แมงดาทะเล ถือเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โธรพอด ลักษณะเด่นประกอบด้วยส่วนหัว และส่วนอกที่ติดกัน ถูกหุ้มด้วยกระดองแข็ง มีหนามแข็งด้านบน มีลักษณะคล้ายเกือกม้า ลำตัวอยู่ภายใต้กระดอง มีรยางค์ 8 คู่ คู่แรกเจริญไม่สมบูรณ์ คู่ที่ 2 มีลักษณะเป็นกล้ามใช้ในการจับเหยื่อหรืออาหาร คู่ที่3-7 มีหน้าที่ใช้เป็นขาเดิน คู่ที่ 8 เป็นระยางขนาดเล็กที่เรียกว่า “ชิลาเรีย” ถัดมาเป็นส่วนท้องมีลักษณะเป็นรูปหกเหลี่ยมมีแผ่นเหงือกปกคลุมสำหรับใช้ใน การแลกเปลี่ยนก๊าซ ส่วนถัดมาเป็นส่วนหางที่มีลักษณะเรียว ปลายแหลมคม และแข็ง ใช้สำหรับการการว่ายน้ำ การทรงตัวเหมือหางเสือ นอกจากนั้น ยังทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหวต่างๆ เช่น ใช้ปักบนพื้นเพื่อยึดให้ตัวเองอยู่กับที่เหมือนการปักสมอเรือ เป็นต้น ลักษณะดังกล่าวที่กล่าวมาเรียกสัตว์ชนิดนี้ว่า “แมงดาทะเล” มีทั้งหมด 4 ชนิด และพบในประเทศไทยเพียง 2 ชนิด คือ
1. แมงดาจาน (ไม่มีพิษ) มีขนาดโตกว่าแมงดาถ้วย มีลักษณะหางเป็นสันนูน คล้ายสามเหลี่ยม และมีรอยหยักหรือหนามขนาดเล็กบนสันนูนอย่างเห็นได้ชัด
2. แมงดาถ้วยหรือแมงดาไฟ (ไข่มีพิษ) หรือเหรา เป็นแมงดามีพิษ มีลักษณะลำตัวเล็กกว่าแมงดาจานเกือบ 2 เท่า หางมีลักษณะกลม และเรียบ
สาเหตุของพิษแมงดา
สำหรับแมงดาทะเลบางชนิดจะมีพิษ โดยเฉพาะที่ไขของแมงดา ซึ่งในประเทศไทยมีการศึกษาพบพิษในไข่ของแมงดาถ้วยหรือแมงดาไฟ แต่ในตัวของแมงดานั้นไม่มีพิษแต่อย่างใดสามารถรับประทานได้ตามปกติ แต่เป็นบางช่วงฤดูกาลเท่านั้นส่วนสาเหตุที่กล่าวว่าไข่แมงดามีพิษนั้น จากการศึกษาพบว่า แมงดาถ้วยบางตัวมีการกินแพลงก์ตอนหรือสัตว์ขนาดเล็กที่มีพิษ และสะสมพิษในไข่หรือเกิดจากแบคทีเรียที่อาศัยในแมงดาทะเลมีการสร้างสารพิษ ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงเดือน ก.พ.-มิ.ย. ของทุกปี จากการตรวจสอบสารพิษที่ก่อให้เกิดพิษ คือ tetrodotoxin หรือ saxitoxin ซึ่งมีผลต่อการทำงานของระบบประสาท
การนำแมงดาทะเลมาประกอบอาหารด้วยการผ่านความร้อน ไม่ว่าจะต้ม ปิ้งย่าง หรือทอด ไม่สามารถทำลายความเป็นพิษลงได้ ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการทานแมงดาทะเลในช่วงฤดูวางไขจะเป็นดีที่สุด
อาการที่เกิดจากพิษ
พิษของไขแมงดาถ้วยเคยถูกเสนอข่าวมาแล้วในประเทศไทยต่อเนื่องกันมาหลายปี โดยพบมีอาการหลังการกินไขแมงดาไม่เกิน 1 ชั่วโมงถึง 3 ชั่วโมง คือ มีอาการลิ้นแข็ง พูดไม่ได้ ชาทั่วร่างกาย มีอาการปวดท้อง ถ่ายเหลว วิงเวียน ปวดหัว อาเจียน ร่างกายอ่อนแรง มักมีภาวะระบบหายใจล้มเหลวจนเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตตามมา
การรักษา
ปัจจุบันยังไม่มียารักษาพิษชนิดนี้ และยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันพิษแต่อย่างใด การรักษานั้นมีเพียงการนำพิษออกจากร่างกายเท่านั้น จึงมีโอกาสสูงที่ผู้ป่วยที่ได้รับพิษมีการเสียชีวิตได้หากรับประทานไข่แมงดา ทะเลในจำนวนมากในระยะเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่มีรายงานพบมีผู้ป่วยบางรายในจังหวัดชุมพร ใช้รางจืดช่วยในการขับพิษก่อนเข้าทำการรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งทำให้แพทย์มีความหวังในการสร้างยาต้านพิษชนิดนี้
การป้องกัน และการปฏิบัติ
1. หลีกเลี่ยงการรับประทานไข่แมงดาหรือหารับประทานควรเลี่ยงการรับประทานในช่วงเดือน มกราคม-มิถุนายน ของทุกปี
2. ก่อนรับประทานแมงดาควรปรุงให้สุกเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ใดๆ
3. หากสงสัยว่าได้รับพิษหลังจากการทานแมงดาทะเลตามอาการที่กล่าวมาข้างต้น ให้รีบทำอาเจียนให้มากที่สุดก่อนนำส่งแพทย์เพื่อทำการรักษา