การแต่งงาน และพิธีแต่งงาน

16812

การแต่งงาน คือ การเข้าร่วมพิธีของชายหญิงที่ตกลงปรงใจที่จะใช้ชีวิตร่วมกันเพื่อให้เป็นสามีภรรยาอันถูกต้องตามประเพณีหรือกฎหมายของสังคม ซึ่งแสดงถึงวัยหรือช่วงเวลาอันเหมาะสมของชายหญิงที่จะใช้ชีวิตร่วมกันฉันสามีภรรยาในการสร้างครอบครัวใหม่ พร้อมกับเป็นที่ยอมรับของสังคม

การแต่งงานเป็นขั้นตอนหนึ่งของชีวิต เป็นการแสดงถึงความเป็นผู้ใหญ่พร้อมที่จะเริ่มต้นสร้างครอบครัวของตนเอง ขั้นตอนการแต่งงานนั้น ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ การสู่ขอหรือการหมั้นหมาย และสุดท้ายเป็นการสมรสหรือเข้าพิธีแต่งงาน ซึ่งเป็นกลไกที่สังคมกำหนดขึ้นเพื่อให้หญิงชายมีโอกาสใช้ชีวิตร่วมกัน และ สร้างครอบครัวขึ้นใหม่เป็นของตนเอง

การแต่งงาน 3 ประเภท
1. วิวาหมงคล
วิวาหมงคล คือ ประเพณีแต่งงานที่นิยมทำกัน ณ บ้านฝ่ายหญิง หรืออาจไม่ใช่บ้านฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เป็นการแต่งงานที่ฝ่ายชายเป็นผู้สู่ขอฝ่ายหญิง และต้องเข้าพิธีกรรมทางศาสนา โดยฝ่ายชายจะเดินทางเข้าพิธี ณ บ้านฝ่ายหญิงหรือที่ใดที่หนึ่งที่จัดขึ้น ซึ่งก่อนเข้าบ้านฝ่ายหญิงหรือสถานที่ทำพิธีก็จะต้องผ่านประตูเงิน ประตูทอง เพื่อให้ญาติฝ่ายเจ้าสาวยินยอมก่อน หลังจากนั้น ค่อยเข้าสู่พิธีกรรมต่อไป จนถึงแล้วเสร็จพิธี และหลังจากแต่งงานแล้วเสร็จ ฝ่ายชายจะพักอาศัยที่บ้านจ้าวสาวร่วมกับบิดามารดาของฝ่ายจ้าวสาวโดยตลอดหรือแยกพักกับเจ้าสาวเพียงลำพัง

การแต่งงานประเภทนี้ ได้แก่ การแต่งงานตามประเพณีไทย ส่วนการแต่งงานตามประเพณีของชาวคริสต์ ก็ต้องทำพิธีเหมือนกัน คือ ทำการแต่งงานโดยมีบาทหลวงเป็นผู้ทำพิธี ซึ่งนิยมทำพิธีที่โบสถ์หรืออารมในคริสต์ศาสนา ซึ่งก็จัดเป็นวิวาหมงคล เหมือนกับการแต่งงานตามประเพณีไทย

2. อาวาหมงคล
อาวาหมงคล คือ ประเพณีแต่งงานที่นิยมทำกัน ณ บ้านฝ่ายชาย โดยฝ่ายหญิงจะเดินทางเข้าพิธี ณ บ้านฝ่ายชาย ซึ่งก่อนเข้าบ้านฝ่ายหญิงต้องผ่านประตูเงิน และเมื่อแต่งงานแล้วเสร็จ ฝ่ายหญิงจะพักอาศัยที่บ้านฝ่ายชายร่วมกับบิดามารดาของฝ่ายชายหรือแยกพักกับเจ้าสาวเพียงลำพัง ลักษณะการแต่งงานประเภทนี้ จะพบได้ในบางประเทศ เช่น ประเทศอินเดีย และประเทศจีน เป็นต้น

