โรคจิตเภท (schizophrenia)

9230

โรคจิตเภท (schizophrenia) จัดอยู่ในประเภทโรคจิตชนิดหนึ่ง และเป็นโรคที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งในบรรดาชนิดโรคจิตประเภทต่างๆ (โรคจิตหลงผิด, โรคจิตที่เกิดจากโรคอารมณ์แปรปรวน, โรคจิตชนิดเฉียบพลัน, โรคจิตที่เกิดจากโรคทางร่างกาย และโรคจิตที่เกิดจากสารต่างๆ หรือยา) การเกิดโรคเป็นได้ถึง 1 คน ใน 100 คน เลยทีเดียว และมักพบในกลุ่มวัยรุ่น และผู้ใหญ่

สาเหตุของโรค
โรคจิตเภทมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งยังไม่เป็นที่แน่ชัดในทางการแพทย์ ทั้งนี้ มีนักการแพทย์ได้ให้ความเห็นว่าโรคชนิดนี้น่าจะมีกลไกที่เกิดจากความผิดปกติ ของสารชีวเคมีที่เกิดขึ้นในร่างกายจากการกระตุ้นจากปัจจัยต่างๆ โดยพบว่า ผู้ที่ป่วยเป็นโรคจิตเภทมักมีปัจจัยหลายอย่างเกิดขึ้นในระยะก่อนที่โรคจะ กำเริบ ได้แก่
1. ปัญหาความเครียดต่างๆ ที่เกิดจากปัจจัยในด้านต่างๆ อาทิ ความเครียดในเรื่องครอบครัว การงาน เรื่องเรียน ความรัก รวมถึงความเครียดที่เกิดจากการวิตกกังวลในเรื่องต่างๆ
2. การดื่มสุราหรือใช้สารเสพติด ผู้ที่มีประวัติการเป็นโรคจิตเภท บางรามักมีประวัติการดื่มสุราจัดหรือติดสุรา รวมไปถึงการใช้สารเสพติดชนิดต่างๆในระยะเวลาที่ยาวนาน
3. การเก็บกดหรือการเกิดปมด้อยทางจิตใจ ในด้านต่างๆ อาทิ การถูกห่มเหงทางด้านจิตใจ การถูกกดขี่ การไม่ได้รับความอบอุ่นจากบิดา มารดา การเป็นที่รังเกียจหรือการไม่ต้อนรับทางสังคม เป็นต้น
4. การได้รับสารเคมีบางชนิดที่มีผลต่อการทำงานของระบบฮอร์โมนหรือสารชีวเคมีภายในร่างกาย
5. กรรมพันธุ์ โดยมักพบประวัติผู้ป่วยมีญาติหรือบุคคลในครอบครัวเคยป่วยเป็นโรคจิตเภทร่วมด้วยโรคจิตเภท

อาการของโรค
อาการของโรคจิตเภทในทางการแพทย์ แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ระยะเริ่มมีอาการ เป็นระยะที่ผู้ป่วยไม่สังเกตว่าตนเอง ผิดปกติหรือมีอาการเริ่มแรกของโรคจิตเภท อาการต่างๆจะค่อยๆเกิด และเพิ่มความถี่ ความรุนแรงแบบค่อยเป็นค่อยไป ได้แก่ มีอาการซึมเศร้า ชอบเม่อลอย เก็บตัวไม่เข้าสังคม บางครั้งมีอาการโกรธ และโมโหง่าย มกม่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากกว่าปกติ บางรายมีความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์เป็นเรื่องจริงจัง ไม่ค่อยพูดจาหรือพูดจาแปลกๆไม่ค่อยเข้าใจ อาการเหล่านี้จะไม่เป็นที่สังเกตหรือเป็นที่แปลกใจของผู้ป่วย แต่ญาติหรือคนใกล้ชิดจะสามารถสังเกตได้โดยง่าย ซึ่งอาการในระยะนี้อาจถูกสะสม และค่อยเป็นค่อยไปเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจใช้ระยะเวลานานหลายปีหรือหลายเดือนขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เป็นสิ่งเร้า ของการเกิดโรค

ระยะที่ 2 ระยะอาการกำเริบ เป็นระยะที่ต่อเนื่องกับช่วงระยะเริ่มมีอาการ โดยอาการในระยะนี้จะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วัน อาจ ใช้เวลา 7-30 วัน เท่านั้น หรือบางรายอาจนานหลายเดือนขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม และคนใกล้ชิดเป็นสำคัญ โดยอาการที่เกิดขึ้นจะมีอาการแบบใดขึ้นกับปัจจัยที่เป็นเหตุนั้นๆ ได้แก่ อาการหวาดกลัวผู้อื่นจะทำร้าย มักมีอาการหูแว่ว หวาดกลัวบางอย่าง สำคัญผิดว่าจะมีคนมาทำร้าย มักเกิดจิตนาการต่างๆเข้าร่วมโดยที่ผู้ป่วยไม่สามารถแยกแยะว่าสิ่งเหล่านั้น เกิดจากจินตนาการของตนเอง ซึ่งอาการมักเกิดในเวลากลางคืนหรือพลบค่ำที่ไม่มีแสง แต่หากในช่วงกลางวันจะเหมือนคนปกติทั่วไป และมีอาการปวดหัว มึนงง พูดจาวกไปวนมาบ้างในบางครั้ง อาการหลงผิด มักมีอาการเพ้อฝันหรือจิตนาการ เข้าใจว่าตนเองเป็นผู้วิเศษ เป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ รวมไปถึงการหลงผิด และจินตนาการให้ตนเองเป็นดั่งใจหมายในด้านต่างๆ อาการประสาทหลอน มักเป็นอาการที่เกิดร่วมกับอาการอย่างอื่น เช่น หูแว่ว ได้ยินเสียงคนเดิน เสียงคนพูดกัน เสียงนินทาตนเอง ซึ่งเสียงเหล่านี้ผู้ป่วยจะรู้สึกดังอื้อๆอยู่บริเวณหูตลอด เพราะเกิดจากอาการหลอนของประสาทไม่ใช่เสียงที่เกิดขึ้นจริงหรือเป็น เสียงอย่างอื่นที่ผู้ป่วยจินตนาการไปผิด มีอาการป่วยเป็นไข้ คนไข้บางรายอาจเกิดอาการป่วยหรือเป็นไข้ขณะอาการกำเริบร่วมด้วย โดยจะหายเองภายในไม่กี่วัน

ระยะที่ 3 ระยะการหลงลืม ระยะนี้เกิดขึ้นหลังจากอาการกำเริบหายไป แล้วเพียงไม่กี่วัน ซึ่งระยะนี้ผู้ป่วยจะเหมือนคนปกติทั่วไป ไม่มีอาการกำเริบ แต่อาจมีอาการซึมเศร้าบ้าง ปวดหัวบ้าง และมีอาการหลงๆลืมๆในสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาของระยะอาการกำเริบ แต่บางรายก็สามารถจดจำเหตุการณ์ที่ผ่านมาได้ ทั้งนี้ ในระยะนี้จะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วัน หากผู้ป่วยได้รับการรักษา และการดูแลแล้วจะหายเป็นปกติในไม่กี่วัน

การรักษา
โรคจิตเภทถือเป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง ดังนั้น ทางการแพทย์จึงมักให้ยาบำรุงระบบประสาทเป็นหลักร่วมด้วยยาที่ช่วยรักษาโรค ชนิดร่วมด้วยขณะเกิดโรค เช่น ยาลดไข้ สำหรับแนวทางในการรักษาทางแพทย์สามารถทำได้ คือ
1. การให้ยาบำรุงประสาทแก่ผู้ป่วยเพื่อลดอาการกำเริบ
2. การบำบัดทางจิต ด้วยการใช้หลักจิตวิทยาเข้าช่วยหรือจิตบำบัด ทั้งแพทย์เจ้าของคนไข้ และการดูแลเอาใจใส่จากญาติ
3. การลดปัจจัยกระตุ้นต่างๆ เช่น ลดความเครียด เลิกแอลกอฮอล์ เป็นต้น

ทั้งนี้ การรักษา และการป้องกันจะรวดเร็วได้เพียงใด ญาติหรือผู้ใกล้ชิดมีส่วนสำคัญเป็นอันมาก หากผู้ใกล้ชิดสามารถสังเกตได้ถึงอาการผิดปกติที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคจิต ประเภทหรือมีอาการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ควรรีบพาพบแพทย์ทันทีเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง และที่สำคัญการดูแลเอาใจใส่จากญาติหรือคนใกล้ชิดถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยใน การรักษาโรคนี้