ทารกคลอดก่อนกำหนด คือ ทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัมอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ มีระยะเวลาในการเจริญเติบโตน้อยในครรภ์ทำให้เกิดความไม่สมบูรณของอวัยวะต่าง ๆ ทั้งความไม่สมบูรณ์ในหน้าที่ของร่างกาย และระบบประสาท ซึ่งส่งผลต่อการเจ็บป่วยและโอกาสรอดชีวิตได้ ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งทารกส่วนมากจะมีร่างกายบอบบาง ทารกกลุ่มนี้ต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม จำเป็นต้องใช้พลังงาน และสารอาหารที่สะสมไว้ก่อนคลอดไปอย่างรวดเร็ว บางรายอาจมีการเจ็บป่วยซ้ำ เกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนั้นในการดูแลทารกกลุ่มนี้จะต้องให้ทารกได้รับโภชนาการที่เหมาะสม เพื่อการเจริญเติบโต พัฒนาการทางด้านสมอง และป้องกันภาวะเจ็บป่วย ซึ่งพบว่าอาหารที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด คือ นมแม่ เพราะนมแม่ เป็นอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน มีความสมบูรณ์ไปด้วยวิตามิน มีส่วนประกอบที่เหมาะสมต่อทารกคลอดก่อนกำหนด
ทารกเกิดก่อนกำหนด จะมีระบบทางเดินอาหารที่ยังไม่สมบูรณ์เช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆของร่างกาย กระเพาะอาหารมีความจุและเคลื่อนไหวน้อย การดูดซึมไขมันและอาหารบางชนิดทาได้น้อย ปฏิกิริยาการดูดกลืนมีน้อย ยังทางานประสานกับการหายใจได้ไม่ดี การสาลัก อวัยวะสาหรับการไอ ยังอ่อนแอทางานได้ไม่มีประสิทธิภาพ ในขณะที่ทารกจาเป็นต้องได้รับพลังงานจากสารอาหาร ทารกเกิดก่อนกำหนด จะมีการสะสมของสารอาหารน้อย หลังเกิดจึงพบความเจ็บป่วยได้มาก ต้องใช้พลังงานสูงกว่าทารกปกติอย่างมาก ซึ่งจะสัมพันธ์โดยตรงกับความรุนแรงของโรค
ความต้องการสารอาหารของทารกคลอดก่อนกำหนด
1. Transitional period เป็นระยะประมาณ 1 สัปดาห์ หลังเกิดทารกจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอก บางรายอาจเกิดปัญหาซ้ำเติมจากภาวะหายใจลาบากต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ ทำให้ต้องใช้พลังงาน และสารอาหารที่สะสมไว้ก่อนคลอดไปอย่างรวดเร็ว จุดประสงค์ของการให้อาหาร และน้ำในระยะนี้จึงมุ่งให้อาหารแก่ทารก ให้เพียงพอที่จะลดการสูญเสียการใช้อาหาร และลดการสูญเสียน้ำจากนอกเซลล์ ไม่มีจุดประสงค์เพื่อการเจริญเติบโต ทารกต้องการพลังงาน 150-180 มิลิลิตร/กิโลกรัม/วัน
2. Stable-growing period เป็นระยะ 7 วันหลังเกิด หรือประมาณใน1-3 สัปดาห์หลังเกิด ระยะนี้ทารกส่วนใหญ่เริ่มรับอาหารทางปากได้บ้าง การให้อาหารจึงมีจุดประสงค์เพื่อให้ทารกมีการเจริญเติบโตเท่ากับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ต้องการพลังงาน 80-100 แคลอรี/กิโลกรัม/วัน ปริมาณน้ำอาจต้องการตั้งแต่ 120-180 มิลิลิตร/กิโลกรัม/วัน
3. Period of catch – cup growth เป็นระยะที่เริ่มตั้งแต่จาหน่ายทารกกลับบ้านถึงอายุประมาณ 1 ปี การให้อาหารใช่วงนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ทารกมีการเจริญเติบโตเร็วขึ้นมากกว่าเดิมใกล้เคียงกับทารกครบกำหนด ทารกต้องการพลังงาน 130-140 แคลอรี/กิโลกรัม/วัน ต้องการปริมาณน้ำตั้งแต่ 150-200 มิลิลิตร/กิโลกรัม/วัน
การให้นม และสารน้ำแก่ทารกคลอดก่อนกำหนด
การดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด แม่ต้องได้รับการสอนท่าอุ้มลูกดูดนม ทั้งท่านั่ง และท่านอน มีเก้าอี้วางแขนที่วางเท้า เพื่อให้แม่นั่งอุ้มลูกดูดนมได้อย่างถูกต้อง โดยทารกคลอดก่อนกำหนดต้องได้รับการส่งเสริมให้อยู่กับแม่ หากให้ดูดนมจากเต้าแม่ไม่ได้ ต้องส่งเสริมให้บีบน้ำนม มาให้บุตร ส่วนทารกที่ไม่สามารถรับนมได้ภายใน 4 ชั่วโมงหลังคลอดต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำก่อน เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โดยการให้สารน้ำต้องติดตามน้ำหนักของทารกทุกวัน
เวลาที่เริ่มให้นมมื้อแรกขึ้นกับอายุครรภ์หรือน้ำหนักของทารก โดยปกติจะให้นมทารกเมื่อมีภาวะความดันเลือดปรกติ ไม่มีอาเจียน ท้องไม่อืด ภายใน 24 ชั่วโมงแรก ทารกที่มีน้ำหนัก เกิน 1,500 กรัม จะให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และเริ่มให้นมภายใน 4 ชั่วโมงหลังคลอด หากทารกรับนมได้ดี ไม่มีภาวะน้ำตาลต่ำ ไม่จำเป็นต้องให้สารน้ำ ทารกที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม จะไม่ให้นมใน 12 หรือ 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด แต่จะให้สารน้ำทางหลอดเลือดดาก่อน ถ้าความดันปกติ ไม่มีท้องอืดหรืออาเจียนจึงเริ่มให้อาหารทางหลอดอาหาร ชนิดของนมควรเป็นนมแม่ เพราะนมแม่มีสารอาหารที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสมอง เช่น docohexae–noic acid และมีสารเพิ่มภูมิคุ้มกัน ปริมาณน้ำนมสำหรับทารกก่อนกำหนด ใน 14 วันแรก คำนวณได้จากสูตร
(15-20)/14 x น้ำหนักแรกเกิด (กก.) x อายุหลังคลอด (วัน)
= 10-15 x น้ำหนักแรกเกิด (กก.) x อายุ (วัน) มล. / วัน
เมื่อหารด้วยจำนวนมื้อ (ทุก 3 ชั่วโมงซึ่งเท่ากับ 8 มื้อ) จะเป็นปริมาณน้ำนมในแต่ละมื้อ ซึ่งทารกก่อนกำหนด ต้องการ 120-150 กิโลแคลอรี/กิโลกรัม/วัน
การบีบเก็บน้ำนมแม่เพื่อเก็บไว้ป้อนลูกตั้งแต่วันแรกหลังเกิด ปริมาณน้ำนมที่ป้อนทารกในแต่ละวันคำนวณจากสูตร
ปริมาณน้ำนม = 10 มล. x น้ำหนักทารก (กก.) x จำนวนวันของการให้นม หารด้วยจำนวนมื้อนม (8-10 มื้อ)
วิธีการให้นมแก่ทารกคลอดก่อนกำหนด
การเลือกวิธีให้นมที่เหมาะสมกับทารกแต่ละราย ต้องพิจารณาอายุครรภ์ และการเจ็บป่วยของทารก รวมทั้งรีเฟล็กซ์การกลืน และการดูด มี 4 วิธีดังนี้
1. การให้ดูดเองเมื่อทารกมีการดูด การกลืน และการหายใจสัมพันธ์กับ (อายุครรภ์เกิน 32-34 สัปดาห์) ทารกกลืนได้ดี เมื่อป้อนนมด้วยช้อนหรือด้วยถ้วย
2. การป้อนด้วยที่หยด (dropper) ช้อน หรือถ้วย จากนมแม่ที่ผ่านการบีบใส่ภาชนะ ซึ่งวิธีนี้จะใช้สาหรับทารกที่กลืนได้ดี และอยู่ในระหว่างคอยให้ดูดนมมารดา ไม่ควรให้ทารกดูดนมจากขวด เพราะอาจทำให้ทารกปฏิเสธการดูดนมมารดา
3. การให้ทางหลอดอาหาร (tubing feeding) เป็นมื้อๆ ด้วยหลอดให้อาหารทางปากในทารกที่มีอัตราการหายใจเกิน 60 ครั้ง/นาที ทารกมีการดูดการกลืนบกพร่อง เช่น ความผิดปกติของสมอง ทารกที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 32-34 สัปดาห์ ทารกเกิดก่อนกำหนด ที่อยู่ในระยะฝึกดูดนม หรือมีอาการเหนื่อยเวลาดูดนม หรือดูดนมได้ไม่หมดจะให้นมทางหลอดให้อาหารร่วมด้วย ทารกที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ หรือคางเล็ก การให้น้ำนมอย่างต่อเนื่อง สาหรับทารกที่ได้รับการป้อนนมทางหลอดให้อาหารเป็นมื้อๆ แล้วมีท้องอืดหรืออาเจียน หรือทารกมีอาการหยุดหายใจ ให้ใช้เครื่องควบคุมสารน้ำ เพื่อให้นมเข้ากระเพาะอาหารอย่างช้าๆ และสม่ำเสมอ ควรป้องกันการสูญเสียไขมันในน้ำนมมารดาควรมีการอุ่นนมก่อนให้ทารก