โรคระบบอวัยวะรับสัมผัส (Sensory system disease) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะรับสัมผัส ได้แก่ โรคในระบบการมองเห็น ระบบการได้ยิน ระบบความรู้สึกทางกาย ระบบการลิ้มรส ระบบการได้กลิ่น และระบบการทรงตัว
โรคระบบอวัยวะรับสัมผัสแบ่งตามโรคที่เกิดในระบบย่อยประกอบด้วย
1. โรคระบบการมองเห็น (Visual system disease) หรือโรคตา (Eye diease)
– ตาบอดสี (colour blindness)
– สายตาสั้น
– สายตายาว
– โรคต้อเนื้อ ต้อเนื้อ
– โรคต้อหิน (Glaucoma)
– โรคต้อกระจก (Cataract)
– โรคตากุ้งยิง
– โรคริดสีดวงตา
– โรคตาแดง
– โรคตาอักเสบ
– โรคตาเหล่หรือตาเข
– โรคเอเอ็มดี หรือ โรคจุดรับภาพของจอตาเสื่อม (Age-related macular degeneration)
– โรควุ้นตาเสื่อม (Vitreous degeneration)
2. โรคระบบการได้ยิน (Auditory system disease)
– หูตึง
– หูอื้อ
– หูหนวกหรือสูญเสียการได้ยิน
– แก้วหูทะลุ
– โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Miniere’s Disease)
– โรคหูอักเสบ
– โรคหูน้ำหนวก
– โรคหินปูนในหู
– เชื้อราในหู
– เนื้องอกประสาทหู
3. โรคระบบการลิ้มรส (Gustatory system disease)
– โคนลิ้นอักเสบ
– ลิ้นหนา
– ลิ้นแตก
– มะเร็งลิ้น
4. โรคระบบการได้กลิ่น (Olfactory system disease)
– โรคไม่ได้กลิ่น
5. โรคระบบความรู้สึกทางกาย (Somatosensory system disease) เป็นกลุ่มโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบต่างๆ โดยเฉพาะโรคในระบบประสาท และสมอง โรคในระบบของหู โดยมีความผิดปกติของเซลล์ประสาท การนำกระแสประสาทเป็นส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญ
6. โรคระบบการทรงตัว (vestibular system disease) เป็นความผิดปกติในการทรงตัวทั้งการทรงตัวขณะอยู่นิ่ง และการทรงตัวขณะเคลื่อนไหว ซึ่งอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นจะเกิดจากอาการแทรกซ้อนที่เป็นผล มาจากโรคในระบบต่างๆ ได้แก่ โรคของหู โรคของตา โรคการรับสัมผัสทางกาย โรคระบบข้อ กระดูก และกล้ามเนื้อ และโรคระบบประสาท และสมอง
ระบบอวัยวะรับสัมผัส (sensory system disease) ถือเป็นส่วนหนึ่งในระบบประสาท และสมองที่ทำงานร่วมกัน และแยกจากกันไม่ได้ โดยระบบส่วนนี้เป็นส่วนในการทำหน้าที่รับสัมผัส และตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกผ่านระบบเซลล์ประสาทที่ส่งต่อให้สมองทำการประมวลผล และสั่งการตอบสนอง ทำให้ร่างกายสามารถรับรู้สิ่งเร้าต่างๆพร้อมตอบสนอง และปรับตัวอย่างเหมาะสมต่อสิ่งเร้าจากสภาพสิ่งแวดล้อมนั้นๆประกอบด้วย
1. ระบบการมองเห็น (Visual system) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการมองเห็น โดยมีตาเป็นอวัยวะสำคัญ ซึ่งภายในเรตินาของส่วนประกอบตาจะประกอบด้วยเซลล์รับแสงจำนวนมาก พร้อมส่งผ่านสัญญาณเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางประมวลผล
2. ระบบการได้ยิน (Auditory system) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการรับสัมผัสคลื่นเสียงด้วยเซลล์ขนที่อยู่ในหู และส่งผ่าเซลล์ประสาทสู่ระบบประสาทส่วนกลางเพื่อประมวลผล
3. ระบบความรู้สึกทางกาย (Somatosensory system) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการรับความรู้สึกทั้งภายใน และภายนอกร่างกาย ผ่านเซลล์ประสาทที่อยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆที่เชื่อมต่อกับระบบประสาทส่วนกลางของสมอง การรับความรู้สึกทางกายแบ่งออกเป็น การรับความรู้สึกจากภายนอกร่างกาย เช่น ความร้อน ความหนาว เป็นต้น และการรับความรู้สึกจากภายในร่างกาย เช่น ปวด แสบ จุกแน่น เป็นต้น
4. ระบบการได้กลิ่น (Olfactory system) เป็นส่วนที่เชื่อมโยงสู่ระบบประสาทส่วนกลางโดยมีอวัยวะที่สำคัญ เรียกว่าจมูก ซึ่งประกอบด้วยโพรงจมูกที่มีเซลล์รับกลิ่น (olfactory cell) จำนวนมาก คอยรับกลิ่นผ่านการหายใจเอาอากาศที่มีสารเคมีหรือไอระเหยขนาดเล็กเชื่อมต่อสู่สมองสำหรับประมวลผล
5. ระบบการลิ้มรส (Gustatory system) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการรับรสชาติจากอาหารหรือสารเคมี โดยมีลิ้นเป็นอวัยวะสำคัญที่ประกอบด้วยเซลล์ประสาทรับรสจำนวนมากทำหน้าที่ในการรับรส พร้อมส่งต่อให้สมองประมวลผล สามารถแบ่งรสชาติออกเป็น 5 อย่าง คือ รสหวาน รสขม รสเค็ม รสเปรี้ยว และรสอุมามิ ส่วนรสเผ็ดนั้นไม่ถือว่าเป็นรสชาติที่ลิ้นรับรสได้ เนื่องจากรสเผ็ดเกิดจากสาเหตุของอาหารหรือสารเคมีที่ลิ้นสัมผัสมีความเข้มข้นของสารที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่เซลล์รับรสจนทำให้เกิดความรู้สึกแสบร้อน สารจำพวกนี้ ได้แก่ สารแคปไซซิน (Capsaicin) ที่พบมากในพืชจำพวกพริก
6. ระบบการทรงตัว (vestibular system) เป็นระบบที่มีการทำงานร่วมกันของหลายระบบ ได้แก่
1. ระบบอวัยวะรับสัมผัส ประกอบด้วยหู ตา การรับสัมผัสทางกาย
2. ระบบข้อ กระดูก และกล้ามเนื้อ
3. ระบบประสาท และสมอง