลักษณะคล้ายเหรียญสตางค์แดง และมีรูตรงกลางเล็กๆ เรียกว่า รูม่านตา สำหรับเป็นช่องทางผ่านแสงเข้าสู่ดวงตาชั้นใน

3. ผนังชั้นใน/ชั้นจอตา
เป็นชั้นเซลล์ประสาททำหน้าที่รับแสง และเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานกระแสประสาท ประกอบด้วย
• จุดบอด (blind spot) เป็นตำแหน่งขั้นเส้นประสาท มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 มิลิลเมตร เป็นตำแหน่งที่ไม่มีเซลล์รับแสง ไม่สามารถรับภาพได้
• จุดโฟเวีย (flovea centralis) มีลักษณะเป็นแอ่งขนาดเล็ก มีสีเหลือง อยู่บริเวณกลางจอตา ห่างจากจุดบอดมาทางออกมาด้านนอกประมาณ 1/12 นิ้ว ทำหน้าที่เป็นจุดศูนย์กลางของการมองเห็นที่ทำให้เห็นภาพชัดที่สุด เนื่องจากบริเวณนี้มีเซลล์ประสาทรับแสงมาก

นอกจากนั้น ภายในลูกตายังมีโครงสร้างอื่นที่สำคัญที่ช่วยในการหักแหแสงให้โฟกัสลงชั้นใน ตา ได้แก่ สารเหลวที่มีลักษณะเป็นวุ้นที่อยู่ในช่องถัดจากเลนส์ตา โดยมีการสร้าง และดูดซึมออกตลอดเวลา

ส่วนเลนส์ มีลักษณะเป็นก้อนผลึกใส มีขอบโค้งทั้งด้านหน้า และด้านหลัง สามารถยืดหยุ่นได้ และถูกหุ้มด้วยแคปซูลที่ยืดหดตัวได้ และถูกยึดด้วยเอ็นขึงเลนส์ให้ติดกับซิเลียบอดี ทำหน้าที่ในการหักแห และรวมแสงให้โฟกัสลงในตำแหน่งจุดโฟเวียของชั้นจอตา ช่วยให้ตามองเห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น

สาเหตุ และอาการสายตาสั้น
สายตาสั้นเป็นโรคที่เกิดตามวัย และเป็นโรคที่เกิดจากกรรมพันธุ์ โดยมีสาเหตุมาจากการเสื่อมหรือเกิดความผิดปกติของอวัยวะภายในลูกตา เช่น กระจกตา และเลนส์ตา เป็นต้น

แก้ไขสายตาสั้น

การแก้ไข และการรักษา
การแก้ไขสายตาสั้นจะใช้วิธีการสวมแว่นตาที่ทำมาจากเลนส์เว้า ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมสำหรับคนสายตาสั้นทั่วไปในปัจจุบัน เนื่องจาก มีค่าใช้จ่ายต่ำ และช่วยให้มองเห็นใกล้เคียงกับสภาพตาปกติโดยที่ไม่ต้องผ่าตัดลูกตา แต่เป็นวิธีการแก้ไขชั่วคราวเท่านั้น

การรักษา เป็นวิธีการผ่าตัดเพื่อตัดหรือปรับเปลี่ยนบางส่วนของอวัยวะภายในลูกตา เช่น การผ่าลอกกระจกตาให้บางลง และการปรับเปลี่ยนเลนส์ตา เป็นต้น

ปัจจุบัน การผ่าตัดเพื่อรักษาผู้ป่วยสายตาสั้น นิยมใช้วิธีที่เรียกว่า เลสิค (Lasik) Laser Assited in Situ Keratomileusis ซึ่งเป็นวิธีการรักษาสายตาสั้นแบบถาวร ด้วยการปรับรูปร่างกระจกตาให้มีความโค้งลดลง เพื่อให้มีการกระจายแสงไปที่ชั้นจอตาได้พอดี โดยใช้เครื่องฝานกระจกตา (microkeratome) และเครื่องเลเซอร์ (excimer laser) ทั้งนี้ องค์กรอาหาร และยาของสหรัฐอเมริกากำหนดให้วิธีการผ่าตัดรักษาสายตาสั้นนี้สามารถทำการผ่า ตัดในผู้ป่วยที่มีสายตาสั้นไม่เกิน -14.00 diopters และสายตาเอียงไม่เกิน 5 diopters และต้องมีความหนาของกระจกตาเหลือไม่น้อยกว่า 250 ไมโครเมตร

