อธิปไตย 3 และทางสายกลางแห่งอธิปไตย 3

40619

อธิปไตย หมายถึง ความเป็นใหญ่ อันเป็นสิทธิ์หรืออำนาจในตัวบุคคลที่จะนำมาใช้ในการดำรงชีวิต ทั้งในลักษณะของการเป็นผู้นำ ผู้ปกครอง และผู้ปฎิบัติ อันจะทำให้สังคมเจริญ และเกิดความสงบสุข

อธิปไตยมีอยู่ในคนเราทุกคน โดยเฉพาะที่เป็นสิ่งที่สำคัญในการที่จะทำให้ประชาชนได้รับหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม และความสงบสุขในฐานะที่ประชาชนเป็นเจ้าของอธิปไตย และได้มอบอธิปไตย

อธิปไตย 3 ถือเป็นคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่ให้สติต่อผู้ที่เป็นผู้นำอย่างดี เพราะความเป็นใหญ่นี้ให้แก่ผู้นำ อาทิ นักการเมืองหรือตัวแทนเข้าไปใช้ในการบริหารแทนตน โดยมีเป้าหมาย คือ ให้ประเทศชาติมีความสงบสุข และสังคมเกิดความร่มเย็น โดยหลักการซึ่งกำหนดหน้าที่ของผู้ปกครอง และผู้ถูกปกครองที่ดี ปรากฏอยู่ในอธิปเตยยสูตร หรือเรียก อธิปไตย 3

%e0%b8%ad%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b8%9b%e0%b9%84%e0%b8%95%e0%b8%a2

อาธิปเตยยสูตร
1. อัตตาธิปไตย (ความมีตนเป็นใหญ่)
อัตตาธิปไตย คือ ผู้มีตนเป็นใหญ่ โดยการใช้สิทธิ์หรืออำนาจแห่งตนในการกระทำสิ่งใดๆ โดยผู้มีตนเป็นใหญ่จะต้องมีสติเป็นจุดเริ่มต้น และมีปัญญาเจริญควบคู่

2. โลกาธิปไตย (ความมีโลกเป็นใหญ่)
โลกาธิปไตย คือ ผู้มีโลกเป็นใหญ่ โดยการมีปัญญารักษาตน รู้จักพินิจ และเข้าใจถึงจิตของผู้อื่นด้วยจิตที่เป็นกลาง ไม่มีอคติในผู้อื่น เป็นผู้ยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่น

3. ธรรมาธิปไตย (ความมีธรรมเป็นใหญ่)
ธรรมาธิปไตย คือ ผู้มีธรรมเป็นใหญ่ ด้วยการประพฤติในหลักธรรมคำสอน ละซึ่งอกุศลกรรมที่มีโทษ บำเพ็ญกุศลกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดได้

อรรถาธิบายอธิปไตย 3
1. อัตตาธิปไตย (ความมีตนเป็นใหญ่)
อัตตาธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดขึ้นอยู่กับบุคคลคนเดียว ซึ่งหมายความว่า บุคคลคนเดียวเป็นศูนย์รวมแห่ง อำนาจการปกครองบ้านเมืองทั้งหมด ในอำนาจ 3 ทาง
1) อำนาจบริหาร
2) อำนาจตุลาการ
3) และอำนาจนิติบัญญัติ

อำนาจ 3 ทางนี้ หากรวมอยู่ที่บุคคลคนเดียวกัน บุคคลอื่นเพียงเป็นผู้รับสิ่งหรือนโยบายไปปฏิบัติให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของเจ้าของอำนาจเท่านั้น จึงเรียกว่า ระบบกษัตริย์แบบสมบูรณาสิทธิราชย์ อันมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมอำนาจการปกครอง หากเป็นระบบสาธารณรัฐ ประมุขหรือประธานประเทศ หรือประธานาธิบดี จะเป็นศูนย์รวมอำนาจ ซึ่งมักจะเรียกระบบนี้ว่า เป็นระบบเผด็จการ

ลักษณะผู้ไม่มีอัตตาธิปไตยที่ดี
– เชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป
– สำคัญผิดในแนวคิดของตนเอง
– เป็นผู้ไม่รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
– มุ่งหวังแต่ประโยชน์ส่วนตน
– หวังแต่ประโยชน์จากผู้อื่น

