โรคอัลไซเมอร์ และโรคสมองเสื่อม

9166

โรคอัลไซเมอร์ (alzheimer’s disease) หรือคนไทยนิยมเรียกว่า โรคสมองเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์สมอง และเซลล์ประสาทในสมอง ที่มีการเสื่อมสภาพหรือถูกทำลายทำให้เซลล์สมอง และเซลล์ประสาทเล็กลง และรุนแรงถึงขั้นเซลล์สมองตาย ส่งผลต่อการทำงานสมองที่ผิดปกติ และความจำเสื่อม

การเสื่อมของเซลล์สมอง และเซลล์ประสาทสมอง หากสังเกตสมองของคนที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ และคนปกติจะสามารถแยกแยะความแตกต่างทางด้านกายภาพได้อย่างชัดเจน คือ สมองคนปกติจะมีขนาดเท่ากับกระโหลกสมอง และแน่นด้วยเซลล์สมอง ส่วนคนป่วยโรคอัลไซเมอร์จะมีเซลล์สมองที่หดลงอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับคนปกติ และมีจุดคล้ำดำบริเวณร่องของเซลล์สมอง โดยเฉพาะเนื้อเยื่อสมองในส่วนเวนติเคิล (Ventricle) จะมีลักษณะเป็นโพรง

โรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์สามารถเกิดได้ทั้งเพศชาย-หญิง มักพบโอกาสเกิดมากในกลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่ 55 ปี คนส่วนมากมักพบว่าตนเองมีความผิดปกติทางสมองที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค อัลไซเมอร์หรือการไปพบแพทย์เมื่อมีอาการรุนแรงมากแล้ว

สมองโรคอัลไซเมอร์

ซ้ายมือ: สมองคนปกติ ขวามือ: สมองคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์

สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์
สาเหตุเบื้องต้นของโรคอัลไซเมอร์นั้นเกิดจากการที่สมองมีสารสื่อประสาท (NEURO-TRANSMITTER) ที่เรียกว่า สารอะเซติลโคลีน (ACETYLCHOLINE) ลดลงในเซลล์ประสาทสมอง โดยสารนี้เป็นสารสำคัญที่ทำหน้าที่นำคำสั่งจากสมองไปยังอวัยวะส่วนต่างๆเพื่อสั่งการทำงาน และมีความสำคัญต่อความจำของสมอง ซึ่งคนป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะพบสารอะเซติลโคลีนในปริมาณที่ลดลงเมื่อเทียบกับคนปกติ สำหรับสาเหตุที่มีส่วนทำให้สารอะเซติลโคลีนนี้ลดลงนั้นมีปัจจัยหลายอย่างเกี่ยวข้อง โดยแบ่งตามกลุ่มเสี่ยง คือ
1. พันธุกรรม ซึ่งทางการแพทย์พบว่าปัจจัยทางพันธุกรรมมีผลต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์เกือบ 100% โดยมากจะพบมีอาการที่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรมในช่วงอายุประมาณ 50 ปี ดังนั้น หากพบว่าเครือญาติมีประวัติเป็นโรคอัลไซเมอร์แล้วก็มักพบการเป็นโรคอัลไซเมอร์ในรุ่นลูก รุ่นหลานตามมาด้วย

2. การดื่มเหล้า และสูบบุหรี่ ซึ่งมีผลต่อการทำลายเนื่อเยื่อสมอง และเซลล์ประสาทสมอง นอกจากนั้นยังเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดในสมองตามมา

3. การรับประทานอาหารที่ไม่มีสารอาหาร ซึ่งมักพบกลุ่มเสี่ยงที่รับประทานอาหารที่ไม่มีสารอาหารมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากเซลล์สมองไม่ได้รับสารอาหารตามความจำเป็น

4. ภาวะโรคแทรกซ้อนในสมอง เช่น โรคหลอดเลือดในสมองแตก โรคหลอดเลือดในสมองตีบ มีผลต่อเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงเซลล์สมอง หากมีเลือดไปหล่อเลี้ยงน้อยหรือไม่เพียงพอจะทำให้เซลล์สมองขาดสารอาหาร และฝ่อในที่สุด

5. ขาดการออกกำลังกายทั้ง ออกกำลังร่างกาย และสมอง ซึ่งการออกกำลังกายมีส่วนสำคัญต่อระบบการไหลเวียนของเลือด และเป็นภูมิต้านทานโรคต่างๆที่มีผลต่อโอกาสเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์ ในส่วนการออกกำลังกายสมองโดยการฝึกคิดนั้น หากไม่ได้รับการฝึกหรือการใช้งานสมองอย่างต่อเนื่องย่อมมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมองตามมา

อาการของโรคอัลไซเมอร์
อาการของผู้เป็นโรคอัลไซเมอร์จะมีอาการหลงลืมในสิ่งที่ตนเองทำ ลืมสิ่งของ ลืมคำพูด ในขั้นรุนแรงมักมีอาการซึมเศร้า จะจำอะไรไม่ได้ รวมถึงคนรู้จัก

สำหรับการลืมคำพูดที่นึกไม่ออกว่าตนเองพูดอะไรไปบ้างหรือนึกอะไรไม่ออกแต่จำ ได้ลางๆ ติดอยู่ที่ริมฝีปากถือเป็นอาการของคนทั่วไปไม่จัดเป็นความเสี่ยงต่อโรค อัลไซเมอร์ แต่หากการหลงลืมจากการกระทำในเวลาเพียงชั่วครู่ เช่น วางสิ่งของไว้ในห้องแล้วเดินออกมาพอจะกลับไปเอาสิ่งของกลับนึกไม่ออกว่าวาง สิ่งของไว้ไหนถือว่าเป็นอาการที่มีความเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์

การทดสอบอาการโรคอัลไซเมอร์
การทดสอบอาการบ่งชี้ถึงโรคอัลไซเมอร์มีแนวทางการทดสอบหลายวิธี ซึ่งวิธีง่ายๆ ได้แก่ การทดสอบด้วยวิธีให้ผู้ทดสอบมองตัวอักษรที่เป็นคำต่างๆประมาณ 8 คำ และให้ทำกิจกรรมอื่นประมาณ 10-15 นาที แล้วทำการทดสอบความจำ
– หากสามารถจำได้ 6-8 คำ อยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม และไม่เสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์
– หากสามารถจำได้ 4-5 คำ อยู่ในเกณฑ์ธรรมดา ที่ต้องฝึกฝนความคิด และไม่เสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์
– หากสามารถจำได้น้อยกว่า 4 คำ (1-3 คำ) อยู่ในเกณฑ์เสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์

การบำบัด และฟื้นฟูผู้เป็นโรคอัลไซเมอร์โรคอัลไซเมอร์ ถือเป็นโรคที่ยังไม่มีวิธีรักษาที่หายขาดได้ สำหรับผู้ป่วยจะใช้แนวทางการปฏิบัติตนที่ดีเพื่อช่วยทุเลาอาการ และลดความรุนแรงของโรคเท่านั้น ได้แก่

การป้องกันโรคอัลไซเมอร์

1. การออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อช่วยระบบไหลเวียนเลือด และสร้างภูมิคุ้มกันโรค

2. การฝึกฝนความคิด เช่น ฝึกคิดเลข ฝึกต่อจิกซอร์

3. การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นอาหารประเภทผัก และผลไม้ และหลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้ง และไขมันสูง ซึ่งพบรายงานการวิจัยพบว่าคนอินเดียที่รับประทานขมิ้นเป็นประจำสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างดีเมื่อเปรียบเทียบกับคนอเมริกาที่ไม่ค่อยรับประทานขมิ้น

4. การหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ และบุหรี่ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคระบบหลอดเลือด และหัวใจ

5. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่มีอากาศเย็นหรือการสัมผัสกับอุณหภูมิที่แตกต่างกันเกิน 2 องศาเซลลเซียส