ปาณาติปาตา หมายถึง การฆ่าสัตว์ ที่กระทำด้วยการมีเจตนาเป็นสำคัญ
ประเภทของปาณาติปาตา
1. สาหัตถิกประโยค หมายถึง การลงมือฆ่าด้วยตนเอง ทั้งการลงมือฆ่าด้วยกายหรือใช้วัตถุทุบตี
2. อาณัตติกประโยค หมายถึง การจ้างวานให้ผู้อื่นลงมือฆ่า ทั้งการสั่งด้วยวาจาหรือสัญลักษณ์
3. นิสสัคคิยประโยค หมายถึง การลงมือฆ่าด้วยการซัดหรือส่งวัตถุจากที่ไกลเพื่อสังหาร อันได้แก่ ธนู หอก ระเบิด และปืน เป็นต้น ทั้งการลงมือฆ่าด้วยตนเองหรือจ้างวานผู้อื่นให้กระทำ
4. ถาวรประโยค หมายถึง การลงมือฆ่าด้วยกับดัก อันได้แก่ หลุมพราง กับดักระเบิด และยาพิษ เป็นต้น อันเป็นความพยายาม และมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า
5. วิชชามยประโยค หมายถึง การลงมือฆ่าด้วยการร่ายเวทย์อันเป็นไสยศาสตร์มนต์ดำ
6. อิทธิมยประโยค หมายถึง การลงมือฆ่าด้วยฤทธิ์เดชอันเกิดแต่ผลแห่งกรรม
การกระทำเพื่อให้ลุแก่ปาณาติปาตา ประกอบด้วยองค์ 5 ประการ คือ
1. ปาโณ หมายถึง สัตว์หรือสิ่งมีชีวิตที่คิดจะฆ่านั้นยังมีชีวิต ยังมีลมหายใจ รวมถึงสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในครรภ์ รอเกิดออกมาเติบโต
2. ปาณสญญิตา หมายถึง คนที่คิดจะฆ่านั้นรับรู้ว่าสัตว์นั้นยังมีชีวิต
3. วธกจิตตัง หมายถึง ผู้ที่ฆ่าสัตว์นั้น เป็นผู้มีเจตนาประสงค์จะทำให้ตาย แต่หากไม่มีเจตนาไม่ถือว่าเป็น วธกจิตตัง
4. อุปักกโม หมายถึง ผู้ที่คิดจะฆ่ามีความพยายามที่คิดจะฆ่า ทั้งการพยายามฆ่าด้วยตนเองหรือวานให้ผู้อื่นกระทำให้
5. เตน มรณัง หมายถึง สัตว์นั้นตายด้วยการถูกลงมือฆ่า
องค์แห่งการลุซึ่งปาณาติบาตา หากครบทั้ง 5 องค์ แล้ว ถือว่าได้ลุซึ่งปาณาติบาตแล้ว แต่หากขาดองค์ใดองค์หนึ่ง ย่อมไม่เป็นการลุซึ่งปาณาติปาต
น้ำหนักปาปแห่งปาณาติปาตา
1. ขนาดสัตว์ และอายุ : หากเป็นสัตว์ใหญ่ย่อมได้รับปาปมาก หากเป็นสัตว์ที่มีอายุมาก ย่อมได้รับปาปมาก
2. คุณของสัตว์ที่ได้กระทำไว้ : หากเป็นสัตว์ที่ทำคุณทำบุญกุศลไว้มาก ย่อมปาปมาก
3. ความพยายามในการฆ่า : หากมุ่งมั่นพยายามมาก ย่อมปาปมาก แต่ตรงกันข้าม หากไม่มีความพยายาม ย่อมได้รับปาปน้อย
4. เจตนาในการฆ่า : หากประสงค์หรือตั้งใจฆ่า ย่อมปาปมาก แต่ตรงกันข้าม หากไม่มีประสงค์หรือเจตนา ย่อมได้รับปาปน้อย
ผลกรรมแห่งปาณาติปาตา
1. อายุสั้น มักถูกฆ่าหรือได้รับอุบัติเหตุ
2. มักพิการ อวัยวะไม่ครบ
3. มักถูกผู้อื่นกลั่นแกล้ง ถูกทำร้าย
4. ร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วยบ่อย
5. เป็นคนขลาด
6. ผู้อื่นหวาดกลัว
7. ไม่มีคนคบ
– ฯลฯ