โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน และการรักษา

9878

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือที่เรียกว่า Miniere’s Disease เป็นโรคที่เกิดขึ้นในระบบรับสัมผัสของหูที่เกิดจากความผิดปกติภายในอวัยวะหูที่มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะทางอารมณ์จากภาวะความเครียดเป็นสำคัญ

การเกิดภาวะเครียดทางอารมณ์จะทำให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะที่เรียกว่า Cochlea ที่อยู่บริเวณหูชั้นใน ทำหน้าที่ในการรับเสียง โดยทำให้ปริมาณน้ำเหลืองที่อยู่ภายในมีปริมาณเพิ่มขึ้นเกินปกติทำให้ระบบประสาทที่ทำหน้าที่รับเสียงในอวัยวะดังกล่าวเกิดการทำงานผิดปกติ โดยมีลักษณะอาการหูอื้อ และหูแว่วตามมา แต่เมื่อภาวะความเครียดทางอารมณ์ลดลงปริมาณน้ำเหลืองก็จะลดลงตามด้วยเช่นกันทำให้อาการดังกล่าวค่อยๆหายเป็นปกติ

อาการของโรคเบื้องต้น
เมื่อเกิดภาวะความเครียดเกิดขึ้นถี่หรือบ่อยครั้งจะทำให้เกิดอการเหล่านี้
1. รู้สึกวิงเวียนศรีษะ ปวดหัวอย่างกะทันหันซึ่งจะเกิดเพียงชั่วครู่เมื่อเกิดภาวะความเครียดในช่วงแรกๆ
2. ตาพล่ามัว มองเห็นวัตถุไม่ชัดเจน
3. มีอาการหูอื้อ มึนงง ได้ยินเสียงรอบข้างไม่ชัดเจน
4. รู้สึกได้ยินเสียงวิ้งๆภายในหู ซึ่งจะเกิดขึ้นเสมอเมื่อเกิดภาวะความเครียด อาการนี้จะหายเองเมื่อภาวะความเครียดลดลง
5. อาการหูแว่ว ซึ่งมักได้ยินเสียงเบาๆข้างหูทำให้เกิดการสำคัญในเสียงเหล่านั้นที่ผิดๆได้

อาการเหล่านี้ที่กล่าวมา หากเกิดอาการขณะลุกหรือยืนอยู่อาจเป็นสาเหตุทำให้เป็นลมหรือหกล้มตามมาได้จึงควรระมัดระวังในเรื่องการทรงตัวเมื่ออาการกำเริบ

headache

โครงสร้างหู

การรักษา
โรคชนิดนี้ถือเป็นโรคไม่ร้ายแรง และสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยตนเอง ในการรักษาทางการแพทย์ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดความเครียด ร่วมด้วยกับการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยซึ่งจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงภาวะเครียดจากปัจจัยต่างๆให้มากที่สุด นอกจากนั้นขณะเกิดภาวะความเครียดหรือวิงเวียนศรีษะให้ทายาแก้วิงเวียนศรีษะร่วมด้วยพอช่วยในการผ่อนคลายที่เร็วขึ้น ทั้งนี้ ในผู้ป่วยบางรายที่มีภาวะในเรื่องความดันของหูร่วมด้วยนั้นจำเป็นต้องงดหรือลดอาหารที่มีความเค็มร่วมด้วยจึจะทำให้การรักษาโรคนี้ได้ผลมากขึ้น

แนวทางการป้องกัน
1. ลดภาวะความเครียดจากปัจจัยต่างๆ
2. ลดหรือหลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่กระตุ้นประสาทหรือความดันชนิดต่างๆ เช่น เหล้า กาแฟ บุหรี่ เป็นต้น
3. หลีกเลี่ยงสภาวะแวดล้อมที่อาจกระตุ้นภาวะความเครียด เช่น อากาศร้อน บริเวณที่มีเสียงดัง บริเวณที่คนแออัด เป็นต้น
4. รับประทานอาหารจำพวกผักผลไม้เพิ่มขึ้น และลดอาหารประเภทแป้งหรือไขมันที่เป็นสาเหตุของไขมันอุดตันในเส้นเลือด
5. ลดหรือหลีกเลี่ยงอาหารประเภทเค็มหรือมีรสจัดต่างๆ
6. มั่นออกกำลังกายหรือการฝึกสมาธิอย่างสม่ำเสมอ

ภาวะโรคแทรกซ้อน
1. มักเกิดภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วย จากความเครียดที่เกิดบ่อยครั้ง
2. ร่างกายอ่อนแอมีภาวะเจ็บไข้ได้ป่วยแทรกซ้อนบ่อยครั้ง เช่น ไข้หวัด
3. เกิดภาวะเสี่ยงต่อเส้นเลือดในสมองแตก
4. เกิดภาวะการเสื่อมของระบบประสาทการได้ยิน เช่น หูอื้อถาวร หูหนวก เป็นต้น