3. วิวาห์เหาะ
วิวาห์เหาะ คือ การแต่งงานที่ไม่ได้เข้าขั้นตอนกี่ทำพิธีแต่งงาน และไม่ได้ทำ ณ บ้านฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยฝ่ายชาย และหญิงอาจแต่งงานกันเพียงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายเท่านั้น หรือการให้คำมั่นสัญญาที่จะใช้ชีวิตคู่ด้วยกันเท่านั้น จนสร้างครอบครัวเป็นหลักแหล่งได้

การแต่งงาน และพิธีแต่งงานตามประเพณีไทย
การแต่งงานตามประเพณีไทยจะแล้วเสร็จนั้น ต้องเริ่มจากการหมั่นหมายหรือการสู่ขอก่อน เพื่อทำการตกลงเรื่องสินสอด และหาฤกษ์ยาอันดี ก่อนที่จะเข้าสู่พิธีแต่งงาน

แต่งงาน

การหมั่นหมาย
การหมั่นหมาย คือ การที่ฝ่ายชายมาทำการสู่ขอเจ้าสาวกับบิดามารดาของฝ่ายจ้าวอย่างเป็นพิธีการ โดยมีผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายมาร่วมเป็นสักขีพยาน รวมถึงเป็นการตกลงเรื่องสินสอด และหาฤกษ์ยามอันดีในวันที่จะเข้าพิธีแต่งงาน

การหมั่นหมายหรือการสู่ขอนั้น ผู้ใหญ่ทางฝ่ายชายจะเป็นผู้นำพูดถึงวัตถุประสงค์ของการมาครั้งนี้ให้แก่ผู้ใหญ่ทางฝ่ายเจ้าสาวรับทราบ หากผู้ใหญ่ทางฝ่ายจ้าวสาวตกลงในเรื่องการแต่งแล้ว ทางผู้ใหญ่ฝ่ายชายจะสอบถามถึงสินสอดที่ต้องการ ซึ่งอาจจะเป็นฝ่ายบิดามารดาของจ้าวสาวเป็นผู้เรียกหรือผู้ที่เป็นจ้าวบ่าวกับจ้าวสาวเป็นผู้ตั้ง ทั้งนี้ ในสมัยก่อนจะเป็นบิดามารดาของฝ่ายจ้าวสาวเป็นผู้เรียกเองเท่านั้น ซึ่งสินสอดนั้น มักประกอบด้วยเงิน และทองเป็นหลัก แต่อาจมีทรัพย์อื่นที่ตกลงกันได้ เช่น ที่ดิน หรือ อาคารบ้านพัก เป็นต้น

เมื่อตกลงสินสอดจนได้ข้อยุติแล้ว ทั้งสองฝ่ายก็จะหาฤกษ์ยามเพื่อทำพิธีแต่งงาน ซึ่งมักจะมีผู้ใหญ่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่มีความรู้เรื่องโหรมาร่วมด้วย แต่บางครั้ง หากทั้งสองฝ่ายไม่รู้วันที่แน่นอน ก็จะบอกแค่ช่วงเดือนกว้างๆก่อน แล้วจึงให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปหาฤกษ์วันที่ชัดเจน แต่โดยส่วนมากจะหาวันมาก่อนหรือให้โหรผู้รู้มาด้วย เพื่อให้ได้วันที่ชัดเจนในวันนั้นเลย

สำหรับฤกษ์วันแต่งนั้น จะขึ้นอยู่กับความพร้อมของฝ่ายจ้าวบ่าวเป็นสำคัญ เพราะจะต้องเตรียมสินสอดมาให้ครบทันตามเวลาที่กำหนด ซึ่งบางคู่อาจตกลงกันได้หลังจากสู่ขอแล้วเพียงไม่กี่วัน หรืออาจเป็นเดือน หรืออาจถึงข้ามปีก็เป็นไปได้

