น้ำมันมะพร้าว (Coconut Oil) เป็นน้ำมันที่สกัดได้จากลูกมะพร้าวมีลักษณะใสหรือสีเหลืองอ่อนขึ้นอยู่กับ วิธีการสกัด นิยมนำมาใช้ในด้านสุขภาพ และความงามในหลายๆด้านด้วยกัน
คน โบราณนิยมนำมาประกอบอาหารทั้งคาว และหวาน รวมถึงการนำมาใช้เพื่อสุขภาพ เช่น การใช้นวดเพื่อรักษาโรคกระดูก แก้ปวดเมื่อย ตลอดจนในด้านความสวย ความงาม อาทิ การใช้รักษาผิวพรรณไม่ให้แห้งกร้านหรือมีรอยเหี่ยวย่น การใช้ชโลมผมเพื่อให้ดกดำ และเป็นเงา เป็นต้น
ประเภทของน้ำมันมะพร้าว
1. น้ำมันมะพร้าว RBD เป็นน้ำมันมะพร้าวที่สะจากเนื้อมะพร้าวด้วยการบีบหรือใช้ตัวทำละลายที่ผ่าน ความร้อนสูง ด้วย 3 กระบวนการ คือ การทำให้บริสุทธิ์ (refining) การฟอกสี (bleaching)และการกำจัดกลิ่น (deodorization) ทำให้ได้น้ำมันมะพร้าวที่มีเหลืองอ่อน ไม่มีกลิ่น และรส ปริมาณกรดไขมันอิสระไม่เกินร้อยละ 0.1 แต่มีข้อเสียคือ วิตามินอีจะถูกกำจัดออกไปด้วย ปัจจุบันไม่ค่อยมีการผลิตแล้ว
2. น้ำมันมะพร้าวบีบเย็น (Cold pressed coconut oil) หรือน้ำมันมะพร้าวพรหมจรรย์ เป็นน้ำมันมะพร้าวที่ได้จากการสกัดด้วยวิธีการบีบแบบไม่ผ่านความร้อนสูงจน ได้น้ำมันมะพร้าวที่มีลักษณะสีใสเหมือนน้ำ ประกอบด้วยวิตามินอี และมีกรดไขมันอิสระต่ำ แต่มีกลิ่นมะพร้าวบ้างเล็กน้อย และมีความชื้นไม่เกินร้อยละ 1เป็นน้ำมันที่ผลิตมากในอุตสาหกรรมขนาดเล็ก และสามารถผลิตเองได้ในครัวเรือนจึงมีจำหน่าย และใช้กันมากในปัจจุบัน
สำหรับน้ำมันมะพร้าวแบบบีบเย็นที่มีการใช้กันมากในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบที่เป็นสารสำคัญต่างๆจะประกอบด้วย
1. กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acid)
น้ำมันมะพร้าวประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัวมากกว่าร้อยละ 90 และกรดไขมันไม่อิ่มตัวประมาณร้อยละ 10 ซึ่งกรดไขมันอิ่มตัวส่วนใหญ่จะประกอบด้วยอะตอมของคาร์บอน 8-14 ตัว ที่สำคัญ ได้แก่ กรดคาปริก กรดลอริก กรดไมริสติก
กรดไขมันไม่อิ่มตัวประกอบด้วย 2 ชนิด คือ
– กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว เป็นกรดไขมันที่มีอะตอมของคาร์บอน 1 ตัว ไม่มีไฮโดรเจน 2 ตัวมาจับจึงต้องจับกันเองกับคาร์บอนอะตอมอื่น
– กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน เป็นกรดไขมันที่มีพันธะคู่มากกว่า 1 คู่ มีจำนวนคาร์บอนมากจึงทำให้โมเลกุลยาว เช่น กรดลินโนเลอิก
2. กรดลอริก (Lauric acid)
น้ำมันมะพร้าวมีข้อพิเศษที่ว่าเป็นน้ำมันพืชชนิดเดียวที่มีกรดลอริกเป็นองค์ ประกอบประมาณร้อยละ 48-55 จึงมีคุณสมบัติที่สามารถนำมาใช้เพื่อส่งเสริมในด้านสุขภาพ และความงามเป็นอย่างมาก
3. วิตามินอี (Vitamin A)
น้ำมันมะพร้าวที่สกัดได้โดยไม่ผ่านกระบวน RBD จะยังคงมีวิตามินอีเหลืออยู่จึงเป็นน้ำมันที่สามารถช่วยเพิ่มคุณสมบัติ และทำให้มีความแตกต่างจากน้ำมันทั่วไปที่มักไม่มีวิตามินอี
