โรคพยาธิชนิดต่างๆ

13692

โรคพยาธิ หมายถึง โรคที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตประเภทพาราสิต (parasite) ที่อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์ มีการเจริญเติบโต แย่งกินสารอาหาร เลือด และมีการสืบพันธุ์เพิ่มจำนวน มีทั้งชนิดที่เป็นอันตราย และชนิดที่ไม่เป็นอันตรายเพียงแค่แย่งกินสารอาหารเท่านั้น

กลุ่มของโรคพยาธิ สามารถจัดได้ 3 กลุ่ม คือ
พยาธิตัวกลม มีลักษณะลำตัวกลม ไม่มีปล้อง หัวท้ายเลียวแหลม มักพบในเนื้อสัตว์ สัตว์น้ำ และอาหาร พืชผักต่างๆที่ไม่สะอาอาด โรคที่ก่อ ได้แก่
– โรคพยาธิไส้เดือน
– โรคพยาธิเส้นด้าย/พยาธิเข็มหมุด
– โรคพยาธิปากขอ
– โรคพยาธิตัวจี๊ด
– โรคพยาธิแส้ม้า
– พยาธิสตรองจีลอยด์
– โรคเท้าช้าง

โรคพยาธิ

พยาธิตัวแบน/พยาธิตัวตืด มีลักษณะลำตัวแบน มีปล้อง มักพบในเนื้อสัตว์ เช่น หมู วัว กระบือ โรคที่ก่อ ได้แก่
– โรคพยาธิตัวตืด

พยาธิใบไม้ มีลักษณะลำตัวแบนเหมือนพยาธิตัวแบน แต่ไม่มีปล้อง มักพบในสัตว์น้ำพวกปลา กุ้ง หอย โรคที่ก่อ ได้แก่
– โรคพยาธิใบไม้ในเลือด
– โรคพยาธิใบไม้ในตับ

พยาธิสามารถเข้าสู่ร่างกายของคนเราได้หลายทางด้วยกัน ได้แก่
1. ทางปาก ด้วยการกินอาหารที่มีการปนเปื้อนไข่หรือตัวอ่อนพยาธิเข้าไป ซึ่งมักพบการระบาดของพยาธิด้วยพฤติกรรมการบริโภคอาหารสุกๆดิบๆ ที่ไม่ได้ผ่านความร้อนที่เพียงพอ

2. ทางผิวหนัง มักพบการเข้าสู่ร่างกายด้วยการซอนไซของพยาธิเข้าทางผิวหนังหรือบริเวณที่มีบาดแผล

3. สัตว์พาหะ พยาธิอาจเข้าสู่ทางผิวหนังหรือกระแสเลือดด้วยการกัดของพาหะนำโรคบางชนิดที่สามารถแพร่พยาธิเข้าสู่แผลบริเวณที่ทีการกัดต่อย เช่น โรคเท้าช้าง

อาการเบื้องต้นที่อาจเสี่ยงต่อโรคพยาธิ
1. น้ำหนักลด มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือท้องเสียบ่อย
2. มีอาการหิวบ่อย กินจุ
3. มีอาการบวมแดง เป็นตุ่มนูน หรือผื่นแดงตามบริเวณผิวหนัง
4. มีอาการเจ็บหน้าอก ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือตาพร่ามัว
5. มีอาการคันตามผิวหนังหรือบริเวณทวารหนัก
6. มีอาการตัวเหลือง ตับแข็ง ท้องบวมโต

การตรวจวินิจฉัย
การตรวจว่าเป็นโรคพยาธิหรือไม่ แพทย์จะทำการตรวจบริเวณทวารหนักหรือตรวจอุจจาระด้วยการส่องกล้องหาไข่พยาธิหรือตัวพยาธิ สำหรับแนวทางการตรวจด้วยการส่องกล้องจากอุจจาระ ผู้ตรวจควรเก็บอุจจาระในช่วงตื่นนอนตอนเช้าใหม่ ซึ่งจะทำมีโอกาสตรวจพบพยาธิมากที่สุดหากเกิดเป็นโรคพยาธิ

การรักษาโรคพยาธิ
การรักษาโรพยาธิ ปัจจุบันใช้วิธีรับประทานยาถ่ายพยาธิ แบ่งได้ 3 ชนิด ได้แก่
1. Albendazole ใช้สำหรับกำจัดพยาธิทุกชนิด ได้แก่ พยาธิเส้นด้ายหรือพยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน พยาธิปากขอ พยาธิใบไม้ และพยาธิตัวตืด สามารถฆ่าไข่พยาธิได้บางชนิด เช่น พยาธิไส้เดือน ปากขอ และแส้ม้า
2. Mebendazole ใช้สำหรับกำจัดพยาธิตัวกลมทุกชนิด เช่น พยาธิปากขอ พยาธิแส้ม้า พยาธิเข็มหมุด/พยาธิเส้นด้าย พยาธิไส้เดือน พยาธิตัวจี๊ด
3. Niclosamide ใช้สำหรับกำจัดพยาธิตัวตืด ได้แก่ พยาธิตัวตืดหมู และพยาธิตัวตืดวัว

การป้องกันโรคพยาธิ
1. เลือกรับประทานที่ปรุงสุก ทั้งเนื้อสัตว์ และผักชนิดต่างๆ
2. การรับประทานผักดิบ ควรล้างให้สะอาดทุกครั้ง
3. การใช้มือรับประทานอาหารโดยการหยิบจับอาหารโดยตรง ควรล้างมือให้สะอาดก่อนทุกครั้ง
4. การดื่มน้ำ ควรดื่มน้ำสะอาดที่ผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพแล้ว ไม่ควรดื่มน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติโดยตรง
5. การเก็บรักษาอาหารหรือของกินของใช้ต่างๆ ควรเก็บในที่มิดชิดที่แมลงหรือสัตว์พาหะนำโรคไม่สามารถเข้าสัมผัสได้
6. การเหยียบลุยน้ำหรือการสัมผัสกับน้ำ ควรสวมรองเท้าบูททุกครั้ง และไม่ควรสัมผัสน้ำบริเวณที่ร่างกายมีแผลโดยตรง
7. สวมเสื้อผ้าให้มิดชิดหรือสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากการกัดต่อยของพาหะนำพยาธิต่างๆ
8. มั่นรักษาความสะอาดเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม รวมไปถึงสุขลักษณะภายในที่อยู่อาศัยให้สะอาดเสมอ