บารมี 10 ประการ คือ กำลังใจ 10 ประการ ที่ต้องเติมให้เต็ม หรือ การกระทำอันประเสริฐ 10 ประการ ด้วยการตั้งปฏิปทาอันยวดยิ่งที่จะประพฤติปฏิบัติในสิ่งเหล่านั้นเพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันเป็นขั้นที่สูงกว่า คือ บารมีขั้นกลาง และบารมีขั้นสูงสุด (บารมี แปลว่า กำลังใจที่ต้องเติมให้เต็ม หรือ บางตำราแปลว่า การกระทำอันประเสริฐ)
บารมี เป็นการกระทำด้วยคุณงามความดีที่ควรบำเพ็ญ เพื่อให้ยังผลต่อการบำเพ็ญเพียรในขั้นสูงกว่า คือ การให้ถึงซึ่งพระโพธิญาณ และเป็นการกระทำที่ตั้งมั่นด้วยเจตนาที่ยังให้ถึงฝั่งพระนิพพาน นอกจากนี้ ยังเป็นหลักธรรมที่ผู้ที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญเพียรให้ครบ
บารมี 10 ประการ
1. ทานบารมี คือ การบำเพ็ญเพียรด้วยให้ทาน
2. ศีลบารมี คือ การบำเพ็ญเพียรด้วยการตั้งมั่นในศีล
3. เนกขัมมบารมี คือ การบำเพ็ญเพียรด้วยการถือบวชหรือการตัดอารมณ์ทางกาม แต่การบวชในที่นี้มิจำเป็นต้องโกนหัว
4. ปัญญาบารมี คือ การบำเพ็ญเพียรด้วยการตั้งจิตให้พร้อมด้วยปัญญา ใช้ปัญญาในการคิดแก้ปัญหาทั้งปวง
5. วิริยบารมี วิริยะ คือ การบำเพ็ญเพียรด้วยการมีความเพียรในทุกขณะ
6. ขันติบารมี คือ การบำเพ็ญเพียรด้วยการมีขันติ คือ ความอดทน อดกลั้นต่อกิเลสที่มารุมเร้า
7. สัจจะบารมี คือ การบำเพ็ญเพียรด้วยการมีสัจจะ คือ ความตั้งใจจริง การทำจริง และการพูดคำสัตย์
8. อธิษฐานบารมี คือ การบำเพ็ญเพียรด้วยการตั้งใจมั่นให้แน่วแน่ ไม่เปลี่ยนแปลงการการบำเพ็ญเพียรทั้งปวง
9. เมตตาบารมี คือ การบำเพ็ญเพียรด้วยการมีความเมตตาต่อผู้อื่น และสรรพสัตว์ทั้งปวง
10. อุเบกขาบารมี คือ การบำเพ็ญเพียรด้วยการวางเฉยทั้งกาย วาจา และใจ มิให้เพี่ยงพรั้งต่อกิเลสทั้งปวง
ขอบคุณภาพจาก www.dmc.tv
บารมี3 ขั้น
1. บารมี คือ บารมีขั้นต้น แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.1 บารมีขั้นต้นจากการสั่งสมบารมีในชาตินั้นๆ คือ บารมีที่เกิดจากการบำเพ็ญเพียรด้วยจิตอย่างอ่อน คือ การให้ทาน และการรักษาศีลในแต่ละชาตินั้นๆ
1.2 บารมีขั้นต้นจากการสั่งสมบารมีในทุกๆชาติ คือ บารมีที่เกิดจากการบำเพ็ญเพียรด้วยจิตอย่างอ่อน คือ การให้ทาน และการรักษาศีล ในทุกๆชาติเพื่อหวังให้เกิดบารมีที่พร้อมเข้าสู่บารมีขั้นสูงกว่า คือ อุปบารมีสำหรับฌานสมาบัติ และปรมัตถบารมี คือ ฌานขั้นสูงสุดด้วยการเข้าถึงพระนิพพาน
2. อุปบารมี คือ บารมีขั้นกลาง แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
2.1 อุปบารมี จากการสั่งสมบารมีในชาตินั้นๆ คือ บารมีที่เกิดจากการบำเพ็ญเพียรด้วยจิตอย่างอ่อนในชาตินั้นๆ เช่น การให้ทาน (เฉพาะการให้ทานด้วยอวัยวะของตน)
2.2 อุปบารมีในขั้นฌาน คือ การสั่งสมอุปบารมีในทุกๆชาติหรือเพียงชาติด้วยการเข้าสู่ฌานสมาบัติ หลังจากที่ได้สะสมบารมีขั้นต้นด้วยการให้ทาน และการรักษาศีล ก่อนที่จะเข้าสู่ปรมัตถบารมี คือ ฌานขั้นสูงสุดด้วยการเข้าถึงพระนิพพาน
3. ปรมัตถบารมี คือ บารมีขั้นสูงสุด แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
3.1 ปรมัตถบารมี จากการสั่งสมปรมัตถบารมีในชาตินั้นๆ คือ บารมีที่เกิดจากการบำเพ็ญเพียรด้วยจิตอย่างอ่อนในชาตินั้นๆ เช่น การให้ทาน (เฉพาะการให้ทานด้วยการให้ชีวิตของตน)
3.2 ปรมัตถบารมี ในขั้นวิปัสสนญาณ คือ การสั่งสมปรมัตถบารมีในทุกๆชาติหรือเพียงชาติด้วยการเข้าสู่ปรมัตถบารมี หลังจากที่ได้สะสมปรมัตถบารมี เพื่อให้เข้าถึงซึ่งฌานอันสูงสุด คือ พระอรหันต์ หรือ พระนิพพาน