ฟันคุด (Impacted tooth) สาเหตุ และการถอนฟันคุด

14112

ฟันคุด (Impacted tooth) หมายถึง ฟันที่ไม่มีการเจริญ และพัฒนาขึ้นมาในปากตามสภาพปกติทั่วไปได้ อาจเนื่องมาจากถูกฟันข้างเคียงกระดูกเหงือกที่ปกคลุมหนา หรือเนื้อเยื่อข้างเคียงกันไว้ไม่ให้ขึ้น ทำให้ฟันซี่นั้นซึ่งขึ้นแล้วเพียงบางส่วนหรือยังไม่ขึ้นเลยไม่สามารถขึ้นได้อีกต่อไป

ชนิดฟันคุด
1. ฟันคุดที่ส่วนตัวฟันขึ้นมาในช่องปากได้ทั้งหมด (Erupted third tooth)
2. ฟันคุดที่ขึ้นมาในช่องปากได้บางส่วน (Partially erupted third molar tooth)
3. ฟันคุดที่ไม่มีส่วนตัวฟันขึ้นมาในช่องปาก (Unerupted third molar tooth)

ฟันเหล่านี้ไม่มีหน้าที่ในการบดเคี้ยวและทำความสะอาดได้ยาก เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวด บวม หรือการติดเชื้อในช่องปาก

ฟันคุดที่พบบ่อย ๆ ได้แก่ ฟันกรามซี่ที่สาม ฟันเขี้ยวและฟันกรามน้อยล่าง ที่พบบ่อยที่สุดคือฟันกรามซี่ที่สามเนื่องจากเป็นฟันซี่สุดท้ายที่โผล่ขึ้นในช่องปาก และอยู่ส่วนหลังสุดของกระดูกขากรรไกร ถ้ากระดูกขากรรไกรมีขนาดเล็กก็จะไม่มีเนื้อที่มากพอสำหรับให้ฟันกรามซี่นี้ขึ้นมาได้ตามปกติ หรือผู้ที่เป็นโรคแคระแกรน (Cretinism) มีถุงน้ำ (Cyst) เนื้องอก (tumor) การอักเสบเฉพาะที่ สิ่งเหล่านี้ก็เป็นอุปสรรคขัดขวางการเกิดขึ้นของฟันซี่สุดท้ายทำให้ฟันไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติ

ฟันคุดที่พบบ่อย รองจากฟันกรามซี่ที่สาม คือฟันเขี้ยวตรงมุมปาก (canine) เนื่องจากขึ้นมาภายหลังจากฟันหน้าและฟันกรามน้อยขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว จึงมักพบว่าจะขึ้นโดยซ้อนกับฟันหน้าหรือยังคงฝังตัวในกระดูกขากรรไกร ส่วนฟันกรามน้อยล่างจะขึ้นหลังจากที่ฟันเขี้ยวและฟันกรามซี่ที่หนึ่งขึ้นแล้ว

ฟันเขี้ยวตรงมุมปาก (canine) ซึ่งขึ้นเมื่ออายุ 11-13 ปี ฟันซี่นี้อาจแทงทะลุเพดานปากออกมาหรือนอนอยู่ใต้รากฟันข้างเคียง บางรายเข้าไปในไซนัสก็มี

ฟันคุดที่พบได้บ่อยในวัยหนุ่มสาว 17-5 ปี ก็คือฟันกรามซี่สุดท้าย (เขี้ยวซาวหรือฟันกรามซี่ที่ 3 หรือ wisdom tooth) ขึ้นไม่ตรงที่ขึ้นชนฟันซี่อื่น ชนกระดูกขากรรไกรหรือนอนขวาง บางครั้งทำให้เจ็บปวด อักเสบหรือบวมอย่างรุนแรง

ฟันคุด เป็นโรคฟันของคนยุคใหม่หรือคนในเมือง และมีโอกาสพบได้มากกว่าคนในชนบท เพราะคนชนบทที่อยู่ในท้องถิ่นไกลความเจริญ อาหารส่วนใหญ่เป็นพวกเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นอาหารหยาบที่ต้องใช้แรงในการเคี้ยวเต็มที่ ช่วยให้กระตุ้นการเติบโตของรากฟันให้สมบูรณ์ขึ้น แต่คนยุคใหม่หรือคนในเมือง อาหารที่รับประทานส่วนใหญ่มีความแข็งหรือหยาบน้อยลง ทำให้การบดเคี้ยวน้อยลง ขาดสิ่งที่จะไปกระตุ้นความเจริญเติบโตของขากรรไกร ขากรรไกรจึงลดขนาดลง ทำให้ขากรรไกรเล็กเกินกว่าที่จะรองรับฟันทั้งหมดได้

สาเหตุการเกิดฟันคุด
1. สาเหตุเฉพาะแห่ง
– เนื่องจากขากรรไกรเจริญไม่เต็มที่ ทำให้ไม่มีเนื้อที่พอเพียง
– ฟันน้ำนมหลุด (ถูกถอน) ไปก่อนกำหนด ทำให้ฟันที่ขึ้นใหม่เกซ้อน เกิดฟันคุดได้ง่าย
– ฟันน้ำนมค้างอยู่นานเกินไป
– ฟันข้างเคียงขึ้นอย่างไม่เป็นระเบียบ
– กระดูกที่คลุมบนฟันหรือรอบๆ ฟันมีความหนาแน่นผิดปกติ
– เนื้อเยื่อที่คลุมตัวฟันมีการหนาตัวและเหนียวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการอักเสบเรื้อรังเป็นเวลานานๆ
– การเปลี่ยนแปลงจากการอักเสบในกระดูกของโรคที่เป็นผดผื่นในเด็ก (exanthematous diseases)

2. สาเหตุจากความผิดปกติของร่างกาย
2.1 สาเหตุก่อนคลอด
– กรรมพันธุ์ หมายถึงพ่อหรือแม่ที่มีฟันคุด ถ่ายทอดการมีฟันคุดแก่ลูก
-พันธุ์ทาง หมายถึง ทั้งพ่อและแม่ไม่มีฟันคุดเลย แต่ลูกมีฟันคุด เพราะได้รับส่วนที่ไม่สมดุลกันมาจากพ่อและแม่ เช่น รับขากกรรไกรขนาดเล็กจากแม่ รับฟันซี่โตจากพ่อ

2.2 สาเหตุหลังคลอด
– โรคกระดูกอ่อน
– โรคโลหิตจาง
– โรคซิฟิลิสที่เป็นมาแต่กำเนิด
– วัณโรค
– ต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติ
– โรคขาดสารอาหาร

ความจำเป็นในการถอนฟันคุด
เมื่อตรวจและวินิจฉัยพบฟันคุดในระยะแรก ทันตแพทย์จะแนะนำให้รีบผ่าเอาออก ทั้งนี้เพราะว่าขณะที่ผู้ป่วยยังมีอายุน้อยร่างกายยังแข็งแรงการซ่อมแซมบาดแผลได้ดี และกระดูกที่ปกคลุมยังไม่แข็งแรงมากนัก ง่ายต่อการกรอกระดูกและถอนฟัน เมื่อถอนฟันแล้ว แผลจากการถอนฟันจะหายได้เร็ว มีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อน และเกิดผลกระทบต่อเนื้อเยื่อปริทันต์ของฟันกรามซี่ที่อยู่ข้างเคียงน้อย กระดูกสามารถสร้างตัวได้เร็ว โดยความจำเป็นในการถอนฟันคุด มีดังนี้
1. เกิดการอักเสบของเหงือกรอบฟันคุด
การอักเสบของเหงือกรอบฟันคุด มักพบเกิดกับฟันคุดซี่ล่างมากที่สุด การอักเสบเกิดจากการติดเชื้อบริเวณฟันคุดกับกระดูกและเหงือกโดยรอบหากมีหนองใต้บริเวณเหงือกจะเกิดอาการปวด และทำให้อ้าปากไม่ขึ้น (trismus) เชื้อที่ทำให้เกิดอาการอักเสบ ได้แก่ Streptococci staphylococci และ Vincent spirochete ซึ่งเป็นเชื้อที่พบทั่วไปภายในช่องปาก

การติดเชื้ออาจเกิดเฉพาะเหงือกบริเวณรอบฟันคุดหรือกระจายไปยังเหงือก และบริเวณบริเวณใกล้เคียง จนทำให้แก้มเกิดอาการบวม และอ้าปากไม่ขึ้น และผู้ป่วยบางรายอาจพบอาการเกิด cellulitis ทั้งนี้ หากฟันคุดไม่สามารถขึ้นได้จนสมบูรณ์ การอักเสบหรือการติดเชื้อจะเกิดแบเป็นๆ หายๆ สลับกันเรื่อยไป

2. โรคปริทันต์
หลังรับประทานอาหารมักพบเศษอาหารติดอยู่ระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ด้านข้าง จากนั้น จะเกิดการหมักหมม และเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดการติดเชื้อ และอักเสบขึ้นได้ รวมถึงมีการละลายของกระดูกฟัน เกิดเป็นร่องลึกปริทันต์ด้านหลังทำให้ฟันกรามซี่ด้านข้างโยกและอาการขยายรุนแรงมากขึ้น จึงจำเป็นต้องถอนฟันคุดออกก่อนที่จะเกิดการอักเสบหรือขณะที่มีอาการอักเสบไม่รุนแรง

3. ฟันผุ
การเติบโต และขยายจำนวนของเชื้อแบคทีเรียจากการอาศัยเศษอาหารที่ติดในซอกฟัน ทำให้เกิดอาการฟันผุทั้งฟันผุในฟันคุด และฟันข้างเคียงที่ติดกัน และถึงแม้จะอุดรอยฟันผุแล้วก็ตาม ก็ยังมีโอกาสเกิดฟันผุได้อีก ดังนั้น การถอนฟันคุดออกก่อน จึงเป็นการช่วยป้องกันฟันผุได้เป็นอย่างดี

4. การละลายของรากฟัน
แรงดันที่เกิดจากการเจริญของฟันคุดอาจทำให้รากฟันของฟันกรามซี่ที่ติดกันละลาย จนทำให้รากฟันตาย เกิดการอักเสบ และอาการปวดได้

5. การเกิดถุงน้ำ
ฟันคุดของขากรรไกล่างมักเกิดถุงน้ำได้บ่อย (dentigerous cyst) กว่าฟันคุดขากรรไกรบน แต่ทั่วไปจะไม่พบอาการปวดแต่อย่างใด และไม่สามารถสังเกตเห็นได้หากไม่ใช้ภาพถ่ายรังสี การเกิดถุงน้ำนี้ มีผลค้างเคียง คือ รากฟัน และกระดูกขากรรไกรค่อยๆถูกทำลาย บางราย พบอาการบวมหรือการขยายของกระดูกขากรรไกรนอกจากนั้น ถุงน้ำที่เกิดขึ้นจะดันฟันคุดให้เคลื่อนไปจากตำแหน่งเดิมได้

6. ผลข้างเคียงหากมีการฉายรังสี
บางรายที่เข้ารับการรักษาโรคฟันหรือโรคในช่องปากต่างๆด้วยการฉายรังสีรักษา (Ratiotherapy) หากบริเวณฉายรังสีอยู่ฟันคุดมักมีโอกาสที่เนื้อเยื่อเหงือกรอบฟันคุดเกิดการอักเสบได้ง่าย รวมถึงมีโอกาสทำให้รากฟันคุด และกระดูกด้านล่างตายได้ ดังนั้น หากถอนฟันคุดออกก่อนได้รับการฉายรังสีจะช่วยลดผลข้างเคียงของการรักษาด้วยรังสีในช่องปากได้

7. เกิดอาการปวดบริเวณฟันคุด
ฟันคุดที่เจริญขึ้นเกิดการดันแทรกฟันซี่ด้านข้าง รากฟันด้านข้างละลาย เกิดการตกค้างของเศษอาหารจนเกิดการอักเสบ หรือเกิดฟันผุ ผลที่ตามมา คือ เกิดอาการปวดขึ้นบริเวณเหงือกรอบฟันคุด และอาจมีอาการปวดรุนแรงจนถึงขมับเมื่อเกิดการอักเสบมาก อาการเหล่านี้ จะหายขาดได้เมื่อถอนฟันคุดออก

8. ฟันเกซ้อน
แรงดัน และการเจริญของฟันคุดจะทำให้ฟันหน้าล่างเกซ้อนกันได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันการเกซ้อนของฟัน จึงต้องถอนฟันคุดก่อนหรือหลังการจัดฟัน

9. ฟันคุดขัดขวางการจัดกระดูกขากรรไกร
ฟันคุดที่เจริญบริเวณรอยหักของกระดูกขากรรไกร จะมีการขัดขวางการจัดกระดูกขากรรไกรให้เข้าที่ จึงต้องถอนฟันคุดออกก่อนที่กระดูกขากรรไกรจะเกิดการจัดรูปผิดปกติ

การถอนฟันคุด
เครื่องมือที่ใช้ในการผ่าตัดฟันคุด
1. กระจกส่องช่องปาก
2. ปากคีบสำลี
3. ตัวสำรวจ
4. มีดผ่าตัด
5. เครื่องแยกเยื่อหุ้มกระดูก
6. เครื่องดึงรั้งเยื่อหุ้มกระดูก
7. ตะไบกระดูก
8. คีมถอนฟัน เบอร์150, 151
9. Elevator ชนิดตรง และทำมุม
10. คีมจับเข็ม
11. คีมจับหลอดเลือด ชนิดโค้ง และตรง
12. ช้อนขูดสองปลาย
13. กรรไกรตัดไหม
14. เข็มฉีดยา และยาชา
15. เครื่องดูด
16. ตัวหนีบผ้า และผ้าคลุมอก
17. กระบอกฉีดล้าง
18. หัวกรอ ชนิด fissure และ round
19. เข็ม และไหมเย็บแผล
20. ผ้าโปร่ง

