การตั้งครรภ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์

14216

การตั้งครรภ์ หมายถึง ภาวะสตรีที่ก่อกำเนิดทารกในร่างกาย หลังจากการปฏิสนธิระหว่างอสุจิกับไข่ กลายเป็นตัวอ่อนเจริญเติบโตเป็นทารกจนกระทั่งออกจากครรภ์ที่ใช้เวลาประมาณ 266 วัน หรือ 9 เดือน

อาการของการตั้งครรภ์
1. อาการขาดประจำเดือน หลังการปฏิสนธิตั้งแต่ 2 สัปดาห์
2. มีอาการเจ็บ และคัดตึงเต้านม จากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน ทำให้เต้านมขยายใหญ่ และไวต่อสัมผัส ผิวหนังบริเวณหัวนม และรอบเต้านมมีสีคล้ำ หลังตั้งครรภ์ได้ 3-4 เดือน
3. ปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ ทำให้มีเลือดมาเลี้ยงบริเวณช่องเชิงกรานมากขึ้น กระเพาะปัสสาวะที่อยู่บริเวณใกล้เคียงจึงเกิดการระคายเคือง และบีบรัดตัวมากขึ้น ส่งผลต่อการปัสสาวะบ่อยขึ้น นอกจากนั้น เมื่อทารกโตขึ้น มดลูกจะโต กระเพาะปัสสาวะถูกเบียดจึงไม่สามารถขยายตัวได้ และไม่สามารถเก็บน้ำปัสสาวะได้เป็นจำนวนมากเท่าที่เคย จึงทำให้ปัสสาวะบ่อย
4. เกิดอาการท้องผูกมากกว่าปกติ
5. รู้สึกเหนื่อยง่าย และง่วงนอนตลอดเวลา
6. มีอาการตกขาวในบางครั้ง และมีมากขาวเกิดบริเวณช่องคลอด แต่ไม่มีอาการคัน
7. บางรายเกิดอาการแพ้ท้อง รู้สึกขม เหม็น เฝื่อนในปาก อาเจียน เบื่ออาหาร
8. ไม่อยากรับประทานอาหารที่เคยรับประทานปกติ อยากรับประทานอาหารแปลกใหม่
9. มีอารมณ์อ่อนไหว และแปรปรวนง่าย
10. มดลูกบีบตัวบางครั้งรู้สึกว่าหน้าท้องแน่นนูนแข็งเป็นก้อน
11. เด็กดิ้นหลังจากตั้งครรภ์ได้ประมาณ 4 เดือนครึ่ง เด็กจึงจะเริ่มดิ้น

pregnancy

ชุดตรวจการตั้งครรภ์
ปัจจุบันมีเครื่องมือสำหรับการตรวจยืนยันการตั้งครรภ์ที่ทราบผลได้เพียงไม่กี่นาที ที่เรียกว่า ชุดตรวจการตั้งครรภ์ ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ราคาจำหน่ายตั้งแต่ 50-120 บาท ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ

ชุดตรวจการตั้งครรภ์สามารถตรวจยืนยันที่มีความแม่นยำมากกว่า 99% สามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ได้หลังการปฏิสนธิแล้ว 2 สัปดาห์ ขึ้นไป

การอ่านการตั้งครรภ์จากชุดตรวจ
– หากขึ้นสี 1 ขีด แสดงว่าไม่ตั้งครรภ์
– หากขึ้นสี 2 ขีด แสดงว่าตั้งครรภ์

pregnancy1
pregnancy2

การป้องกันการตั้งครรภ์
การป้องกันสำหรับเพศชาย
1. ถุงยาง ใช้ครอบองคชาติขณะแข็งตัว สามารถป้องกันการผสมของอสุจิกับไข่ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
2. การทำหมันชาย ด้วยเจาะหรือผ่าถุงอัณฑะบริเวณตรงกลาง แล้วใช้อุปกรณ์คีบดึงท่อนำน้ำอสุจิของแต่ละถุงขึ้นมาผูก แล้วตัดท่อทางเดินน้ำอสุจิให้ขาดก่อนเย็บปิด ซึ่งจะช่วยป้องกันน้ำอสุจิเข้าผสมกับไข่ได้ แต่ไม่เป็นที่นิยมในฝ่ายชาย
3. การหลั่งข้างนอก คือ การนำอวัยวะเพศชายขณะที่มีเพศสัมพันธุ์ออกมาหลั่งอสุจิข้างนอกช่องคลอดของผู้หญิงขณะมีเพศสัมพันธ์ วิธีนี้ไม่ใช่วิธีคุมกำเนิดที่ดีเพราะสามารถพลาดตั้งครรภ์และสามารถติดโรค ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

