อกุศลกรรมบถ 10 ประการ

    73355

    อกุศลกรรมบถ 10 หมายถึง วิถีแห่งการกระทำอันไม่ดีงาม 10 ประการ

    • อกุศลกรรมบถ มาจากคำว่า
    • อะ หมายถึง ไม่, ตรงข้าม
    • กุศล หมายถึง ความดีงาม, ธรรมที่กำจัดปาปธรรม
    • กรรม หมายถึง การกระทำ
    • บถ หมายถึง วิถี, แนวทาง

    อกุศลกรรมบถ ถือเป็นวิถีการปฏิบัติหรือการกระทำในทางอันไม่ดีงาม ไม่ถูกต้องตามหลักศีลธรรมหรือตามคันรองคลองธรรม ทั้งทางกาย วา และใจ อันนำไปสู่ความเสื่อม และความทุกข์ แก่ตน และแก่ผู้อื่น ประกอบด้วย 10 ประการ คือ
    1. ปาณาติบาต
    2. อทินนาทาน
    3. กาเมสุมิจฉาจาร
    4. มุสาวาท
    5. ปิสุณวาจา
    6. ผรุสวาจา
    7. สัมผัปปลาปะ
    8. อภิชฌา
    9. พยาบาท
    10. มิจฉาทิฏฐิ

    เล่นการพนัน

    อกุศลกรรมบถ 10 ประการ แบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ
    1. อกุศลกรรมบถ ทางกาย 3 ข้อ (กายกรรม)
    กายกรรม หมายถึง การกระทำที่แสดงออกด้วยกาย โดยอกุศลกรรมบถทางกายกรรม เรียกว่า กายทุจริต 3 ประการ คือ
    1) ปาณาติบาต หมายถึง การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต คือ การกระทำโดยเจตนาที่ทำให้สัตว์ที่มีชีวิต มีลมหายใจ และมีจิตวิญญาณถูกทำลายหรือตายไป เช่น การทุบตีงูให้ตายเพียงเพราะเห็นงูเข้าบ้าน
    2) อทินนาทาน หมายถึง การลักทรัพย์ คือ การเอาสิ่งของของผู้อื่นมาด้วยอาการอันเป็นโจรที่ผู้อื่นไม่ยินยอมให้ เช่น เข้าไปลักทรัพย์ภายในบ้านที่เจ้าของไม่อยู่บ้าน
    3) กาเมสุมิจฉาจาร หมายถึง การประพฤติผิดทางกาม คือ การประพฤติผิดในการมีเพศสัมพันธ์กับชายต้องห้าม และหญิงต้องห้ามทั้งหลาย เช่น มีเพศสัมพันธ์กับภรยาคนอื่น

    2. อกุศลกรรมบถ ทางวาจา 4 ข้อ (วจีกรรม)
    วจีกรรม หมายถึง การกระทำทางวาจาหรือกิริยา ไม่ว่าจะเป็นการพูดออกมา การเขียนบอก และการแสดงกิริยา อันหวังสื่อสารให้ผู้อื่นรับหรือหรือเข้าใจตาม โดยอกุศลกรรมบถทางวจีกรรม เรียกว่า วจีทุจริต 3 ประการ คือ
    1) มุสาวาท หมายถึง การพูดปด คือ การพูดหรือการแสดงกิริยาท่าทางอันทำให้ผู้อื่นหลงผิดหรือสำคัญผิดด้วยการมีเจตนา เช่น เพื่อนขอยืมเงิน แต่กลับตอบว่าไม่มี เพียงเพราะไม่อยากให้ยืม ทั้งๆที่ตนเองมีเงินมากมาย
    2) ปิสุณวาจา หมายถึง การพูดส่อเสียด ให้ร้าย คือ การพูดเพียงเพื่อทำให้ผู้อื่นเกิดความขุ่นข้องหมองใจหรือให้เกิดความเข้าใจผิดหรือแตกแยกความสามัคคี เช่น กล่าวหาเพื่อนว่าลักทรัพย์ตนเองทั้งๆที่ไม่ใช่ความจริง
    3) ผรุสวาจา หมายถึง การพูดคำหยาบ คือ การพูดคำที่ไม่สุภาพเพียงเพราะความโกรธอันทำให้ผู้อื่นเจ็บช้ำใจ เช่น ด่าว่าด้วยคำหยาบ
    4) สัมผัปปลาปะ หมายถึง การพูดเพ้อเจ้อ คือ การพูดด้วยการหาสาระไม่ได้ เชื่อถือไม่ได้ ไม่มีเหตุ และไม่มีผล เช่น พูดบอกคนอื่นว่าพรุ้งนี้จะเป็นวันสิ้นโลก

    3. อกุศลกรรมบถ ทางใจ 3 ข้อ (มโนกรรม)
    มโนกรรม หมายถึง การกระทำทางใจอันเกิดจากความคิด ความเชื่อที่มีอยู่ในตน โดยอกุศลกรรมบถทางมโนกรรม เรียกว่า มโนทุจริต 3 ประการ คือ
    1) อภิชฌา หมายถึง ความโลภ คือ การยากได้ทรัพย์ของคนอื่นด้วยการคิดกระทำในทางมิชอบ เช่น คิดลักทรัพย์ผู้อื่นเมื่อเขาไม่อยู่บ้าน
    2) พยาบาท หมายถึง ความพยาบาท คือ การคิดที่จะกระทำให้ผู้อื่นมีความทุกข์ทางกาย และทางใจ เช่น คิดแก้แค้นคนที่เคยทำร้ายตนเอง
    3) มิจฉาทิฏฐิ หมายถึง ความเห็นผิด คือ ความคิดเห็น ความเชื่อ อันผิดจากหลักธรรมอันดีงาม เช่น เห็นว่าการฆ่าคนจะช่วยล้างปาปได้