การนำมาใช้ประโยชน์
1. บทบาททางด้านสุขภาพ ด้วยการส่งเสริมสุขภาพร่างกายผ่านการดื่มหรือการนำมาปรุงอาหาร สามารถแบ่งประโยชน์ได้ตามองค์ประกอบที่มีในน้ำมันมะพร้าว ดังนี้
กรดไขมันอิ่มตัว
เป็นกรดไขมันที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเนื่องจากไม่ผ่านความร้อนสูง และที่สำคัญไม่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาเหมือนกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่เมื่อ ผ่านความร้อนสูงจะเกิดการแทนที่ของอะตอมไฮโดรเจน และออกซิเจนในพันธะได้ง่ายจนมีผลต่อร่างกาย อาทิ การทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ จนทำให้เซลล์อ่อนแอ การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบจนเป็นสารก่อมะเร็ง
กรดไขมันขนาดกลาง
– สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีโมเลกุลไม่ใหญ่มาก
– ช่วยเพิ่มอัตราเมตาบอลิซึมจากการเปลี่ยนแปลงเป็นพลังงานที่รวดเร็วทำให้ช่วยเร่งการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงานได้เร็วขึ้น
– ช่วยลดความอ้วนจากการเผาผลาญลังงานที่ให้ความร้อนสูงออกมา ช่วยสามารถนำไขมันที่สะสมในร่างกายออกมาเป็นพลังงานได้
กรดลอริก และโมโนลอริก
– ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจากการเปลี่ยนกรดลอริกเป็นโมโนกลีเซอร์ไรด์ที่เรียกว่า โมโนลอรินที่เป็นสารชนิดเดียวกันในน้ำนมมารดา
– ช่วยในการฆ่าเชื้อโรคจากสารโมโนลอรินที่มีฤทธิ์คล้ายยาปฏิชีวนะสามารถทำลายเชื้อจุลินทรีย์ได้
กรดคาปริก และโมโนคาปริน
แม้ว่าจะมีในปริมาณน้อยเพียงร้อยละ 5-7 แต่ก็เป็นตัวที่ช่วยเสริมการทำงานของโมโนลอริน โดยการเปลี่ยนเป็นสารโมโนคาปรินที่มีฤทธิ์คล้ายกัน
วิตามินอี
เป็นวิตามินที่สำคัญที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระโดยการป้องกันเซลล์ไม่ให้ถูกออกซิไดซ์ด้วยออกซิเจนได้ง่าย
2. บทบาททางด้านความงาม
– ผิวดูอ่อนเยาว์ นุ่ม เนียน โดยน้ำมันมะพร้าวที่ใช้ทาหรือชโลมตัวทั้งในรูปของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ น้ำมันมะพร้าวที่เป็นส่วนผสมของครีมหรือโลชันสามารถช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น และลดความแห้งกร้านของผิวได้เป็นอย่างดีทำให้ผิวพรรณดูอ่อนวัยขึ้น
– ช่วยป้องกันรักษาฝ้า และกระจากการใช้ทาผิวหน้าในรูปต่างๆเพื่อป้องกันแสงแดดที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดฝ้า และกระ
– ช่วยปรับสภาพผมทำให้ผมมีสุขภาพดี จัดทรงง่าย และดำเป็นเงา
– ช่วยในการรักษาสภาพหนังศรีษะ และป้องกันเชื้อราหรือเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคหนังศรีษะ เช่น รังแค