การป้องกันสำหรับเพศหญิง
1. ยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นชนิดเม็ดที่รับประทานในทุกเดือน ตัวยาประกอบด้วยสารเคมีสังเคราะห์ที่ออกฤทธิ์เหมือนกับฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน ทำให้ยับยั้งการตกไข่ รวมถึงออกฤทธิ์ทำให้เกิดมูกเหนียวที่บริเวณปากมดลูก ทำให้เชื้ออสุจิไม่สามารถผ่านเข้าไปถึงในมดลูกได้ นอกจากนั้น ยังทำให้เยื่อบุโพรงมดเสื่อมบาง ไม่พร้อมต่อการฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว จึงช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ โดยทั่วไปยาเม็ดคุมกำเนิดแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
• ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิด 21 เม็ด ให้เริ่มรับประทานยาเม็ดแรกในวันที่ 5 ของรอบเดือน และให้รับประทานยาต่อเรียงไปตามลูกศร วันละ 1 เม็ด จนหมดแผง เมื่อหมดแผงแรกให้หยุด 7 วัน แล้วเริ่มรับประทานยาแผงใหม่ไม่ว่าประจำเดือนจะมาหรือไม่
• ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิด 28 เม็ด ให้เริ่มรับประทานยาเม็ดแรก ในวันที่ 5 ของรอบเดือนและให้รับประทานยาต่อเรียงไปตามลูกศร วันละ 1 เม็ด จนหมดแผงแล้วเริ่มรับประทานยาแผงต่อไปโดยไม่ต้องหยุดยาหรือคำนึงถึงประจำ เดือน

pregnancy3

• ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินมี 2 ประเภท คือ ยาคุมฉุกเฉินชนิดฮอร์โมนผสม ซึ่งประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสติน และยาคุมฉุกเฉินชนิดฮอร์โมนเดี่ยว ที่มีฮอร์โมนโปรเจสตินเพียงอย่างเดียว วิธีการใช้คือ ยาเม็ดแรกต้องกินภายใน 72 ชั่วโมง หลังการมีเพศสัมพันธ์ ส่วนเม็ดที่สองกินห่างจากเม็ดแรก 12 ชั่วโมง

ผลข้างเคียงของยาคุมฉุก เฉิน คือ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ไม่สบายเนื้อสบายตัว บวม น้ำหนักขึ้น เจ็บหน้าอก ไอ หรือหายใจขัด ปวดท้อง มึนงงมองเห็นไม่ชัดปวดน่องหรือโคนขา

2. ถุงยางอนามัยสตรี ใช้สำหรับสอดเข้าในช่องคลอดของผู้หญิงเพื่อปกปิดปากมดลูก สามารถป้องกันการผสมของอสุจิ และไข่และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

3. หมันหญิง มี 2 ประเภท คือ การทำหมันเปียก และการทำหมันแห้ง โดยการผูกแล้วตัดท่อนำไข่ให้ขาดแยกจากกัน แล้วทำให้ท่อนำไข่ตัน ไข่ไม่สามารถจะถูกลำเลียงเข้ามาผสมหรือปฏิสนธิกับเชื้ออสุจิที่จะผ่านโพรง มดลูก เข้ามาในท่อนำไข่ได้ จึงสามารถป้องกันการตั้งครรภ์

4. การนับหน้า 7 หลัง 7 เป็นวิธีการนับระยะปลอดภัยของการมีเพศสัมพันธ์ โดยให้ยึดเอาวันแรกที่ประจำเดือนมาเป็นหลัก ซึ่งหน้า 7 คือ การนับย้อนไป 7 วัน ของวันที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย ส่วนหลัง 7 คือ นับล่วงหน้าไปอีก 7 วัน ของวันที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย

วิธีการนี้จะใช้ได้ผล ก็ต่อเมื่อผู้หญิงมีประจำเดือนมาสม่ำเสมอ แต่ก็อาจมีความผิดพลาดจากการเลื่อนเข้า–ออกของประจำเดือน และไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ จึงควรใช้ร่วมกับถุงยางอนามัย

การเปลี่ยนแปลงของมารดาขณะตั้งครรภ์
1. การเปลี่ยนแปลงระบบอวัยวะสืบพันธุ์
การเปลี่ยนแปลงของอวัยวะสืบพันธุ์ที่เกิดขึ้น ได้แก่ มีเลือดมาหล่อเลี้ยงมากขึ้น กล้ามเนื้อมีความอ่อนนุ่ม และหย่อนตัวมากขึ้น เยื่อบุช่องคลอดคล้ำขึ้น และหนาตัวขึ้นมาก และมี Hypertrophy ของกล้ามเนื้อเรียบ เพื่อเตรียมพร้อมการถ่างขยายขณะคลอด ช่องคลอดยาวขึ้น ในครรภ์หลังๆ ผนังช่องคลอดส่วนล่างยื่นออกมา ช่องคลอดมีความเป็นกรด pH 3.5 – 6 เนื่องจากมีการสร้าง Lactic Acid จากแบคทีเรีย Lactobacillus Acidophilus

• การเปลี่ยนแปลงปากมดลูก (Cervix) มีการเปลี่ยนแปลงหลังการปฏิสนธิ ปากมดลูกมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น มีน้ำมาก และการเพิ่มจำนวน และขนาดของต่อมปากมดลูก ปากมดลูกมีสีคล้ำ และอ่อนนุ่ม ต่อมปากมดลูกมีการสร้างมูกเหนียวข้นอุดเต็มช่องปากมดลูก เพื่อทำหน้าที่อุดกั้นไม่ให้โพรงมดลูกสัมผัสกับภายนอก ป้องกันเชื้อโรคเข้าในโพรงมดลูกในขณะที่ตั้งครรภ์ และเมื่อเข้าสู่ระยะคลอด มูกนี้จะถูกขับออกมาเป็นมูกเลือด

• การเปลี่ยนแปลงมดลูกระยะ 2 – 3 สัปดาห์แรก มดลูกมีรูปร่างคล้ายลูกชมพู่ แต่หากอายุครรภ์มากขึ้นมดลูกจะกลมขึ้น ขนาดโพรงมดลูกเพิ่มขึ้น จาก 10 มล. เป็น 5 ถึง 10 ลิตร ร่างกายมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจาก 70 กรัม เป็น 1,100 กรัม เมื่อถึงกำหนดคลอด มดลูกจะหนักประมาณ 1,000-1,200 กรัม เนื่องจากมีเซลล์กล้ามเนื้อมากขึ้น และมีปริมาณเลือดเพิ่มขึ้น

2. การเปลี่ยนแปลงผิวหนัง
• เกิดลักษณะสีผิวหนังค่อนข้างแดง พบในสตรีตั้งครรภ์บางราย และพบในช่วงเดือนหลังๆ ของการตั้งครรภ์ ได้แก่ บริเวณเต้านม หน้าท้อง และต้นขา ซึ่งอาจเป็นผลจากฮอร์โมนต่อมหมวกไตที่เพิ่มขึ้น แต่หลังคลอดอาการเหล่านี้จะไม่หายเอง โดยสีจะจางลงคล้ายแผลเป็น ทำให้หน้าท้องลาย

• เกิดภาวะที่กล้ามเนื้อ Rectus หน้าท้อง แยกออก หากเป็นมาก ผนังหน้าท้องจะบางลง ทำให้เกิดไส้เลื่อนได้ง่าย

• มีการสะสมของสารสีน้ำตาลดำตามผิวหนัง พบเกิดบริเวณหน้าท้อง และใบหน้า แต่จะหายในระยะหลังคลอด แต่จะเกิดขึ้นอีกหากรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด

• เส้นเลือดบริเวณผิวหนังมีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ บริเวณใบหน้า แขน ขา ลำคอ หน้าอก แต่จะหายเองหลังการคลอด ลักษณะอาการนี้ หากพบในคนทั่วไปมักเป็นผู้ป่วยโรคตับแข็ง