ก่อน ผ่าตัด แพทย์จะทำการซักประวัติเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วย และตรวจตาอย่างละเอียด เมื่อถึงกำหนดการผ่าตัด แพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนหงายใต้กล้องผ่าตัด หลังจากนั้นจะทำความสะอาดรอบดวงตา และหยอดยาชา พร้อมใส่เครื่องมือถ่างตา แล้วใช้เครื่องฝานกระจกตาเปิดแยกชั้นบนของกระจกตาออกบางส่วน และพบไว้ด้านข้าง หลังจากนั้น แพทย์จะยิงเลเซอร์บนชั้นกระจกตาเพื่อปรับรูปให้ได้ความหนา และความโค้งที่เหมาะสม ก่อนจะปิดแผ่นกระจกตาไว้ตามเดิม

หลังจากการผ่า ตัด แพทย์จะหยอดยาปฏิชีวนะ ยาสเตียรอยด์ และน้ำตาเทียม ใส่ที่ครอบตา ซึ่งวันต่อมาแพทย์จะนัดตรวจตาทุกวัน จนกระทั่งผิวกระจกตาปิดสนิท ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน จากนั้น แพทย์จะนัดมาตรวจตาเป็นระยะในทุก 1 สัปดาห์, 1 เดือน, 3 เดือน, 6 เดือน และ 1ปี เพื่อตรวจความคงที่ของสายตา และอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น กระจกตาอักเสบ กระจกตาติดเชื้อ กระจกตาเคลื่อน กระจกตาเกิดรอยย่น เป็นต้น

ข้อปฏิบัติหลังการผ่าตัด
• หยอดตาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง
• ครอบตาในเวลากลางคืน
• ห้ามสัมผัสน้ำสกปรกบริเวณตา
• ห้ามขยี้ตา
• ห้ามเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมหนัก ตอลอดระยะ 1 เดือน
• ห้ามเล่นน้ำหรือว่ายน้ำ ตลอดระยะ 1 เดือน

ผู้ป่วยที่เหมาะสำหรับการผ่าตัดเลสิค
• อายุมากกว่า 18 ปี เพราะเป็นช่วยอายุที่ดวงตาพัฒนาเต็มที่แล้ว
• มีสุขภาพตาดี ไม่มีโรคตาอื่นๆ มีสายตาสั้นในช่วง 100-1200 (-1.00–12.00 diopter)
• ระดับสายตามีความคงที่แล้ว 1-2 ปี

ผู้ที่ไม่เหมาะสำหรับวิธีเลสิค
• อายุน้่อยกว่า 18 ปี
• อยู่ในช่วงตั้งครรภ์
• ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
• มีความผิดปกติทางตา เช่น ตาแห้ง มีตาใช้งานได้ตาเดียว โรคต้อกระจก โรคต้อหิน และโรคจอตาเสื่อม

ข้อดีการผ่าตัดด้วยวิธีเลสิค
• เป็นวิธีการผ่าตัดที่สะดวก ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวด
• เป็นวิธีรักษาสายตาสั้นแบบถาวร
• มีระยะการพักฟื้นเร็ว และสายตากลับมามองเห็นได้ตามปกติในระยะเวลาอันสั้น

ข้อดีการผ่าตัดด้วยวิธีเลสิค
• มีค่าใช้จ่ายสูง
• อาจต้องผ่าตัดซ้ำหลายครั้ง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของสายตาตามอายุ
• ไม่สามารถใช้กับผู้ป่วยสายตาสั้นได้ทุกราย เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคต้อกระจก เป็นต้น

ทีีมา : นวพร เตชาทวีวรรณ และยรรยง ทุมแสง, 2546. สายตาสั้นแก้ไขด้วยเลสิค. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2.