พระสงฆ์ หรือ พระภิกษุ หมายถึง ผู้สละการครองเรือน ครองทรัพย์ที่ออกบวช และถือวัตรปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอันเป็นคำสอนของพระพุทธองค์เพื่อยังให้ตน และผู้อื่นรู้แจ้งในธรรม
พระสงฆ์ หรือ พระภิกษุหากแปลตามฐานศัพท์ดั้งเดิม ประกอบด้วย
• สงฆ์ มาจากภาษาบาลีคำว่า สงฺฆ แปลว่า หมู่ หรือ คณะ
• ภิกษุ มาจากภาษาบาลีคำว่า ภิกฺขุ แปลว่า ผู้ขอ คือ ผู้สละตนสละทรัพย์สมบัติจากการครองเรือน (นักบวช)เพื่ออุทิศตนแห่งการบำเพ็ญธรรม และยังให้ผู้อื่นถึงซึ่งกุศลด้วยการออกขอภัตตาหารของผู้อื่น
• ภิกษุสงฆ์ มาจากแปลว่า มาจากภาษาบาลีคำว่า ภิกขุ + สงฺฆ แปลว่า หมู่แห่งผู้ขอ
• พระ มาจากรากศัพท์ภาษาบาลีคำว่า วร แปลว่า ประเสริฐ
• พระสงฆ์ มาจากแปลว่า มาจากภาษาบาลีคำว่า พร + สงฺฆ แปลว่า ผู้ขออันประเสริฐ
• พระภิกษุ มาจากแปลว่า มาจากภาษาบาลีคำว่า พร + ภิกฺขุ แปลว่า หมู่แห่งผู้ประเสริฐ
พระสงฆ์ หรือ พระภิกษุ ถือเป็นหนึ่งในรัตนะทั้งสาม คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ อันเป็นองค์สามที่สำคัญในพระพุทธศาสนา ที่ยังให้พระพุทธศาสนาปรากฏขึ้น ดำเนินอยู่ และดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน และในอนาคต
พระสงฆ์ หรือ พระภิกษุ ถือเป็นสาวกของพระพุทธองค์ที่ต้องถือวัตรปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอันประกอบด้วยศีล จำนวน 227 ข้อ เพื่อยังให้ตนเป็นผู้เจริญ พร้อมกับศึกษาพระธรรมคำสอนให้รู้แจ้ง และยังให้ผู้อื่นเข้าถึงซึ่งพระธรรมนั้น ด้วยการเผยแพร่พระธรรมคำสอนแก่ปุถุชนทั้งหลาย
อลัชชี เป็นคำศัพท์ที่ใช้เรียกนักบวชในศาสนา ผู้ไม่ประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระศาสดา เป็นผู้นอกรีตที่ยังให้ศาสนาเสื่อมเสีย ไม่มีความละอายต่อสิ่งที่กระทำนั้น เช่น อลัชชีในพระพุทธศาสนา คือ พระสงฆ์ที่ไม่ประพฤติตามพระธรรมวินัยซึ่งยังให้พระธรรมวินัยขาด เช่น พระสงฆ์ที่เสพเมถุน ดื่มสุราเมรัย ค้าสัตว์ผิดกฎหมาย เป็นต้น
อลัชชี แปลว่า ผู้ไม่มีความละลาย มีฐานศัพท์มาจากภาษาบาลี ประกอบด้วย
– อ แปลว่า ไม่
– ลชฺชะ แปลว่า ความละอาย
พระสงฆ์ 2 ประเภท
1. สมมติสงฆ์
สมมติสงฆ์ คือ พระสงฆ์ทั่วไปตั้งแต่ 4 รูป ขึ้นไป ที่ได้รับการอุปสมบทตามพุทธานุญาติ ซึ่งได้ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ที่ยังมิได้บรรลุโลกุตตรธรรมเป็นพระอรหันต์ตามพระพุทธองค์ หมู่พระสงฆ์เหล่านี้ เรียกว่า สมมติสงฆ์
2. พระอริยสงฆ์
พระอริยสงฆ์ คือ หมู่แห่งภิกษุผู้ที่ได้ฟังธรรมคำสอนที่ออกจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าโดยตรง และยังให้ตนรู้แจ้งตามธรรมนั้น คือ บรรลุโลกุตตรธรรมเป็นพระอรหันต์ตามพระพุทธองค์ ประกอบด้วย คู่แห่งบุรุษ 4 คู่ ตามมรรค และผล คือ
– พระโสดาบัน 1 คู่ คือ ผู้มีสปฏิปัณโณ เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติงาม ประกอบด้วยพระโสดาปฏิมรรค 1 และพระโสดาปฏิผล 1
