โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือเรียกในชื่ออื่น คือ โรคสมองขาดเลือด และโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โดยเป็นโรคที่เกิดจากภาวะสมองขาดเลือด และออกซิเจนสำหรับหล่อเลี้ยงเนื่้อเยื่อสมอง ที่มีสาเหตุมาจากภาวะหลอดเลือดในสมองตีบตันหรือมีการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด รวมไปถึงการฝังตัวของลิ่มเลือดที่มีการแข็งตัวในหลอดเลือด ทำให้สมองขาดเลือด และออกซิเจนมีผลทำให้ร่างกายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตตามมา ซึ่งสาเหตุนี้เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดในบรรดาผู้ป่วยที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
ภาวะแทรกซ้อนของโรค
เมื่อเกิดภาวะเส้นเลือดในสมองตีบตันที่เกิดจากการอุดตันของไขมันในเส้นเลือดก็มักพบการอุดตันของไขมันในเส้นเลือดบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจเช่นกัน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหัวใจวาย (Heart Attack) ดังนั้น การรักษาโรคหลอดเลือดในสมองตีบตันจะใช้เป็นแนวทางเดียวกันกับโรคหัวใจวาย
ในผู้ัป่วยบางรายที่มีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วยภาวะหลอดเลือดในสมองตบตัน อาจนำไปสู่ภาวะของเส้นเลือดในสมองแตก และเลือดออกในสมอง (Hemorrhagic Stroke) ได้ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิต และการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้อย่างรวดเร็ว
อาการของโรค
สำหรับอาการของโรคจะแบ่งออกเป็น 4 ระดับ
1. อาการเล็กน้อยทั่วไป ซึ่งหายได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ได้แก่
– อาการชาอย่างเฉียบพลันหรืออาการอ่อนแรงบนใบหน้า แขน และขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย
– มีอาการมึนงง สับสน พูดจาไม่ชัด และเข้าใจยาก
– มีอาการตาฟางข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง และหากเกิดขึ้นในขณะขับรถอยู่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
– มีอาการเดินลำบาก วิงเวียน เสียการทรงตัว บางครั้งอาจจะล้มลงไปเฉยๆ
– มีอาการปวดศรีษะอย่างแรงโดยไม่ทราบสาเหตุมาก่อน
2. อาการรุนแรงถึงขั้นเป็นอัมพฤกษ์ ที่เกิดจากเซลล์สมองมีความเสียหายในบางส่วน สามารถรักษาหายได้ในระยะเวลา 3-6 เดือน
3. อาการรุนแรงปานกลางถึงขั้นเป็นอัมพาต ที่เกิดจากเซลล์สมองตายในบางส่วนอย่างถาวร ส่งผลต่ออวัยวะในบางส่วนที่ไม่สามารถขยับได้
4. อาการรุนแรงมากจากภาวะสมองขาดเลือดหรือหลอดเลือดในสมองแตกทำให้เสียชีวิต
นอกจากนั้น ยังมีอาการที่เป็นสัญญาณเตือนที่นำไปสู่การเป็นนโรคหลอดเลือดในสมองตีบ คือ มินิสโตรก หรือทางการแพทย์เรียกว่า Transient Ischemic Attack (TIAs) ที่มีลักษณะอาการเหมือนโรคหลอดเลือดในสมองตีบตันทุกอย่างเพียงแต่เป็นลักษณะการขาดเลือดชั่วคราว และจะหายเองภายในไม่กี่นาที โดยพบมักมีอาการอย่างรวดเร็ว นาน 10-30 นาที ซึ่งการที่มีอาการบ่อยๆอาจเป็นอาการชี้บ่งของโรคหลอดเลือดในสมองตีบตันที่แท้จริง
การรักษา
การรักษาโรค หลอดเลือดในสมองตีบตัน จะทำการรักษาเพื่อให้เลือดสามารถไหลเวียนในหลอดเลือดเพื่อไปเลี้ยงสมองได้ เป็นปกติ ซึงสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การใช้ยาละลายลิ่มเลือด การผ่าตัด และการขยายหลอดเลือด
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรค
1. อายุ เป็นความเสี่ยงตามวัยของผู้ที่มีอายุสูงที่มักพบเกิดโรคนี้ได้ง่ายในวัย 50 ปี ขึ้นไป และจะมีความเสี่ยงเพิ่มเป็น 2 เท่า ทุกๆอายุ 10 ที่เพิ่มขึ้น
2. เชื้อชาติ โดยเฉพาะชาวแอฟริกัน-อเมริกัน และละตินอเมริกันที่พบมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสูงกว่าชาวเอเชีย
3. เพศ มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงสูงถึงร้อยละ 25-30 เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต และขาดความเอาใจใส่ต่อสุขภาพมากกว่าเพศหญิง
4. กรรมพันธุ์ ซึ่งพบว่าพ่อ-แม่ ที่มีประวัติเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบมักส่งผลต่อลูกที่อาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้สูงตามมามากว่าลูกที่ไม่มีประวัติพ่อ-แม่ ที่เป็นโรคนี้
5. ความดันโลหิตสูง ที่เกินมากกว่า 140/90 มิลิเมตรปรอท ซึ่งเป็นภาวะที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้มากถึง 7 เท่า
6. พฤติกรรมการบริโภคต่าง อาทิ
– กลุ่มที่ชอบดื่มเหล้า และสูบบุหรี่จัด
– กลุ่มที่ชอบรับประทานอาหารประเภทแป้ง และไขมันสูง
– กลุ่มที่ไม่ค่อยรับประทานอาหารจำพวกผัก และผลไม้
แนวทางการป้องกัน
1. การเลิกบุหรี่ สารนิโคติน และคาร์บอนมอนอกไซด์มีผลต่อการลดลงของปริมาณออกซิเจนในเลือดสำหรับไปเลี้ยงสมอง นอกจานั้นทำให้เพิ่มความดันโลหิต และการแข็งตัวของลิ่มเลือด สำหรับคนที่หยุดสูบบุหรี่มากกว่า 10 ปี จะมีความเสี่ยงลดลงเท่ากับคนที่ไม่สูบบุหรี่