ขั้นตอนในการถอนฟันคุด
1. ซักประวัติ และวัดสัญญาณชีพ
2. ถ่ายภาพรังสี และประเมินลักษณะเพื่อวางแผนการผ่าตัด
3. การฉีดยาชาบริเวณเหงือกตรงฟันที่ต้องการถอน
4. เปิดแผลแผ่นเหงือก
5.กรอกระดูก และการตัดแบ่งฟัน
6. ถอนรากฟันและเอาฟันคุดออก
7. ล้างทำความสะอาดแผลบริเวณเบ้าฟัน
8. เย็บปิดแผล

เมื่อเย็บปิดบาดแผลแล้วทันตแพทย์จะแนะนำในการปฏิบัติตัว ให้ยา และนัดตัดไหมอีกอีกครั้ง ประมาณ 7 วัน

อาการข้างเคียงการถอนฟันคุด
1. เลือดออกมาก
การผ่าตัดมีการเปิดบาดแผลบริเวณเหงือก ทำให้มีเลือดไหลออกมา แต่หยุดห้ามเลือดได้ด้วยการกดด้วยผ้าก๊อซ แต่หากผ่าตัดเส้นเลือดมักมีเลือดไหลออกมามาก การกดด้วยผ้าก๊อซอาจไม่ได้ผล ในกรณีนี้ จะใช้วิธีห้ามเลือดด้วยการฉีดยาชา ร่วมกับน้ำเกลือล้างแผล พร้อมกับชะล้างเอาก้อนเลือดที่ตกค้างออกให้หมด ก่อนจะเย็บปิดแผลหลังการผ่าตัดเสร็จ และให้ผู้ป่วยกัดผ้าก๊อซบริเวณเบ้าฟันให้แน่น นาน 5 – 10 นาที

2. การบวม
หลังการถอนฟันคุดมักเกิดอาการบวมของแผลบริเวณเหงือก และกระพุ้งแก้มโดยรอบ โดยเฉพาะหลังการถอนฟันในวันที่ 2 ซึ่งจะบวมมากที่สุด หลังจากนั้น แผล และเหงือกที่บวมจะเริ่มยุบตัวลง และหายเป็นปกติภายใน 1 สัปดาห์ ทั้งนี้ วิธีช่วยระงับหรือลดอาการบวม อาจใช้น้ำแข็งประคบก็สามารถช่วยได้เช่นกัน

3. การติดเชื้อ
หลังการถอนฟันคุด หากอาการบวมไม่ยุบลง หรือพบอาการบวมมากขึ้น ซึ่งมักเกิดในช่วง 3-5 วัน หลังการถอนฟันคุดออก แสดงถึงการติดเชื้อ และเกิดการอักเสบ ผู้ป่วยมีอาการปวด และอาจมีไข้ร่วมด้วย ทั้งนี้ หากพบอาการดังกล่าว ให้เข้าพบแพทย์ทันที

การติดเชื้อหลังการถอนฟันคุดมีสาเหตุในหลายด้าน อาทิ การทำความสะอาดอุปกรณ์หรือวัสดุที่ใช้ในการถอนฟันไม่สะอาดเพียงพอหรือหลังการถอนฟันมีการดูแลช่องปากไม่ดี ทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณแผล

4. Alveolar osteitis (dry socket)
อาการนี้ มักพบกับการถอนฟันคุดของขากรรไกรล่างเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่พบในฟันคุดบน ซึ่งมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการดูแลหลังการถอนฟันที่ไม่ดีพอ รวมถึงการติดเชื้อ

5. Pyogenic granuloma
อาการนี้ มีสาเหตุสำคัญมาจากการทำความสะอาดแผลผ่าตัดก่อนเย็บปิดไม่ดีพอ รวมถึงไม่มีการเลาะขอบกระดูกที่แตกออกให้หมด ทำให้เกิดการติดเชื้อ และอักเสบภายในแผลเกิดขึ้น

6. อ้าปากไม่ขึ้น
หลังการผ่าตัดมักเกิดอาการบวมในใน 2 วัน และมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ รวมถึงอาจเกิดการอักเสบของแผล ทำให้ไม่สามารถอ้าปากได้กว้างตามปกติ นอกจากนั้น ยังส่งผลต่อการพูดที่ไม่สามารถอ้าปากได้ตามปกติ และการรับประทานอาหารที่ไม่สามารถเคี้ยวบดอาหารได้มากนัก เพราะมีอาการปวดเกิดขึ้น ซึ่ง