โรคระบบสืบพันธุ์

37368

โรคระบบสืบพันธุ์ (Reproductive System disease) เป็นโรคที่เกิดขึ้นในอวัยวะระบบสืบพันธุ์ ทั้งเพศชาย และเพศหญิง มักพบในช่วงอายุตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยผู้ใหญ่ ที่อาจเกิดจากการติดเชื้อจากพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธุ์ และการรักษาสุขอนามัยของอวัยวะระบบสืบพันธุ์ไม่ดีพอ

ระบบสืบพันธุ์เพศชาย ประกอบด้วย อัณฑะ (testis), ถุงอัณฑะ (scrotum), หลอดเก็บอสุจิ (epididymis), ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (seminal vesicle), ต่อมลูกหมาก (prostate gland), หลอดนำอสุจิ (vas deferens) และองคชาต (penis)ระบบสืบพันธุ์เพศชาย

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ประกอบด้วย รังไข่ (ovary), มดลูก (uterus), ปีกมดลูกและท่อนำไข่ (oviduct), ช่องคลอด (vagina) และอวัยวะภายนอก ประกอบด้วย แคมใหญ่ แคมเล็ก คริสติริส เป็นต้นระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

สาเหตุของโรคในระบบสืบพันธุ์มักพบเกิดจาการติดเชื้อเป็นส่วนใหญ่ สามารถแบ่งได้หลายโรค คือ
– โรคช่องคลอดอักเสบ
– โรคเริมที่อวัยวะเพศ (Genita Herpes)
– โรคหูดหงอนไก่ (Condyloma Acuminata)
– โรคหูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum)
– โรคแผลริมอ่อน (Chancroid)
– โรคหนองใน (Gonorrhoea)
– โรคซิฟิลิส (Syphilis)
– โรคโลน (Pediculosis Pubis)
– โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Diseases, PID)
– โรคเชื้อราในช่องคลอด (Vaginal Candidiasis)
– โรคตกขาว
– โรคพยาธิช่องคลอด (Vaginal Trichomoniasis)
– โรคซีสต์ในรังไข่ (Ovarian Cysts)
– โรคเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก (Fibroids)
– โรคมดลูกอักเสบ (Endometritis)
– โรครังไข่มีถุงน้ำหลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome-PCOS)
– โรคปีกมดลูกอักเสบหรือท่อรังไขอักเสบ (Pelvic inflamatory disease)
– โรคช่องคลอดแห้ง
– โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometrosis)
– โรคปัสสาวะเล็ด (Stress Urinary Incontinence)
– โรคมะเร็งองคชาต
– โรคไส้เลื่อน

การป้องกันโรคระบบสืบพันธุ์
1. การสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธุ์
2. รักษาความสะอาดของอวัยวะรบบสืบพันธุ์ให้สะอาดเป็นประจำ
3. มั่นทำความสะอาดเสื้อผ้า โดยเฉพาะเสื้อผ้าที่สวมใส่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
4. หลีกเลี่ยงการรับประทานยาหรือการใช้ยาบางชนิดที่อาจเสี่ยงต่อมะเร็งในระบบสืบพันธุ์ เช่น ยาคุมกำเนิด เป็นต้น
5. มั่นรักษาสุขภาพให้แข็งแรง และรับประทานอาหารจำพวกผัก ผลไม้เป็นประจำ เพื่อเสริมสร้างภาวะภูมิต้านทานโรค