เห็ดพิษ และวิธีการทดสอบ

20519

เห็ดพิษ (ToadtoolsหรือPoisonous Mushroom) คือเห็ดที่เมื่อนำมารับประทานทั้งสุกหรือดิบแล้วสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายของผู้กินได้ ทั้งการเจ็บป่วยทั่วไปจนถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งบางครั้งเห็ดที่กินได้กับเห็ดพิษจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันมาก หากเก็บมารับประทานโดยรู้เท่าไม่ถึงการหรือขาดความรู้ในเรื่องเห็ดอาจทำให้เกิดอันตรายได้

เห็ดพิษเมื่อแบ่งตามความรุนแรงของพิษที่ได้รับ แบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม คือ

กลุ่ม 1 เห็ดที่มีพิษถึงตาย
เห็ดในกลุ่มนี้มีลักษณะหมวกเห็ดกว้างประมาณ 3 นิ้ว ถ้าเปียกหน้ำจะเหนียวหนือเล็กน้อย สีของหมวกเห็ดมีสีแตกต่างกันตามสายพันธุ์ ขอบหมวกเรียบ มักพบสีขาวเป็นจำนวนมาก สปอร์สีขาว ส่วนก้านมักมีลักษณะสีขาว ยาวประมาณ 3-5 นิ้ว โคนไม่สม่ำเสมอ และมีลักษณะพองออกมาเล็กน้อย มีปอกหุ้มโคนก้าน และเห็นได้ชัดเจน วงแหวนที่คอก้านมีขนาดโตห้อยติดอยู่โดยมีสีขาวหรือสีเขียวเมื่อกินเห็ดชนิดนี้เข้าไปประมาณ 6-9 ชั่วโมง จะทำให้รู้สึกปวดท้อง อาเจียน ท้องเดิน ตับแข็ง บวม ไม่มีปัสสาวะ แต่จะดีขึ้นในภายหลังหากกินในปริมาณไม่มาก แต่หากกินในปริมาณมากจะมีอาการที่รุนแรงขึ้น ตัวเย็น การตอบสนองต่อสิ่งเร้าช้าลง หัวใจหยุดเต้น ซึ่งจะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตต่อมาในช่วง 3-10 วัน หลังกินเห็ด สารพิษที่พบในเห็ดประเภทนี้ ได้แก่ Phallin Phalloidin และ Amanitin

เห็ดพิษ.jpg

เห็ดพิษเมื่อกินเข้าไปจะก่อให้เกิดพิษต่อร่างกาย โดยแบ่งการออกฤทธิ์ คือ
1. เห็ดที่ทำให้เกิดความอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น กระเพาะอาหาร และลำไส้
2. เห็ดที่่ทำให้เกิดอาการเมา และเกิดประสาทหลอน
3. เห็ดที่ทำให้เกิดอาการร้อนใน ตัวร้อน และเหงื่อออก
4. เห็ดที่ทำให้เกิดอาการเพ้อคลั่ง
5. เห็ดที่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน

วิธีง่ายๆสำหรับการทดสอบว่าเห็ดนั้นใช่เห็ดมีพิษหรือไม่ทำได้ดังนี้
1. การนำเห็ดมาต้มกับข้าวสาร ถ้าเป็นเห็ดพิษ ข้าวสารจะสุกๆดิบๆปนกัน แต่หากข้าวสารสุกทั่วทั้งหมดไม่ถือว่าเป็นเห็ดพิษ
2. การใช้ช้อนเงินแท้หรือโลหะที่มีเงินเป็นส่วนประกอบจุ่มหรือคนที่น้ำต้มเห็ด ถ้าเป็นเห็ดพิษช้อนเงินหรือโลหะเงินจะมีสีดำเกิดขึ้น หากไม่มีการเปลี่ยนสีของโลหะถือว่าเป็นเห็ดกินได้
3. การใช้ปูนกินหมากป้ายที่ดอกเห็ด หากปูนเปลี่ยนเป็นสีดำถือเป็นเห็ดพิษ แต่หากไม่เปลี่ยนสีถือเป็นเห็ดกินได้
4. การต้มเห็ดโดยการใส่หัวหอม หากเป็นเห็ดพิษหัวหอมจะมีลักษณะดำ แต่หากปกติถือเป็นเห็ดกินได้
5. หากใช้มือที่เป็นแผลถือเห็ดบริเวณแผลจะมีรอยคล้ำดำซึ่งถือว่าเป็นเห็ดพิษ
6. เห็ดที่มีรอยกัดกินของสัตว์หรือแมลงมักไม่เป็นเห็ดพิษ ทั้งนี้ กระต่าย และหอยทากสามารถกินเห็ดพิษได้
7. เห็ดพิษมักมีสีฉูดฉาดมากกว่าปกติ ซึ่งเห็ดที่กินได้ทั่วไปมักมีสีอ่อน