2. โลกาธิปไตย (ความมีโลกเป็นใหญ่)
โลกาธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดขึ้นอยู่กับความเห็นของคนหมู่ของคนส่วนใหญ่ ซึ่งหมายความว่า ประชาชน คนส่วนใหญ่ มีความเห็นอย่างไรก็ถือเอาตามนั้น โลกาธิปไตยนี้ ปัจจุบันมีใช้ในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ถ้าเป็นประเภทประชาธิปไตยโดยตรงก็จะให้ประชาชนทั้งประเทศมาประชุมปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับนโยบาย การจัดการ การบริหารบ้านเมือง โดยประชาธิปไตยโดยตรงจะนำมาใช้ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย ส่วนประชาธิปไตยประเภทโดยอ้อม ซึ่งเป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทน กล่าวคือ เมื่อไม่สามารถนำประชาชนมาประชุมแสดงความคิดเห็นพร้อมกันได้ทั้งประเทศ ก็ให้ประชาชนเหล่านั้นเลือกตัวแทนของตนขึ้นมาทำหน้าที่แทนตน ตัวแทนเหล่านั้นออกเสียงหรือลงคะแนนเสียงจับสลาก แสดงความคิดเห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ถือว่าเป็นความคิดเห็นของบุคคลหรือมติมหาชนที่คัดเลือกผู้ใดในชุมชนคนของตนเองที่คัดเลือกของประชาชนส่วนใหญ่ที่เลือกกันเข้ามาหรือเลือกตนมา

ลักษณะผู้ไม่มีโลกาธิปไตยที่ดี
– เชื่อข่าวสารหรือผู้อื่นอย่างไร้เหตุผล
– ขาดความรู้ ขาดประสบการณ์
– หลอกลวงเพื่อหวังประโยชน์จากส่วนรวม
– ลุ่มหลงหรืองมงายง่าย
– หลงใหลในวัตถุหรือค่านิยม

3. ธัมมาธิปไตย (ความมีธรรมเป็นใหญ่)
ธัมมาธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดอันอยู่กับ “ธรรมะ” คือ ความถูกต้องโดยไม่คำนึงว่าจะเป็นความเห็นของคนส่วนใหญ่หรือคนส่วนน้อยหรือแม้จะเป็นความเห็นของบุคคลคนเดียว (ปัจเจกชน) ถ้าเป็นความเห็นที่ชอบธรรมหรือเป็นความเห็นที่ถูกต้องก็เห็นพ้องตามสิ่งนั้น

พระพุทธเจ้าทรงยกย่องธัมมาธิปไตยว่าประเสริฐสุดดีที่สุด ส่วนโลกาธิปไตยก็ยังดีกว่าเอกาธิปไตยจะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ตำหนิระบบเผด็จการที่เป็นเอกาธิปไตย ถ้าเผด็จการนั้นยึดมั่นในคูณธรรม ในเหตุในผลอันถูกต้อง มีความเป็นธรรม และมีความยุติธรรมต่อประชาชนเหมือนกับพ่อปกครองลูก และทรงมิได้ยกย่องว่าระบอบประชาธิปไตย หรือ โลกาธิปไตย เป็นระบบการปกครองที่ประเสริฐสุด เพราะก็มีจุดด้อยเช่นกัน และแม้นักปรัชญาทางการปกครอง ก็เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ โดยกล่าวว่า ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่มีจุดด้อยน้อยที่สุด

ลักษณะผู้ไม่มีเป็นธรรมาธิปไตยที่ดี
– ไม่ยึดมั่นในหลักธรรมความดี
– ไม่ยึดหลักเหตุผล
– ขาดการใช้ปัญญาพิจารณา
– ขาดความรู้ในหลักธรรม
– เชื่อ และศรัทธาในศาสนาที่ไร้เหตุผล

%e0%b8%ad%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b8%9b%e0%b9%84%e0%b8%95%e0%b8%a21

ทางสายกลางแห่งอธิปไตย 3
อธิปไตยทั้ง 3 แบบ หากยึดหรือนำเพียงแบบใดแบบหนึ่งย่อมส่งผลดี และผลเสียควบคู่กัน แต่หากนำลักษณะหรือหลักการบางอย่างมารวมเป็นข้อปฏิบัติร่วมกัน ก็ย่อมส่งผลดี และเกิดประสิทธิภาพในการปกครองหรือการใช้ชีวิตได้มากกว่า แนวทางนี้ เรียกว่า ทางสายกลางแห่งอธิปไตย 3 ได้แก่
– เป็นผู้รู้จักใช้ปัญญาพิจารณา
– เป็นผู้มีความเด็ดขาด และเชื่อมั่นในตนเอง
– เป็นผู้รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
– รู้จักตามทันข่าวสาร และเหตุการณ์ของโลก
– ไม่เชื่อข่าวสารหรือผู้อื่นโดยง่าย และเชื่ออย่างมีเหตุมีผล
– ใช้หลักธรรมเป็นพื้นฐานประกอบการพิจารณาตัดสินใจ
– ปฏิบัติตามกฎ ศีลธรรม และประเพณีอันดีงามของสังคม
– มั่นศึกษาหาความรู้อยู่เป็นนิจ