สำหรับสินสอดที่จะมาแต่ง เมื่อในอดีตนั้นมักจะเป็นฝ่ายชายที่เป็นคนหาเท่านั้น แต่ปัจจุบันสังคมพัฒนา และเปลี่ยนแปลงมากขึ้น จึงมักพบว่า ทั้งฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงจะร่วมกันหาสินสอดช่วยกัน

สินสอด

พิธีแต่งงาน
เมื่อมาถึงกำหนดวันพิธีแต่งงาน ซึ่งก่อนหน้านั้น ผู้เป็นเจ้าสาว และจ้าวบ่าวจะต้องช่วยกันเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ อาทิ การพิมพ์ซอง และแจกซองเรียนเชิญ การจัดสถานที่ การนิมนต์พระสงฆ์ และการเตรียมข้าวปลาอาหาร เป็นต้น และเมื่อถึงวันแต่งจะเข้าสู่พิธี ดังนี้
1. การแห่กระบวนขันหมาก และการผ่านประตูเงิน ประตูทอง
เมื่อจ้าวบ่าวเดินทางมาถึง ณ บ้านจ้าวสาว จ้าวบ่าวจะยังไม่ได้ยินยอมให้เข้าบ้านจ้าวสาวได้ ซึ่งจะต้องตั้งขบวนขันหมาก และแห่เสียก่อน การแห่ขบวนขันหมากนี้ ก็เพื่อบ่าวประกาศให้ผู้คนในบ้านใกล้เรือนเคียงของฝ่ายจ้าวสาวรับทราบว่า มีฝ่ายชายมาหมั่นหมาย และจะแต่งงานกับลูกสาวของบ้านนี้แล้ว การกล่าวบอกนั้น จะมีผู้นำแห่ขบวน โห่ร้องนำขบวนจนถึงบ้านจ้าวสาว

การแห่ขบวนขันหมากจะมีจ้าวบ่าวเดินนำหน้า พร้อมด้วยคู่จ้าวบ่าว (บางพื้นที่จะไม่มีคู่จ้าวบ่าว) และญาติมิตรผู้ใหญ่ที่ช่วยกันถือเครื่องสินสอด หมอนมุ้งหรือข้าวของเครื่องใช้สำหรับให้จ้าวบ่าวอาศัยในบ้านฝ่ายหญิง

เมื่อขบวนขันหมากมาถึงประตูบ้านจ้าวสาวแล้ว จ้าวบ่าวจะต้องผ่านประตูนาก ประตูเงิน และประตูทองเสียก่อน โดยมีฝ่ายญาติของจ้าวสาว 1 คู่ ยืนถือสายสิญน์กั้นไว้ เป็นประตูนาก และอีกหนึ่งคู่ เป็นประตูเงิน และอีกหนึ่งคู่ เป็นประตูทอง แต่ปัจจุบันมักเหลือเพียง 2 ประตู คือประตูเงิน และประตูทอง ซึ่งหากจ้าวบ่าวต้องการผ่านจะต้องมอบทรัพย์สินบางอย่างให้แก่ผู้เฝ้าประตูทั้ง 6 คน ซึ่งทั่วไปมักนำเงินใส่ซองขาวยื่นให้ และเมื่อผ่านประตูไปแล้วค่อยเข้าถึงประตูหน้าบ้าน แล้วจ้าวบ่าวจะต้องกล่าวคำบอกกล่าวต่อผู้ใหญ่หรือสิ่งศักดิ์ภายในบ้านก่อน ซึ่งขั้นตอนนี้มักจะมีผู้เป็นพราหมณ์มานำกล่าว แต่ขั้นตอนนี้ (บางพื้นที่อาจไม่มี เช่น แต่งที่โรงแรม) ก่อนจะเข้าสู่ห้องพิธีต่อไป