– พระสกทาคามิ 1 คู่ คือ ผู้มีอุชุปฏิปัณโณ เป็นผู้ปฏิบัติตรงปฏิบัติถูกต้อง ประกอบด้วยพระสกทาคามิมรรค 1 และพระสกทาคามิผล 1
– พระอนาคามิ 1 คู่ คือ ผู้มีญายปฏิปัณโณ เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ประกอบด้วยพระอนาคามิมรรค 1 และพระอนาคามิผล 1
– พระอรหันต์ 1 คู่ คือ ผู้มีสามีจิปฏิปัณโณ เป็นผู้ปฏิบัติเหมาะสม ประกอบด้วยพระอรหันตมรรค 1 และพระอรหันตผล 1
อริยบุคคล คือ บุคคลผู้ประเสริฐทั้งที่เป็นปุถุชนหรือพระสงฆ์ที่ละแล้วในสังโยชน์อันเป็นกิเลสที่ผูกมัดตนไว้ในภพภูมิต่างๆ (โลกภูมิ นรกภูมิ เทวภูมิ และพรหมภูมิ)
มรรค คือ ญาณที่ช่วยให้ละซึ่งสังโยชน์ เพื่อให้เป็นอริยบุคคลในระดับฌานต่างๆ
ผล คือ กุศลที่เกิดจากการละแล้วซึ่งสังโยชน์ต่างๆที่พระบุคคลพึงเสวย
สังโยชน์ 10 หรือ กิเลส 10
1. สังกายทิฏฐิ คือ การยึดมั่นในร่างกายว่าเป็นของตน ไม่มีวันดับหาย
2. วิจิกิจฉา คือ ความสงสัยในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ คือ เห็นผิด เชื่อผิด เชื่อในหลักการอื่นที่ไม่มีเหตุ และผล
3. สีลัพพตปรามาส คือ การสำคัญผิดหรือประพฤติในศีล
4. กามราคะ คือ การยึดมั่นในกามารมณ์ คือ ความต้องการของตน เป็นโลภะ คือ ความโลภ
5. ปฏิฆะ คือ ความขุ่นเคือง แสดงพยาบาท เป็นโทสะ คือ ความโกรธ
6. รูปราคะ คือ ยึดมั่นในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส เป็นโมหะ คือ ความหลง
7. อรูปราคะ คือ ยึดมั่นในสิ่งไม่มีรูป เป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้ เช่น คำสรรเสริญ ความรัก อารมณ์ปรารถนาของตน เป็นต้น (กำหนดละโดยใช้อุเบกขา แห่งพรหมวิหาร 4)
8. มานะ คือ ความยึดมั่นถือมั่นในนามสมมุติที่เขาตั้งให้ (ตำรวจ ครู) และสำคัญตนว่าดีกว่า ต่ำกว่า หรือแตกต่างจากเขาอย่างไร
9. อุทธัจจะ คือ มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่มีสมาธิ
10. อวิชชา คือ ความไม่รู้ความจริงอันประเสริฐ คือ อริยสัจ 4
ลำดับฌานแห่งการบรรลุ
1. โสดาบัน คือ ผู้ที่ละแล้วซึ่งสังโยชน์ในข้อ 1- 3 เพียงครั้งเดียว แต่ยังไม่บรรลุฌานอื่นที่สูงกว่า ผู้บรรลุฌานนี้ ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิ
2. สกิทาคามี คือ ผู้ที่ละแล้วซึ่งสังโยชน์ในข้อ 1- 3 ด้วยการสั่งสมในชาติเดียวหรือหลายชาติ จนเกือบละแล้วซึ่งราคะ โทสะ โมหะ แต่ยังไม่บรรลุฌานอื่นที่สูงกว่า ผู้บรรลุฌานนี้ ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิ
3. อนาคามี คือ ผู้ที่ละแล้วซึ่งสังโยชน์ในข้อ 1 – 5 ผู้บรรลุฌานนี้ ด้วยการสั่งสมในชาติเดียวหรือหลายชาติ ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิ ทั้งนี้ ระดับอนาคามีต่างจากระดับสกิทาคามีในเพียงข้อ 4 และ5 ซึ่งผู้ที่ละแล้วซึ่งข้อ 4 มักเป็นผู้สละแล้วซึ่งการครองเรือน คือ ออกบวชเป็นภิกษุในพุทธศาสนา
4. อรหันต์ คือ ผู้ที่ละแล้วซึ่งสังโยชน์ทั้ง 10 ข้อ เรียกว่า บรรลุอรหันต์หรือเข้าสู่พระนิพพาน ผู้บรรลุฌานนี้ ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิ