โรคระบบข้อ กระดูก และกล้ามเนื้อ หมายถึง โรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติหรืออาการที่เกิดจากความบกพร่องของระบบข้อ กระดูก และระบบกล้ามเนื้อ โดยส่วนมากจะพบมีอาการเรื้อรังมานานหลายปี และมักพบโรคชนิดนี้ในกลุ่มวัยทำงาน กลุ่มผู้เป็นโรคอ้วนน้ำหนักตัวมาก และกลุ่มผู้สูงอายุรวมไปถึงสาเหตุที่มาจากพันธุกรรม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้หลายชนิด ได้แก่
โรคในระบบข้อ
1. โรคเกาต์
2. โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบ
3. โรคข้อเสื่อม
4. โรคข้อเข่าเสื่อม
5. โรครูมาตอยด์
6. โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน
7. โรคข้ออักเสบติดเชื้อ
โรคในระบบกระดูก
1. โรคกระดูกพรุน
2. กระดูกทับเส้น – เส้นทับกระดูก
3. กระดูกเคลื่อนหรือหลุดออกจากข้อ
4. โรคกระดูกเสื่อม
โรคในระบบกล้ามเนื้อ
1. โรคกล้ามเนื้ออักเสบ
2. โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS)
3. โรคกล้ามเนื้อหนีบเส้นประสาท
4. โรคกล้ามเนื้อลีบจากพันธุกรรม
นอกจากนี้ยังพบโรคที่มีอาการปวดที่อาจเกิดได้ทั้ง 3 ระบบ เช่น โรคปวดเรื้อรัง (ไฟโบรมัยอัลเจีย)
สาเหตุของการเกิดโรค
สาเหตุของโรคที่เกี่ยวเนื่องด้วยระบบข้อ กระดูก และกล้ามเนื้อส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของอวัยวะนั้นๆที่มาจาก สาเหตุหลายประการ ได้แก่ การบาดเจ็บ การทำงานหนัก การติดเซื้อ การเสื่อมตามอายุ รวมถึงการเกิดจากพันธุกรรม
สาเหตุจากการทำงาน
1. การเคลื่อนไหวร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งซ้ำๆ การออกแรงอย่างหนัก และการบิดอย่างแรงที่ข้อมือ
2. มือ และข้อมือมีการเคลื่อนไหวซ้ำๆ มีการออกแรงอย่างหนัก และการบิดอย่างแรงที่ข้อมือ
3. มีการกดทับบริเวณข้อ ข้อศอก และกล้ามเนื้อนานเกินไป
4. มีการอยู่ในท่าเดียวนานเกินไป
5. มีการใช้เข่า และการนั่งยองๆ นานเกินไป
6. มีการออกแรงซ้าๆ มีการทำงานหรืออยู่ในพื้นที่แรงสั่นสะเทือน
7. มีการบิดข้อ ข้อมือบ่อยครั้ง
อาการของโรค
มักพบอาการเจ็บ อาการปวดหรือการอักเสบตามระบบข้อ กระดูก และกล้ามเนื้อขึ้นอยู่กับชนิดของโรคที่เกิดขึ้น และมักพบมากที่มีเกี่ยวข้องกับระบบประสาทร่วมด้วย เช่น โรคกล้ามเนื้อหนีบเส้นประสาท เป็นต้น
การรักษา และการป้องกัน
แนวทางปฏิบัติสำหรับการรักษา และการป้องกันของโรคข้อ กระดูก และกล้ามเนื้อ แพทย์จะแบ่งการรักษาตามอาการของโรคที่เกิดขึ้นโดยการใช้ยารักษาอาการอักเสบ การผ่าตัด การใช้วิธีวิสโคซัพพลีเมนเทชั่น (Viscosupplementation) ในโรคที่มีอาการน้ำเลี้ยงระบบข้อเสื่อมต่างๆด้วยการฉีดน้ำเลี้ยงข้อเทียม เข้าบริเวณข้อที่เสื่อมสภาพ รวมไปถึงใช้หลักการกายภาพบำบัดเข้ามาร่วมด้วย ซึ่งหากพบอาการผิดปกติของร่างกายควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาชนิดของ โรค และแนวทางการรักษา แต่คนส่วนมากมักปล่อยปะละเลยจนทำให้โรคหรืออาการที่เกิดขึ้นมีการเรื้อรัง และต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานขึ้น สำหรับการป้องกันที่ดีจะเน้นในเรื่องของพฤติกรรมของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ การทำงาน การใช้ชีวิตประจำวันโดยทั่วไปเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลทำให้เกิดโรค นี้ได้