สารไดออกซิน

8065

ปัจจุบันบรรจุภัณฑ์ต่างๆที่ใช้สำหรับห่อสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารได้รับความนิยมในการนำกล่องกระดาษมาผลิตภัณฑ์เพื่อใช้กันอย่างกว้างขวาง เนื่องด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากล่องกระดาษมีราคาต้นทุนที่ถูก สามารถใช้งานได้หลากหลาย ออกแบบ และดีไซด์ได้ตามต้องการ นอกจากนั้นยังสามารถย่อยสลายได้อีกด้วยหรือสามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือใช้ซ้ำได้อีก เช่น กล่องขนมปัง กระดาษห่ออาหาร เป็นต้นแต่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มักผ่านกระบวนการฟอกเยื่อเพื่อเตรียมผลิตแผ่นกระดาษหรือกล่องผลิตภัณฑ์ โดยมีการใช้คลอรีนหรือสารประกอบคลอรีนในการฟอกเยื่อ ซึ่งจะเกิดการปนเปื้อนของสาร organically bound chlorine และสารประกอบไดออกซิน (polychlorinated dibenzo-p-dioxin) ในบรรจุภัณฑ์ตามมา

สารประกอบไดออกซิน (polychlorinated dibenzo-p-dioxin) เป็นอนุมูลของสาร organically bound chlorine ที่เป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่งที่มักพบในผลิตภัณฑ์บรรจุอาหาร สารชนิดนี้มีการปนเปื้อนในบรรจุภัณฑ์ได้ในขั้นตอนการฟอกเยื่อกระดาษเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ โดยกระบวนการที่มีการใช้สารคลอรีน และสารประกอบคลอรีนสำหรับการฟอก

บรรจุภัณฑ์อาหาร

การเกิดสารก่อมะเร็งดังกล่าวด้วยการใช้สารคลอรีนเป็นตัวฟอกจะเกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างคลอรีนกับลิกนินในเยื่อกระดาษ แต่ไม่ทำปฏิกิริยากับเซลลูโลส ด้วยปฏิกิริยา 2 แบบ คือ
1. ปฏิกิริยาการแทนที่ (substitution) ซึ่งจะทำให้เกิด discrete compounds  ซึ่งก็คือ organically bound chlorine และสารประกอบไดออกซินตามมา
2. ปฏิกิริยาการรวมตัว (addition) ที่เกิดจากพันธะโควาเลนท์ระหว่างคลอรีนกับลิกนิน และสร้างสารประกอบไดออกซินตามมาเช่นกัน

ส่วนการฟอกด้วยสารประกอบคลอรีนชนิดอื่นๆ จะทำให้เกิดเพียง organically bound chlorine แต่จะไม่ทำให้เกิดสารประกอบไดออกซิน

ปัจจุบันมีการศึกษาหาปริมาณการปนเปื้อนของสาร organically bound chlorine ในบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆของเจ้าหน้าที่กรมวิทยาศาสตร์บริการพบว่า
1. บรรจุภัณฑ์ประเภทแก้วกระดาษมีการปนเปื้อนประมาณ 6.55 กรัม/ตันผลิตภัณฑ์
2. บรรจุภัณฑ์ประเภทขามกระดาษมีการปนเปื้อนประมาณ 6.90 กรัม/ตันผลิตภัณฑ์
3. บรรจุภัณฑ์ประเภทจานกระดาษมีการปนเปื้อนประมาณ 6.52 กรัม/ตันผลิตภัณฑ์
4. บรรจุภัณฑ์ประเภทกล่องอาหารมีการปนเปื้อนประมาณ 8.06 กรัม/ตันผลิตภัณฑ์
5. บรรจุภัณฑ์ประเภทกระดาษซับน้ำมันมีการปนเปื้อนประมาณ 8.77 กรัม/ตันผลิตภัณฑ์

สำหรับมาตรฐานที่มีการกำหนดในแถบทวีปยุโรป กำหนดไว้ห้ามมีการปนเปื้อนรในบรรจุภัณฑ์อาหารไม่เกิน 100 กรัม/ตันผลิตภัณฑ์ ส่วนในประเทศอเมริกากำหนดห้ามมีการปนเปื้อนของสารดังกล่าว

พิษของสารประกอบไดออกซิน
organically bound chlorine และสารประกอบไดออกซินจะปนเปื้อนในบรรจุภัณฑ์ และมีโอกาสเข้าสู่ร่างกายผู้บริโภคได้ง่ายหากนำมาใช้ในการห่ออาหาร สารชนิดดังกล่าวเมื่อมีการสะสมในร่างกายซึ่งจะมีผลต่อร่างกายหลายด้าน เช่น
1. ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง
2. ระบบประสาทส่วนกลาง และระบบสมองมีการทำงานผิดปกติ
3. หากสะสมในหญิงตั้งครรภ์จะมีผลต่อการพัฒนาของทารกในครรภ์ เสี่ยงต่ออาการผิดปกติของอวัยวะ และการแท้งได้ง่าย
4. เด็กที่คลอดออกมามักมีผลต่อการพัฒนาการของเด็กที่ผิดปกติ และไม่สามารถพัฒนาการได้ตามธรรมชาติของวัย
5. มักพบอาการความผิดปกติของผิวหนัง เช่น เป็นโรคผิวหนังได้ง่าย
6. มักเกิดโรคแทรกซ้อน และมีอาการป่วยได้ง่าย

การป้องกันการปนเปื้อนของสารสู่ร่างกาย
1. หากเลือกใช้บบรจุภัณฑ์ประเภทกล่องกระดาษในการห่ออาหารควรรองด้วยพลาสติกหรือวัสดุธรรมชาติอย่างอื่นเสียก่อน
2. ไม่ควรใช้บรรจุภัณฑ์จากกระดาษในการห่ออาหารที่มีน้ำหรือมีความซื้นสูง
3. ไม่ควรใช้บรรจุภัณฑ์จากกระดาษในการห่ออาหารที่มีความร้อนสูง
4. หลังการหยิบจับบรรจุภัรฑ์ ก่อนใช้มือรับประทานอาหารควรล้างมือเสียก่อนทุกครั้ง