2. พิธีทางสงฆ์
เมื่อจ้าวบ่าว และจ้าวสาวพร้อมแล้ว ก็จะเข้าสู่พิธีทางพระสงฆ์ คือ การปวารณารักษาศีล 5 และการสวดเจริญพุทธมนต์ แล้วจึงตามด้วยการถวายภัตตาหารเช้าแก่พระสงฆ์ ก่อนจะให้พร อันเป็นจบพิธีของสงฆ์ มีรายละเอียดในขั้นตอนต่างๆ คือ
– เมื่อพระสงฆ์เข้านั่งบนอาสนะพร้อมแล้ว คู่บ่าวสาวทำการจุดธูปเทียนพระประธาน ต่อมาพราหมณ์นำสวดคำปวารณารับศีล 5 ก่อนพระสงฆ์จะกล่าวให้ศีล 5 เป็นภาษาบาลีเป็นข้อๆไป (ในขั้นตอนนี้ ในบางพื้นที่จะมีคู่จ้าวบ่าว และคู่จ้าวสาวนั่งอยู่ด้านข้างด้วย)
– เมื่อรับศีลเสร็จแล้ว พิธีต่อไป คือ การสวดเจริญพุทธมนต์ โดยพระสงฆ์นำสวด โดยขณะสวดนั้นจะมีการจุดเทียนให้หยดลงบนกระถางน้ำมนต์ที่รองรับหยดเทียนด้านล่าง และเมื่อพระสงฆ์สวดพุทธมนต์เสร็จจึงเป็นพรมน้ำมนต์ต่อ โดยมีพระผู้นำหรือพระผู้อาวุโสเป็นผู้พรมน้ำมนต์
– เมื่อรับน้ำมนต์เสร็จ บรรดาญาติมิตรจัดเตรียมสำรับภัตตาหาร พร้อมด้วยเครื่องถวายต่างๆ ก่อนพราหมณ์นำกล่าวคำถวายภัตตาหาร และเครื่องบริวารที่จะถวาย เมื่อถวายเสร็จ พระสงฆ์จะสวดให้พรแก่ญาติโยมทั้งสองฝ่าย หลังจากนั้น พระสงฆ์จึงฉันภัตตาหาร
– หลังพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว และเดินทางกลับแล้วจึงเริ่มขั้นตอนนับสินสอดต่อไป

3. พิธีสู่ขอ และนับสินสอด
พิธีสู่ขอนี้ เป็นการสู่ขอหรือแต่งอย่างเป็นทางการ ซึ่งต่างกับการสู่ขอหรือการหมั้นในครั้งแรก โดยฝ่ายจ้าวสาวจ้าวบ่าวนั่งเคียงกัน และมีขันหมากพร้อมผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายนั่งล้มขันหมาก จากนั้น ทางญาติผู้ใหญ่ฝ่ายชายจะกล่าวคำสู่ขอต่อญาติฝ่ายหญิง โดยมีญาติๆทั้งสองฝ่ายเป็นพยาน หลังจากกล่าวคำสู่ขอแล้วจึงเริ่มนับสินสอดที่ได้ตกลงกันไว้ว่าครบตามจำนวนหรือไม่ ซึ่งประเพณีโดยทั่วไปมักใส่เกินไปเล็กน้อย เพื่อเป็นเคล็ดว่า การเพิ่มสินสอดนั้น จะทำให้มีความเจริญเพิ่มมากขึ้น โดยให้นับลงเลขเก้า เช่น สินสอดตกลงที่สามแสน แต่ฝ่ายชายใส่เป็นสามแสนเก้าร้อยเก้าสิบเก้าบาท เป็นต้น

เมื่อสินสอดครบแล้ว แม่เจ้าสาวจะใช้ผ้าห่อสินสอดเข้าเก็บไว้กับตน จากนั้น เจ้าบ่าวจะนำแหวนหมั้นมาสวมให้ฝ่ายเจ้าสาว ส่วนฝ่ายหญิงไหว้ขอบคุณจ้าวบ่าว