3. การเปลี่ยนแปลงเต้านม
เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ เต้านมจะคัดตึง และเจ็บเมื่อสัมผัส ในเดือนที่สองเต้านมจะขยายใหญ่ขึ้น และนูนขึ้น จากการเพิ่มขนาดเซลล์ในต่อมน้ำนม บริเวณเต้านมมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น จนมองเห็นเส้นเลือดใต้ผิวหนัง หัวนมมีขนาดใหญ่ และมีสีคล้ำขึ้น รูขนบริเวณรูเปิดเป็นตุ่มมองเห็นชัดเจน ต่อมน้ำนม มีการสร้างน้ำนมในเดือนที่สามของการตั้งครรภ์

4. การเปลี่ยนแปลงระบบ Metabolism
• การเพิ่มของน้ำหนัก จะเพิ่มจากมดลูก และส่วนประกอบภายในมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้น รวมทั้งเต้านม ปริมาณเลือด และ Extracellular Fluid ที่เพิ่มขึ้นด้วย น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดประมาณ 11 กิโลกรัม โดยในไตรมาสแรกจะเพิ่มขึ้นน้อยประมาณ 0.9 กิโลกรัม ไตรมาสที่สอง และสามจะเพิ่มขึ้นไตรมาสละ 5 กิโลกรัม

• Metabolism ของน้ำ การคลั่งของน้ำเพิ่มขึ้นในร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำคร่ำ ประมาณ 3.5 ลิตร น้ำที่คั่งในมดลูก เต้านม และเลือดของแม่ ประมาณ 3 ลิตร รวมทั้งหมด 6.5 ลิตร ขณะตั้งครรภ์อาจพบอาการบวมกดบุ๋มที่เท้า และข้อเท้า แต่ในระยะหลังคลอด ร่างกายจะขับน้ำออกทางปัสสาวะมากขึ้น

• Metabolism ของโปรตีน ในครรภ์ครบกำหนดปริมาณโปรตีนเพิ่มขึ้นประมาณ 1 กก. แบ่งเป็นทารก และรกประมาณ 500 กรัม การขยายขนาดของเต้านม ตัวมดลูก และปริมาณเลือดแม่ ใช้โปรตีนประมาณ 500 กรัม ร่างกายต้องการโปรตีนเพิ่มขึ้นจากคนปกติวันละ 44 กรัม เป็นวันละ 74 กรัม

• Metabolism ของคาร์โบไฮเดรด ในขณะตั้งครรภ์มีการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนต่างๆ เช่น เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน เป็นต้น ทำให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้น แต่ประสิทธิภาพอินซูลินในการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ลดลง ทั้งๆที่ระดับของอินซูลินสูงขึ้น สตรีตั้งครรภ์จึงมีแนวโน้มที่จะเป็นเบาหวานได้ง่าย เรียกว่า การตั้งครรภ์ Diabetogenic State ถ้าเป็นเบาหวานอยู่แล้วอาการจะรุนแรงขึ้น คนที่เคยเป็น Latent หรือ Chemical Diabetes จะปรากฏอาการเป็นชนิด Overt ได้ง่าย หรือแม้แต่คนที่ Glucose Tolerance Test ปกติ ก็อาจจะเป็นเบาหวานได้ในขณะตั้งครรภ์ ซึ่งเรียกว่า Gestational Diabetes

• Metabolism ของไขมัน ระดับไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้นชัดเจน โดยเฉพาะในครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ ระดับคอลเลสเตอรอลอิ่มตัวต่ำสูงขึ้น เมื่ออายุครรภ์ 36 สัปดาห์ ส่วนระดับคอลเลสเตอรอลอิ่มตัวสูงมีค่าสูงขึ้น แต่จะสูงสุดเมื่ออายุครรภ์ 25 สัปดาห์ แล้วค่อยๆ ลดลง และคงที่เมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์ แต่จะคงที่ตลอดการตั้งครรภ์ การเพิ่มขึ้นของคอลเลสเตอรอลมาจากการกระตุ้นการทำงานของตับ

• Metabolism ของแร่ธาตุ ขณะเริ่มตั้งครรภ์ร่างกายจะต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น ที่เป็นผลจากระดับเอสโตรเจน แคลเซียม และแมกนีเซียมลดลง ส่วนระดับฟอสฟอรัสในร่างกายไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก

• ภาวะสมดุลกรดด่าง และอิเลคโตรไลท์ ในขณะตั้งครรภ์ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเป็นตัวกระตุ้นทำให้ PCO2 ในกระแสเลือดลดลง และไบคาร์บอเนตเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ระดับ pH ในร่างกายสูงขึ้นเล็กน้อย ส่งผลต่อฮีโมโกลบินสามารถจับกับออกซิเจนได้มากขึ้น

การที่ pH สูงขึ้นจะช่วยเพิ่มการปล่อยออกซิเจนให้ทารก นอกจากนี้ PCO2 ในเลือดที่ลดลงจะช่วยถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์จากทารกมาสู่แม่ได้ง่ายขึ้น ส่วนปริมาณโซเดียม และโพแทสเซียมในร่างกายจะสูงขึ้น

5. การเปลี่ยนแปลงระบบโลหิตวิทยา
• ปริมาณเลือด เมื่อใกล้คลอด ปริมาณพลาสมา และเม็ดเลือดแดงจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 45 โดยเพิ่มขึ้นประมาณ 1500 มล. จากเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น 450 มล. ทำให้ต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น 50 มก. (เม็ดเลือดแดง 1 มล. มีธาตุเหล็ก 1.1 มก.) โดยทารกต้องใช้ธาตุเหล็กประมาณ 300 มก. และขับออกจากร่างกายอีก 200 มก.โดยตลอดการตั้งครรภ์ทารกจะต้องการธาตุเหล็กประมาณ 1 กรัม โดยเฉพาะในช่วงหลังของการตั้งครรภ์ทารกจะมีความต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น ประมาณวันละ 6 – 7 มก. ซึ่งมากกว่าที่มารดาจะได้จากการรับประทานอาหารธรรมดา ดังนั้น มารดาจึงต้องการธาตุเหล็กเสริม รวมถึงระยะให้นมบุตรด้วย เพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง

• การเปลี่ยนแปลงของ Homatocrit เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของพลาสมามากกว่าการเพิ่มขึ้นของเม็ดเลือดแดง ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงจึงจางลง Hemoglobin และ Hematocrit ในสตรีตั้งครรภ์จึงต่ำกว่าคนไม่ตั้งครรภ์แต่ถ้าต่ำกว่า 10 กรัม/เดซิลิตรจะถือว่าเป็นภาวะโลหิตจาง

• การเสียเลือด ในการคลอดปกติครั้งหนึ่งๆจะเสียเลือดประมาณ 600 มล. จากตำแหน่งที่รกเกาะ เลือดที่คั่งอยู่ในรก จากรอยแผลฉีกขาด และจากน้ำคาวปลา การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องหรือการคลอดครรภ์แฝดทางช่องคลอด จะเสียเลือดประมาณ 1 ลิตร ปริมาณเลือดในร่างกายจะลดลงทันทีที่สิ้นสุดการคลอด มากน้อยแล้วแต่ปริมาณเลือดที่เสียไป

• เม็ดเลือดขาว ในขณะตั้งครรภ์ปริมาณเม็ดเลือดขาวอยู่ระหว่าง 5,000 – 12,000 เซลล์/มม.

• ในขณะคลอดอาจจะเพิ่มขึ้นถึง 25,000 เซลล์ ต่อ มม.3 ปริมาณ Neutrophil เพิ่มขึ้น

• การแข็งตัวของเลือด ปัจจัยในการแข็งตัวของเลือดเปลี่ยนแปลง เช่น
– Fibrinogen เพิ่มขึ้นร้อยละ 50 จาก 300 มก./ดล. ถึง 450 มก./ดล. ทำให้ ESR สูงขึ้น จึงใช้ ESR สำหรับวินิจฉัย และพยากรณ์โรคบางอย่างไม่ได้ เช่น SLE ในขณะตั้งครรภ์ เป็นต้น
– Factors VII, VIII, IX, X เพิ่มขึ้นชัดเจน ส่วน Factor II เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
– Factors XI, XIII ลดลง
– Prothrombin Time และ Partial Thromboplastin Time ลดลงเล็กน้อย แต่ Clotting Time ไม่เปลี่ยนแปลง
– เกร็ดเลือด (Platelets) ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากถูกใช้มากขึ้นในขณะตั้งครรภ์

6. การเปลี่ยนแปลงระบบหัวใจ และหลอดเลือด
หญิงตั้งครรภ์จะมีระบบหัวใจ และหลอดเลือด รูปร่าง และตำแหน่งของหัวใจ จะเปลี่ยนแปลงไป โดยขยายใหญ่ขึ้นตำแหน่งของหัวใจถูกยกขึ้น และหมุนไปทางซ้ายมากขึ้น ขณะเดียวกันยอดของหัวใจจะเลื่อนไปทางขวา หัวใจรับภาระสูบฉีดเลือดเพิ่มขึ้น ปริมาตรหัวใจจึงเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้นประมาณ 75 มล. หรือร้อยละ 10-12 ซึ่งปริมาณเลือดจะเพิ่มสูงสุด เมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์ และคงที่จนถึงหลังคลอด ปริมาณเลือดที่เพิ่มสูงสุดมีผลต่อปริมาณเม็ดเลือดแดงไม่สมดุล มีปริมาณน้อยกว่าเกณฑ์ปกติจนเกิดภาวะซีดในบางราย ส่วนฮีโมโกลบินจะขึ้นกับปริมาณธาตุเหล็กที่ได้รับจากอาหาร ซึ่งจะช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง แต่มักพบหญิงตั้งครรภ์มีระดับฮีโมโกลบินต่ำกว่า 11 กรัม/ดล. จากอัตราความต้องการธาตุเหล็กของทารกที่สูงขึ้นในช่วงหลังการตั้งครรภ์ และร่างกายได้รับแร่ธาตุเหล็กไม่เพียงพอ

7. การเปลี่ยนแปลงระบบทางเดินหายใจ
ส่วนระบบทางเดินหายใจ พบว่า ระหว่างการตั้งครรภ์ระบบทางเดินหายใจมีเลือดมาเลี้ยงมากทำให้เยื่อบุผนังของจมูก และลำคอบวม มีอาการคัดจมูก กล่องเสียง หลอดลม และหลอดลมแขนงใหญ่มีการขยายใหญ่ขึ้น เนื่องจากการขยายของเส้นเลือดฝอยทำให้เสียงพูดอาจเปลี่ยนแปลงมีการบวมภายใน จมูก และเลือดออกทางจมูกได้ การขยายตัวของมดลูกทำให้กระบังลมถกเลื่อนขึ้นประมาณ 4 ซม. กล้ามเนื้อหน้าท้อง หย่อน ดังนั้น การหายใจจึงต้องใช้กล้ามเนื้อกระบังลมมากขึ้น เส้นรอบวงของทรวงอกเพิ่มขึ้น 6 ซม. มุมใต้กระดูกไซฟอยด์กว้างออกซี่โครงจะบานออก สตรีมีครรภ์จะหายใจลึก และถี่ขึ้น เพื่อให้ได้ ออกซิเจนอย่างเพียงพอสำหรับตนเองและทารกในครรภ์ อัตราการหายใจประมาณ 16 ครั้ง/นาที อาจลดลงเล็กน้อยเมื่อใกล้คลอด การเผาผลาญออกซิเจนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 การเปลี่ยนแปลงของระบบหายใจนี้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการออกซิเจนทั้งของ มารดา และทารก การเปลี่ยนแปลงนี้ ไม่ได้เพื่อต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ต้องการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

8. การเปลี่ยนแปลงระบบทางเดินปัสสาวะ
• ไต ขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อย Renal Plasma FLow เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 25 – 50 ในไตรมาสที่สอง และลงมาปกติในไตรมาสที่สาม ส่วน Glomerular Filtration rate (GFR) สูงขึ้นประมาณร้อยละ 50 และยังคงสูงไปตลอดการตั้งครรภ์ สำหรับการทำงานของไต พบว่า Urea Clearance, Uric Acid Clearance และ Creatinine Clearance เพิ่มขึ้น เนื่องจาก GFR เพิ่มขึ้น Glucosuria อาจพบได้ในขณะตั้งครรภ์เนื่องจาก GFR เพิ่มขึ้น และ Tubular Reabsorption ลดลง Proteinuria ในปริมาณเล็กน้อย พบได้บางครั้งถ้าออกกำลังกายมาก Hydronephrosis และ Hydroureter พบได้ข้างขวามากกว่าข้างซ้าย เนื่องจากมดลูกไปกดเบียดท่อไตกับ pelvic brim และมดลูกมี Dextrorotation ทำให้ท่อไตข้างขวาถูกกดเบียดมากกว่าข้างซ้ายซึ่งมี Sigmoid Colon บังอยู่

