พิษแมงป่อง และการแก้พิษ

83407
แมงป่องช้าง

แมงป่อง (Scorpion ) จัดเป็นสัตว์มีพิษ ที่มีมากกว่า 1,000 ชนิด (species) สามารถพบได้ในทุกประเทศทั่วโลก แมงป่องเป็นสัตว์ที่หากินในตอนกลางคืน ส่วนกลางวันมักจะหลบซ่อนในที่มิดชิด เช่น ใต้กองไม้หรือตามรูในดิน การล่าของแมงป่องจะใช้ก้ามทั้งสองข้างในการจับเหยื่อ และคอยต่อสู้กับศัตรู โดยมีส่วนปลายของหางมีลักษณะคล้ายเข็ม ภายในจะมีรูเชื่อมต่อกับต่อมพิษไว้ป้องกันตนเองและล่าเหยื่อ โดยพิษจะถูกขับออกมาสู่เหยื่อขณะที่มีการใช้ปลายหางทิ่มแทงเหยื่อ การต่อยของแมงป่องในคนเราโดยส่วนมากจะมีแค่อาการปวดบริเวณที่ถูกต่อยเท่า นั้นไม่ถือเป็นพิษอันตรายมาก

แมงป่องบางชนิดมีพิษรุนแรงสามารถทำให้คนตายได้ ซึ่งจะมีบางชนิดเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในแถบอินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา อเมริกา เม็กซิโก และในเอเชียจะพบบางชนิดในจีน และเกาหลี ทั้งนี้ ในประเทศไทยยังไม่เคยพบแมงป่องที่มีพิษทำให้คนตายได้ พบหลายพันธุ์ในชื่อต่างๆ เช่น แมงป่องช้าง (ลำตัวสีดำ ขุดรูในดินหรืออาศัยตามกองไม้) แมงป่องเปลือก(ลำตัวมีสีออกน้ำตาลคล้ายใบไม้หรือเปลือกไม้ อาศัยตามกองไม้) แมงป่องบ้าน (ลำตัวออกเหลืองหรือน้ำตาลค่อนข้างใส ตัวเล็ก ชอบอาศัยตามบ้านเรือน)

แมงป่องช้าง
แมงป่องช้าง

แมงป่องช้าง มีลักษณะกล้ามใหญ่กว่าหาง ลักษณะเช่นนี้ ทำให้พิษเมื่อโดนต่อยไม่ค่อยรุนแรงนัก อาการที่เกิดจะมีลักษณะ คัน บวมแดง และแสบร้อน เท่านั้น

แมงป่องเปลือกไม้
แมงป่องเปลือกไม้

แมงป่องเปลือกไม้ ก็เช่นกัน มีลักษณะกล้ามใหญ่กว่าหาง ทำให้พิษเมื่อโดนต่อยไม่ค่อยรุนแรง มีเพียงอาการคัน และบวมแดง เช่นกัน

แมงป่องบ้าน
แมงป่องบ้าน

แมงป่องบ้าน มีลักษณะกล้ามเล็กกว่าหาง ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าพิษของแมงป่องบ้านทำให้เกิดอาการพิษที่รุนแรงกว่าแมงป่อง 2 ชนิดที่กล่าวมา อาการที่เกิดจะมีลักษณะบวมแดง ปวดบริเวณจุดที่โดนต่อย และบริเวณข้างเคียง อาการปวดจะรุนแรง บางรายที่ได้รับพิษมาก โดยเฉพาะเด็ก อาจทำให้เกิดเป็นไข้ และมีอาการชัก

แมงป่องเป็นสัตว์ที่ชอบสถานที่มืด ไม่มีแสง ออกหากินในเวลากลางคืน กลางวันชอบอาศัยอยู่ตามเศษกองไม้ ใบไม้ ช่องไม้ตามบ้านเรือน และอาจพบอาศัยตามเสื้อผ้าของเราด้วยเช่นกัน ดังนั้น คนที่มักโดนต่อยส่วนมากจะพบว่ามีการโดนต่อยเมื่อสวมเสื้อผ้าหรือสวมใส่อุปกรณ์ต่างๆ โดยไม่รู้ตัวว่ามีแมงป่องหลบซ่อนอยู่