เรื่อสินสอด ในสมัยอดีตหรือในพ่อแม่บางรายในปัจจุบันจะนำเก็บไว้กับตนทั้งหมด แต่ก็มีบางรายที่พ่อแม่จ้าวสาวใจดีก็จะยกสินสอดนั้นคืนให้แก่ทั้งคู่ หรือ ให้คืนเพียงบางส่วน

4. พิธีรดน้ำพระพุทธมนต์ และให้พร
หลังจากการนับสินสอด และจ้าวสวมแหวนหมั้นเสร็จแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธีที่สำคัญ และถือว่าคู่บ่าวสาวเป็นสามีภรรยาอันถูกต้องตามประเพณีแล้ว ต่อไปจึงเรียกว่า สามีภรรยา

ขั้นตอนต่อมาจะเป็นการรดน้ำสังข์จากฝ่ายญาติผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย เพื่อเป็นการให้พรแก่คู่บ่าวสาว โดยญาติแต่ละคนจะเข้าแถวเข้ารดน้ำสังข์ และกล่าวให้พรแก่ทั้งคู่ ซึ่งในบางท้องถิ่น ญาติบางคนอาจมีการผูกข้อไม้ข้อมือร่วมกับเงินทองให้แก่ทั้งคู่ เงินทองนี้มักเรียกว่า เงินผูกแขน ซึ่งจะเป็นเงินทองที่คู่บ่าวสาวนำไปใช้สำหรับสร้างครอบครัวต่อไป

ส่วนลำดับการรดน้ำสังข์หรือผูกข้อไม้ข้อมือจะเริ่มจากพ่อแม่ฝ่ายจ้าวบ่าว และจ้าวสาวก่อน หลังจากนั้นก็ตามด้วยญาติผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย และตามมาด้วยแขกเรื่อที่เป็นคนรู้จักหรือเพื่อนๆจ้าวบ่าวจ้าวสาว

5. พิธีรับไหว้
หลังจากรดน้ำสังข์ และผูกข้อไม้ข้อมือเสร็จแล้ว ฝ่ายจ้าวบ่าวและจ้าวสาวจะต้องทำการไหว้ผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย เพื่อเป็นการระลึกถึงอุปการคุณที่ท่านมีต่อตน และเป็นการฝากเนื้อฝากตัวแก่ท่านในฐานนะที่เป็นเสมือนบุตรในครอบครัวคนหนึ่งแล้ว โดยมีพานดอกไม้ธูปเทียนเป็นเครื่องสักการะ ต่อจากนั้น จึงไหว้ขอบพระคุณแขกเรื่อที่มาร่วมงานต่อไป

6. พิธีส่งตัวเข้าหอ
การส่งตัวจ้าวบ่าว จ้าวสาวเข้าหอถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายหลังจากไหว้ผู้หลักผู้ใหญ่แล้ว โดยมีแม่จ้าวสาวนำพา ทั้งนี้ ฝ่ายจ้าวบ่าวจะคอยในห้องก่อนแล้ว แล้วจึงนำจ้าวสาวเข้าห้องที่หลัง โดยพ่อแม่จ้าวสาวจะพูดกล่าวนำพาจ้าวสาวฝากฝังต่อจ้าวบ่าว พร้อมให้โอวาท และให้พรแก่ทั้งคู่ อันเป็นเสร็จพิธี

หลังจากพิธีแต่งงานแล้วเสร็จ บางคู่หรือบางบ้านอาจมีการจัดสังสรรค์เลี้ยงต้อนรับแขกอีกครั้งในตอนเย็น ซึ่งอาจมีการจัดงานบันเทิงต่างๆร่วมด้วย ต่อจากนั้น ในช่วงเช้าอีกวัน คู่สามีภรรยามักไปทำบุญตักบาตรร่วมกัน