• กระเพาะปัสสาวะ กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะมีความตึงตัวน้อยลง ปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะมากขึ้น ทำให้เกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะได้ง่าย การตั้งครรภ์ในระยะแรกจะปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากมดลูกกดเบียดกระเพาะ ปัสสาวะ พอมดลูกโตพ้นเชิงกรานไปแล้วจะรู้สึกดีขึ้น ในระยะท้ายๆของการตั้งครรภ์จะปัสสาวะบ่อยอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากส่วนหน้าของทารกลงสู่ช่องเชิงกรานกดเบียดกระเพาะปัสสาวะอีกครั้ง หนึ่ง

9. การเปลี่ยนแปลงระบบทางเดินอาหาร
การเปลี่ยนแปลงระบบทางเดินอาหารเกิดมากในไตรมาสที่ 1 และบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ตั้งแต่อายุครรภ์ 8 สัปดาห์ จากปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของระบบเผาผลาญอาหาร ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ การเคลื่อนไหวระบบทางเดินเปลี่ยนแปลง และการเพิ่มของฮอร์โมนเฮชซีจี เป็นต้น

อาการคลื่นไส้อาเจียนจะทำให้รับประทานอาหารได้น้อย บางรายอาจมีอาการเป็นลมเนื่องจากน้ำตาลในเลือดต่ำ บางรายมีเปลี่ยนแปลงของรสสัมผัส และอยากกินอาหารรสใหม่แปลก บางรายกินอาหารมาก ชอบอาหารรสเปรี้ยว รสเผ็ด บางรายเหม็นกลิ่นอาหารได้ง่าย และน้ำลายออกมาก

ภายในช่องปากจะพบเหงือกบวมแดง และนุ่มขึ้น เนื่องจากมีเลือดมาเลี้ยงมาก และอาจเกิดเหงือกอักเสบ และมีเลือดออกง่ายด้วย หากได้รับการกระทบกระแทก รวมถึงการเกิดฟันผุ จากการไม่ค่อยรักษาความสะอาดฟัน ประกอบกับน้ำลายมีความเป็นกรดมากขึ้น และบางราย ลำไส้อาจมีการเคลื่อนไหวลดลง อาจปวดแสบปวดร้อนบริเวณยอดอก จากการไหลย้อนของกรด และอาหาร รวมถึงเกิดอาการท้องผูกจากการหย่อนตัวของลำไส้ และกล้ามเนื้อหน้าท้องยืดขยาย ทำให้ความตึงตัวน้อย สตรีตั้งครรภ์ที่มีปัญหาท้องผูกอยู่แล้วอาจเกิดริดสีดวงทวารได้

10. การเปลี่ยนแปลงระบบต่อมไร้ท่อ
การเปลี่ยนแปลงของระบบต่อมไร้ท่อระหว่างการตั้งครรภ์ ได้แก่ ต่อมพิทูอิทารี่ รังไข่ รก ตับอ่อน ไทรอยด์ และพาราไทรอยด์ ซึ่งจะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนต่างๆเพิ่มมากขึ้น เช่น ฮอร์โมนโปรแลคติน ออกซิโตซิน โปรเจสเตอโรน และ เอสโตรเจน เป็นต้น

11. การเปลี่ยนแปลงระบบกล้ามเนื้อ และโครงกระดูก
เนื่องจากมดลูกมีการขยายใหญ่ออกทางด้านหน้า ร่างกายจึงพยายามชดเชยน้ำหนัก โดยเลื่อนจุดศูนย์ถ่วงมาทางด้านหลังมากขึ้น ประกอบกับข้อต่อต่างๆ หลวมขึ้น จนมองเห็นหญิงตั้งครรภ์หลังแอ่น จึงมักได้ยินสตรีตั้งครรภ์บ่นในเรื่องปวดหลัง โดยเฉพาะเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น รวมถึงผลจาการมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอาจพบอาการปวดชา หรืออ่อนแรงบริเวณแขน จากไหล่คองุ้ม และโย้ไปทางด้านหน้า