ในบางประเทศหรือบางท้องถิ่นมีการนำแมงป่องมารับประทานเป็นอาหาร เช่น ประเทศจีน รวมถึงเมืองไทยในบางท้องที่ด้วย เช่น ในภาคอีสานมีการรับประทานแมงป่องช้างที่จับได้ตามไร่นาด้วยการตัดบริเวณหางที่มีพิษออก แต่ก็มีบางรายที่รู้เท่าไม่ถึงการด้วยการนำมาดองเหล้าดื่มทั้งตัวทำให้ได้รับพิษเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาลแล้วหลายราย

อาการของพิษ
พิษของแมงป่องมีทั้งแบบที่เป็นเอนไซม์ เช่น phospholipase A2, phosphoesterases, hyaluronidase มีผลในการทำในการทำลายเนื้อเยื่อ พิษแบบ neurotoxin มีฤทธิ์ต่อระบบประสาททำให้รู้สึกปวดชาในบริเวณที่ถูกต่อย แต่อาจมีอาการปวดมากน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของพิษ โดยมีอาการโดยทั่วไป แบ่งตามระดับความรุนแรง ดังนี้
1. เกิดแผล บวมพองหรือเป็นตุ่มแดงบริเวณที่ถูกต่อย พร้อมกับอาการคัน ปวดตามมาหลังการต่อยครึ่งถึง1 ชั่วโมง
2. บางชนิดมีพิษที่รุนแรงเพิ่มขึ้นอาจทำให้เกิดอาการปวดแสบไปทั่วอวัยวะข้าง เคียงบริเวณจุดที่ต่อย ร่วมด้วยมีชีพจรเต้นเร็ว และความดันโลหิตสูงขึ้น
3. มีอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อ เช่น กระกระตุก การชา เป็นต้น
4. ในส่วนของพิษแมงป่องชนิดร้ายแรงจะมีลักษณะแผลที่ถูกต่อยเหมือนข้างต้น ตามมาด้วยระบบการทำงานของร่างกายมีความผิดปกติ อาจมีอาการชัก และเสียชีวิตตามมาหากรักษาไม่ทัน เช่น ในสายพันธุ์ Centruroides exilicauda ในสหรัฐอเมริกา

การรักษาเบื้องต้น
– สำหรับผู้ป่วยที่ถูกต่อยด้วยพิษในระดับ 1 และ2 จะสามารถหายเองในเวลาไม่กี่ชั่วโมงแต่มักมีอาการปวดที่ต้องรักษา โดยการใช้น้ำแข็งประคบ การกินยาแก้ปวด โดยหลีกเลี่ยงยาชนิด morphinederivatives ที่มีผลกดระบบประสาทส่วนกลาง

– สำหรับผู้ที่ได้รับพิษรุนแรงในระดับ 3-4 ซึ่งจะมีอาการอย่างเห็นได้ชัดใน 5-6 ชั่วโมงหลังถูกต่อย โดยให้ทำการประถมพยาบาลที่แผลโดยทั่วไป และให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

– ในบางท้องที่มีการใช้สมุนไพรเพื่อระงับอาการปวดได้ด้วย อาทิภูมิปัญญาชาวบ้านที่ใช้น้ำมะนาวทาแผลเพื่อลดอาการปวด การใช้ใบมะละกอขยี้ทาประคบแผล รวมถึงการใช้รางจืดบดขี้หรือตำผสมน้ำประคบรอยแผล ซึ่งพบว่ามีผู้ได้รับพิษที่ใช้สมุนไพรดังกล่าวมีอาการปวดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด